ผบ.ทบ. ลงพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม “คืนรักสู่ครอบครัว” ในโครงการพาคนกลับบ้าน
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เวลา 13.30 น.ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสารท ผู้บัญชาการทหารบก ได้เดินทางลงพื้นที่ เพื่อเป็นประธานกิจกรรม คืนรักสู่ครอบครัว ในโครงการพาคนกลับบ้าน ที่ทางพล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 ได้เปิดโอกาสให้บุคคลที่เคยต่อสู้กับรัฐด้วยวิธีรุนแรงกลับมาร่วมกันแก้ปัญหาด้วยแนวทางสันติ เป็นการโดดเดี่ยวกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงให้มีศักยภาพลดลง โดยผู้บัญชาการทหารบก ได้เข้ารับฟังบรรยายสรุปของโครงการ ก่อนที่จะเดินทางไปยัง ศาลาพิณประเสริฐ เพื่อเข้าร่วมพิธี รับรายงานตัว รับมอบอาวุธคืนจากตัวแทนผู้หลงผิด และกล่าวปฎิญานตนของผู้หลงผิดที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 288 คน ว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบ
ข่าวน่าสนใจ:
- โครงการวิลล่าหรูเกาะสมุยฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคาร ยังปล่อยให้ต่างชาติเช่าวิลล่า
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- ใช้ปืนคาร์บิ้นยิงหมอผีกะเหรี่ยงตายหลังทำคุณไสยให้หลานสาว
- สงขลา รวบ 2 พ่อลูกตามหมายจับ สุดซ่าส์เคยชกปาก ตร.ชุดจับกุม ซ้ำ"ขู่สื่อฯ ระวังตัวให้ดี"
สำหรับการจัดกิจกรรม คืนความรักสู่ครอบครัว ในครั้งนี้ เป้าหมายหลักที่มาร่วมโครงการ เป็นผู้กลับใจ จำนวน 288 คน โดยแบ่งเป็นผู้กลับใจของปี 2560 จำนวน 127 คน ของปี 2561 จำนวน 161 คน มี ตัวแทนญาติครอบครัวละ 2 คน มีผู้ท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ที่ผู้กลับใจอยู่มาร่วมด้วย และพี่น้องชาวไทยพุทธ และผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย รวมมวลชนทั้งหมด 1,200 คน
พล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 เปิดเผยว่า สำหรับโครงการพาคนกลับบ้าน ได้กำหนดนโยบาย เน้นเชิงคุณภาพ ในการดำเนินการเพื่อป้องกันการเข้ามาของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือ แสวงประโยชน์ ต้องการให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงตัวจริง เสียงจริง รายงานตัวพร้อมอาวุธปืนและยุทธภัณฑ์ โดยได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินการในปี 2561 ไว้ 5 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มที่มีชื่อตามระบบฐานข้อมูล 3 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มหมาย ป วิอาญา, กลุ่มหมาย พรก. และกลุ่มไม่มีหมาย แต่มีชื่อในระบบฐานข้อมูล ส่วนกลุ่มนอกระบบฐานข้อมูล คือ กลุ่มที่มีหลักฐานกล่าวพาดพิง จากการซักถาม และกลุ่มที่หน่วยให้การเพ่งเล็งหรือ ให้ความสำคัญ แบ่งการดำเนินการเป็น 6ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นตอนการรณรงค์สร้างความเข้าใจ ซึ่งเป็นเรื่องของ ทุกส่วนราชการที่ต้องรับไปดำเนินการ ตั้งแต่ระดับจังหวัดถึงระดับอำเภอ ขณะเดียวกัน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนา ต้องมีส่วนร่วม ซึ่งในปีนี้ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ได้เพิ่มให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความเข้าใจ ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนการรับรายงานตัวและปรับทัศนคติ ซึ่งกรอบในการดำเนินงานกลุ่มนี้ จะให้ความสำคัญในกรอบกลุ่มเป้าหมาย ที่มีชื่อในระบบฐานข้อมูลหมาย พรก., หมาย ป วิ อาญา ขณะเดียวกันระหว่างการอบรมปรับเปลี่ยนทัศนคติ ได้พาไปดูงานหมู่บ้านปิยะมิตรของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
“ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นตอนการปลดเปลื้องพันธะทางกฎหมายและอำนวยความสะดวกเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นตอนการขับเคลื่อนชมรมพาคนกลับบ้าน โดยได้จัดตั้งไว้แล้ว 37 ชมรม อำเภอละ 1 ชมรม ขั้นตอนที่ 5 เป็นขั้นตอนการส่งเสริมอาชีพและการฝึกอาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สามารถดำรงชีวิตได้อยู่อย่างปกติสุข และขั้นตอนที่ 6 เป็นขั้นตอนเมื่อกลับสู่ภูมิลำเนา จะมีการควบคุม และดึงมาช่วยกันสร้างสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป” มทภ 4 กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: