ราชกิจจานุเบกษา ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับแก้ไข ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป โดยเปลี่ยนจำนวน ส.ส. แบ่งเขต จาก 350 เป็น 400 ที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อจาก 150 เป็น 100 ที่นั่ง และเปลี่ยนมาใช้ระบบบัตรเลือกตั้งแบบ 2 ใบ
วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2564) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศเผยแพร่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไข (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564 โดยให้เหตุผลในการประกาศ รธน.แก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ คือ มาตรา 83 และมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับตั้งต้น ได้กําหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 500 คน มี ส.ส.ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวน 350 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจํานวน 150 คน เอาไว้นั้น เป็นจํานวนที่ไม่สอดคล้องต่อจํานวนประชากรในแต่ละเขตเลือกตั้ง หากมีการกําหนดให้มี ส.ส.แบ่งเขต มีจํานวน 400 คน ก็จะทําให้การดูแลปัญหาของประชาชนมีความใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
“และการคํานวณคะแนนสมาชิกสภาผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อก็มีความจําเป็น ที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและเป็นธรรมต่อพรรคการเมืองและต้องเคารพหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง ของประชาชน การให้มีบัตรเลือกตั้งสองใบเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกพรรคการเมืองและผู้สมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ย่อมทําให้ประชาชนได้ใช้เจตจํานงในการเลือกตั้ง ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564” ตอนท้ายของหมายเหตุ ใน รธน. 2560 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) ระบุปิดท้าย
โดย รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะใช้บังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 นั่นเอง
ข่าวน่าสนใจ:
- "ชวนน้องหนูมาดูโขน" 11 ม.ค. ฟรี เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568
- เปิดสะพานข้ามแยกสระขวัญชั่วคราวช่วงเทศกาลปีใหม่ จ.สระแก้ว ส่วนเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอ่างฤาไนเปิดใช้เส้นทางช่วงกลางคืน
- ตรัง ร้านอาหารผวา!! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ป่วน อ้างสั่งอาหารหรู "พระกระโดดกำแพง" หลอกร้านดังเกือบเสียเงินแสน
- ตำรวจนครปฐมปล่อยแถวปราบปรามอาชญากรรมบังคับใช้กฏหมายเทศกาลปีใหม่
ส่วนสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ 2560 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) การปรับจำนวน ส.ส. แบ่งเขต จาก 350 ที่นั่ง เป็น 400 ที่นั่ง และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จาก 150 เป็น 100 ที่นั่ง รวมถึงปรับรายละเอียดการคิดคะแนน และปรับระบบการเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสม (MMP) ที่บัตรเลือกตั้งเพียง 1 ใบ มาใช้เป็นระบบการเลือกตั้งแบบผสม (MMM) ที่ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ โดยแก้เนื้อหาใน มาตรา 83, มาตรา 86 และมาตรา 91 เป็นดังนี้
มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจํานวนห้าร้อยคน โดยเป็นสมาชิก ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจํานวนสี่ร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จํานวนหนึ่งร้อยคน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้ใช้ บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละหนึ่งใบ
ในกรณีที่ตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังไม่มีการเลือกตั้งหรือ ประกาศชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตําแหน่งที่ว่าง ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่
ในกรณีมีเหตุใด ๆ ที่ทําให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีจํานวนไม่ถึงหนึ่งร้อยคน ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
มาตรา 86 การกําหนดจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและ การแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ดําเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสี่ร้อยคน จำนวนที่ได้รับให้ถือว่าเป็นจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน
(2) จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนตาม (1) ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นได้หนึ่งคน โดยให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
(3) จังหวัดใดมีราษฎรเกินจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน
(4) เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดตาม (2) และ (3) แล้ว ถ้าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบสี่ร้อยคน จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคำนวณตาม (3) มากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน และให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณนั้นในลาดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำนวนสี่ร้อยคน
(5) จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกันและต้องจัดให้มีจานวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน
มาตรา 91 การคํานวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ที่จะได้รับเลือกตั้ง ให้นําคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศ แล้วคํานวณเพื่อแบ่งจํานวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรง กับจํานวนคะแนนรวมข้างต้น โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คํานวณได้เรียงตามลําดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ การออกเสียงลงคะแนน การนับคะแนน การรวมคะแนน การประกาศผลการเลือกตั้ง และการอื่น ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร
อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขฉบับนี้ ก็ได้กำหนดให้ว่า มาตรา 83 มาตรา 86 และมาตรา 91 ของ รธน. ฉบับแก้ไข จะยังใช้ไม่ได้ ถ้ายังไม่มีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปครั้งแรกภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้อีกด้วย
ขณะที่ iLaw เผยภาพอธิบายรายละเอียด รัฐธรรมนูญ 2560 แก้ไขเพิ่มฉบับนี้ ให้เข้าใจได้โดยง่ายดังนี้
ทำความเข้าใจระบบเลือกตั้งแบบบัตรสองใบได้ง่ายๆ ในภาพเดียว
1. เข้าคูหาได้บัตรสองใบ
2. ใบแรกเลือก ส.ส.เขต
3. ใบที่สองเลือกพรรคเพื่อคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ดูรายละเอียดได้ที่ https://t.co/1CGVVwX1UH pic.twitter.com/cMVYgBtdTR
— iLawClub (@iLawclub) November 21, 2021
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: