ผลสำรวจนิด้าโพลชี้ พรรคประชาธิปัตย์ ชนะพรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้งซ่อมที่ จ.ชุมพร และ จ.สงขลา เนื่องจากฐานคะแนน ปชป. ดีกว่า พปชร. อยู่เป็นทุนเดิม รวมถึง ผู้สมัครของ ปชป. ได้รับความนิยมมากกว่าผู้สมัครของ พปชร.
วันนี้ (23 มกราคม 2565) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทำไมพรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อมภาคใต้” ทำการสำรวจในช่วงวันที่ 19-20 มกราคม 2565 จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชุมพรและจังหวัดสงขลา กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,329 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อมภาคใต้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพล สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น 97.0%
ข่าวน่าสนใจ:
- พิธีเปิดนิทรรศการฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์ร่วมยุคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
- สงขลา"นทท.มาเลย์ฯเที่ยวไทยเเน่น"รับปิดเทอมและปีใหม่ คาดเงินสะพัดในสงขลานับพันล้านบาท
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ โดยตัวอย่าง ร้อยละ 44.85% มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชุมพร และ 55.15% มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสงขลา; ตัวอย่าง ร้อยละ 50.04 เป็นเพศชาย และร้อยละ 49.96 เป็นเพศหญิง; ตัวอย่าง 4.37% อายุ 18-25 ปี, 13.24% อายุ 26-35 ปี, 23.70% อายุ 36-45 ปี, 34.31% อายุ 46-59 ปี และ 24.38% อายุ 60 ปีขึ้นไป; ตัวอย่าง 88.64% นับถือศาสนาพุทธ, 10.83% นับถือศาสนาอิสลาม, 0.45% นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และ 0.08% ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่าง 19.87% สถานภาพโสด, ร้อยละ 77.20% สมรสแล้ว, 2.78% หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และ 0.15% ไม่ระบุสถานภาพการสมรส; ตัวอย่าง 26.41% จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, 32.50% จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า, 9.86% จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า, 27.24% จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า, 3.76% จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และ 0.23% ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่าง 11.14% ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ, 10.08% ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน, 24.68% ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ, 18.89% ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง, 13.24% ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน, 19.64% เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน, 2.03% เป็นนักเรียน/นักศึกษา และ 0.30% ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง 17.46% ไม่มีรายได้, 21.14% รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท, 31.38% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท, 11.21% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท, 3.69% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท, 4.89% รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และ 10.23% ไม่ระบุรายได้
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อ “สาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อม จังหวัดชุมพร” เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชุมพร
- 69.80% ระบุว่า ฐานคะแนนเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
- 29.87% ระบุว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมมากกว่าผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ
- 12.08% ระบุว่า คนชุมพรแสดงออกในความต้องการ “คืนความเป็นธรรมให้อดีต ส.ส. ลูกหมี (ชุมพล จุลใส)”
- 11.58% ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีกลยุทธ์ในการหาเสียงได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
- 7.38% ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์สามารถปราศรัยโน้มน้าวใจประชาชนได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
- 2.01% ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มุ่งโจมตี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง
- 1.51% ระบุว่า ประชาชนไม่ไว้ใจพรรคพลังประชารัฐว่าจะมีแผนล้ม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในอนาคตหรือไม่ และผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐไม่ได้เป็นคนใต้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
- 1.34% ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐไม่ชู พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง
- 0.34% ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อ “สาเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งซ่อมจังหวัดสงขลา” เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างที่มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสงขลา
- 71.90% ระบุว่า ฐานคะแนนเดิมของพรรคประชาธิปัตย์ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
- 29.20% ระบุว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมมากกว่าผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐ
- 9.69% ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีกลยุทธ์ในการหาเสียงได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
- 7.64% ระบุว่า ประชาชนไม่พอใจการปราศรัยของเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐชวนเลือกผู้แทนฯ ที่มีเงิน
- 6.68% ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์สามารถปราศรัยโน้มน้าวใจประชาชนได้ดีกว่าพรรคพลังประชารัฐ
- 2.46% ระบุว่า ผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐไม่ได้เป็นคนใต้
- 2.05% ระบุว่า ประชาชนไม่ไว้ใจพรรคพลังประชารัฐว่าจะมีแผนล้ม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในอนาคตหรือไม่
- 1.64% ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มุ่งโจมตี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง
- 0.55% ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐ ไม่ชู พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง
- 1.36% ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: