‘วิโรจน์’ ก้าวไกล ชี้พื้นที่ศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง เป็นการพัฒนาพื้นที่ที่ล้มเหลว หวัง กทม. พัฒนาพื้นที่ “แบบไม่ทิ้งผู้คน”
วันที่ 2 เมษายน 2565 เวลา 09.00 น. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 1 พรรคก้าวไกล พร้อมด้วยกลุ่มนิสิตจุฬาฯ พิทักษ์ศาลเจ้าแม่ทับทิม เดินทางไปยังศาลเจ้าแม่น้ำทับทิม สะพานเหลือง เพื่อพูดคุยสอบถามและรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่ดิน ซึ่งปัจจุบันมีการไล่ที่ประชาชนและพยายามย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมไปไว้ที่สถานที่ใหม่
ข่าวน่าสนใจ:
- หนุ่มขับคอกขนส่งจอดหลับยาว 3 วัน พบเป็นศพคามอเตอร์เวย์
- ตม.สระแก้วสนธิกำลังจับคนไทยลักลอบนำชาวจีน 7 คน เวียดนาม 1 คน หลบหนีเข้าเมืองพื้นที่ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรชวนเด็กและเยาวชนโดยรอบสนามบิน ร่วมกิจกรรมวันเด็ก 2568
- นนทบุรี รถบรรทุกข้ามเกาะกลางถนนพลิกคว่ำ 2 ตลบ คนงานดับ 2 เจ็บ 2
โดยศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง เป็นศาลเจ้าที่มีอายุยาวนานกว่าร้อยปี เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 5 โดยชุมชนชาวจีนอพยพที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่อย่างร่วมสมัยผ่านกาลเวลา เมื่อมีการพัฒนาพื้นที่เป็นย่านธุรกิจ ทำให้ต้องมีการเคลื่อนย้ายศาลดั้งเดิม ที่มีคุณค่าด้านสถาปัตยกรรมและคุณค่าทางจิตใจ โดยในกรณีนี้ วิโรจน์ให้ความเห็นกับผู้สื่อข่าวว่า การพัฒนาเมืองต้องคำนึงถึงหัวใจและจิตวิญญาณของชุมชนด้วย ไม่ใข่เพียงตอบสนองผลประโยชน์ของทุนใหญ่
นอกจากนี้นิสิตจุฬาฯ กลุ่มพิทักษ์ศาลเจ้าแม่ทับทิม ได้เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาการพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ มีการพูดคุยกับชุมชนน้อยมาก อีกทั้งยังเป็นการพูดคุยในช่วงท้ายของการพัฒนาที่ดินเท่านั้น ซึ่งมีการไล่ที่ประชาชนไปแล้ว โดยประชาชนมีความต้องการอนุรักษ์ศาลเจ้าแม่ทับทิมไว้บริเวณเดิม พร้อมอธิบายว่าศาลใหม่ที่มีการสร้างขึ้นมาไม่มีความเกี่ยวข้องและยึดโยงกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน รวมทั้งสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นการก่อสร้างของช่างจีนโบราณก็สูญหายไปด้วย
นายวิโรจน์ ได้สรุปบทเรียนในครั้งนี้ว่า การพัฒนาที่ดินต้องไม่ละทิ้งรากเหง้าและบริบทของชุมชนและพื้นที่ โดยยกตัวอย่างบทเรียนการพัฒนาเมืองที่ล้มเหลวในอดีต เช่น ป้อมมหากาฬ ที่ปลายทางของการพัฒนากลายเป็นเพียงสนามหญ้าที่แทบไม่มีการใช้งาน และไม่ได้ยึดโยงกับประวัติศาสตร์และผู้คน
ซึ่งนายวิโรจน์ ให้ความเห็นว่า ในอนาคตการพัฒนาเมืองต้องคำนึงถึงผู้คน เน้นการพูดคุย และคำนึงถึงคุณค่าในอดีตที่จำเป็นต้องรักษาเอาไว้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งในหลายเมืองทั่วประทศ มีมากมายที่สามารถนำเอาสถาปัตยกรรม อาคารดั้งเดิม มาปรับปรุงพัฒนา โดยคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าของชุมชนเอาไว้ และก็เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนได้ด้วยในขณะเดียวกัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: