ชัชชาติ เบอร์ 8 ชื่นชมการแสดงของ ‘มิลลิ’ ที่ทำให้ซอฟต์พาวเวอร์ไทยไปไกลถึงระดับโลก ย้ำนโยบาย “สร้างสรรค์ดี” พัฒนาพื้นที่สตรีตโชว์ใน กทม. ส่งเสริม “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในอนาคต”
วันนี้ (18 เมษายน 2565) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 8 ลงพื้นที่หาเสียงเขตราษฎรบูรณะ เริ่มต้นจากตลาดบางปะกอกและตลาดวัดนาคนิมิตร จากนั้นเดินทางไปรับฟังปัญหาของพื้นที่ที่โรงเรียนปัญญาศักดิ์ ก็ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากครูและผู้ปกครอง
ข่าวน่าสนใจ:
- "พานเพชร โพธิ์ทอง" ผู้สมัคร ส.อบจ.ลำปางใจป้ำ ให้อภัยยอมความไม่เอาเรื่อง 3 โจ๋มือทำลายป้ายเสียง
- รวบชายโชว์กร่าง ถือปืนลูกซองยาวยิงสนั่นเกาะพะงัน นักท่องเที่ยวเฉียดตาย
- การเมืองลำปางเริ่มดุเดือดมือดีทำลายป้ายหาเสียงผู้สมัครส.อบจ.ลูกชายนายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร
- ทีม “นายกบุ่นเล้ง” เบอร์ 1 ขยับก่อน ยกพลหาเสียงเกาะสุกร เช็คอินถนนสีรุ้ง ดันนโยบาย เปิดมิติใหม่ อบจ.ตรังหนุนท่องเที่ยว…
โดยการรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากคณะครูและผู้ปกครอง โรงเรียนปัญญาศักดิ์ เขตราษฎร์บูรณะ ชัชชาติได้นำเสนอชุดนโยบาย “เรียนดี” เช่น นโยบายพัฒนามาตรฐานโรงเรียนสังกัด กทม. 437 โรงเรียน, นโยบายคืนครูให้นักเรียน ลดภาระงานเอกสารด้วยเทคโนโลยี เพื่อให้ครูมีเวลาดูแลนักเรียนได้เต็มที่, นโยบายเปิดโรงเรียนวันหยุดเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักเรียนและชุมชน, นโยบายพัฒนาโรงเรียน 3 ภาษา สอนผ่านหลักสูตรไทย ต่างประเทศและเทคโนโลยีเพื่อการทำงาน ตลอดจนนโยบายพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและเด็กอ่อนในชุมชนและใกล้แหล่งงาน โดย ชัชชาติ ย้ำว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระยะยาว ด้วยการสร้างโอกาสให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกคน จึงเชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระยะยาว
จากนั้น ชัชชาติ ก็ได้กล่าวชื่นชมถึง “มิลลิ” แรปเปอร์ชาวไทยวัย 19 ปี ที่ขึ้นเวทีเทศกาลดนตรีโคเชลลา สหรัฐฯ แสดงพลังของ “ซอฟต์ พาวเวอร์” (Soft Power) ผ่านความสามารถของตนเองในฐานะศิลปิน และยังใช้โอกาสดังกล่าวทำให้อาหารไทยอย่างข้าวเหนียวมะม่วงเป็นที่รู้จัก
ทั้งนี้ จากการที่ชัชชาติลงพื้นที่พูดคุยกับประชาชน ก็พบว่า กทม. ยังขาดพื้นที่สาธารณะสำหรับการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ จึงออกแบบนโยบาย “สร้างสรรค์ดี” ด้วยการพัฒนาพื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง หรือ สตรีตโชว์ เพื่อส่งเสริมให้ศิลปินมีพื้นที่แสดงผลงานและอยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจซบเซา นอกจากนี้ ยังสามารถยกระดับสตรีตโชว์ให้เป็นเทศกาลดนตรีและศิลปะส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกด้วย
“ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ ไม่เฉพาะการเจอเพื่อนในชั้นเรียน แต่ต้องมาจากการเจอเพื่อนต่างที่ต่างโรงเรียน แต่กรุงเทพฯไม่มีพื้นที่ให้พวกเราได้เจอกัน ดังนั้น จำเป็นต้องมีพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพ ให้คนมาเจอกันเพื่อสร้างงานสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่แสดงดนตรี เป็นพื้นที่แสดงศิลปะ และไม่ใช่เฉพาะหอศิลป์ กทม. เท่านั้น แต่ควรกระจายไปทุกเขต ทุกแขวง เพื่อให้คนได้แสดงความสามารถทางศิลปะ และต่อไปจะเป็นพลังของอนาคตเลยในเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy” ชัชชาติ กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ 0 / 5. จำนวนโหวต: 0