“โฆสิต สุวินิจจิต” คัมแบ็ก! กลับมาลงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. อีกครั้งในรอบเกือบ 10 ปี ชูนโยบายบริหารและบริการ กทม. 24 ชั่วโมง ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีคุณธรรม ไม่คดโกง เห็นผลภายใน 100 วันแรก ยืนยันตนอิสระ 100%
วันที่ 20 เมษายน 2565 ดร.โฆสิต สุวินิจจิต ผู้สมัครผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร หมายเลข 24 เปิดเผยว่า กรุงเทพนั้นเป็นเมืองที่เป็นที่รู้จักระดับโลก เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีสตรีทฟู๊ดที่ดีที่สุด ผู้คนเป็นมิตรมีเสน่ห์น่าประทับใจที่สุด ฯลฯ แต่ด้วยผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เกิดความทุกข์ยากอย่างมากในเรื่องหลักๆ คือสุขภาพ การทามาหากิน หนี้สิน และความปลอดภัย
ดร.โฆสิต ระบุว่า ตนจึงนำแนวคิด “กรุงเทพ มหานครแห่งความสุข 24 ชั่วโมง” กับ 7 นโยบาย สำหรับบริหาร จัดการ ให้บริการ เพื่อให้ชาว กทม.กลับมากินดี อยู่ดี มีความสุข พร้อมชูนโยบายเร่งด่วน 100 วันทาทันที เพื่อบรรเทาทุกข์ของชาว กทม.อย่างเห็นผลรวดเร็ว ไม่เน้นการแก้ปัญหาเดิมซ้าๆ แต่จะต้องก้าวไปข้างหน้า ด้วยการร่วมแรงร่วมใจจากพลังอาสาสมัครจาก 50 เขต ในการก้าวไปข้างหน้านั้น ได้จัดนโยบายแบบระบบวงจรความสุขมีทั้งหมด 7 เรื่องหลัก ดังนี้
1. ทามาหากินได้ 24 ชม. เริ่มด้วยการพักหนี้ คลายกังวลจากการทวงหนี้ แล้วเพิ่มเวลา เพิ่มพื้นที่ทามาหากิน เพื่อเพิ่มรายได้มีเงินเหลือ โดยจะมีนโยบายรองรับทุกระดับธุรกิจ ตั้งแต่ระดับชุมชน, start up, SME ตลอดจนธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งเสริมให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางธุรกิจระดับภูมิภาคและระดับโลกในอนาคตต่อไป
2. เดินทางสะดวก 24 ชม. การเดินทางใน กทม.ต้องต่อเชื่อมไม่ติดขัด ด้วยแนวคิด ต่อรถ ต่อราง ต่อเรือ ต่อขา และบริการ 24 ชม. เริ่มจากระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า (BTS) ให้บริการ 24 ชม. ขยายเวลาการให้บริการเรือโดยสาร เพื่อสนับสนุนการเดินทางทั้งกลางวัน และกลางคืน นอกจากนี้ต้องมีการปรับปรุงระบบไฟจราจร ติดตั้งป้ายจราจรอัจฉริยะ ให้เดินทางปลอดภัย ซึ่งจะสอดคล้องกับการทามาหากิน 24 ชม. อีกทั้งยังส่งผลให้ลดความหนาแน่ของการจราจรอีกด้วย
3. ปลอดภัย 24 ชม. เมื่อ กทม.ตื่น 24 ชม.คนต้องปลอดภัยทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม ปลอดภัยจากถนน ปลอดภัยจากอาหาร ปลอดภัยจากอุบัติภัย ปลอดภัยจากมลพิษ ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ โดยเริ่มจากลดและป้องกันภัยบนท้องถนนแบบ “รถพร้อม คนพร้อม ถนนพร้อม” (ปรับปรุงสภาพพื้นผิวจราจร, การตรวจสภาพรถ และสมรรถภาพคนขับ) จัดให้มี รปภ.ชุมชน และ ติดตั้งระบบ S.O.S ช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. รวมถึงลดความกลัวด้วยไฟส่องสว่างทั่วพื้นที่จุดเสี่ยง เป็นต้น
4. สุขภาพดี 24 ชม. ศูนย์อนามัยชุมชน เปิด 24 ชม. จัดให้มีแผนกแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ส่งเสริมยาสมุนไพรไทยมีเพียงพอในทุกศูนย์อนามัย เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินมีรถพยาบาลให้บริการประจาทุกเขต และด้วยปรากฏการณ์โควิด-19 ระบบสุขภาพต้องเป็นรณรงค์แนวทางป้องกันแบบ “สุขภาพพึ่งตน” ออกกาลังกาย อาหาร อารมณ์ อากาศ เปิดสวนสาธารณะ 24 ชม.ให้ออกกาลังกายได้อย่างเสรี กินอาหารให้เป็นยา โดยจะมีการฝึกอบรมให้กับทุกชุมชน ตั้ง Sliver club สาหรับผู้สูงวัย เป็นต้น
5. เรียนรู้ 24 ชม. จัดตั้งศูนย์พัฒนาอาชีพ และส่งเสริมการเรียนรู้ให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขทุกเขต ให้นักเรียนสร้างรายได้อย่างพอเพียง ได้โดยไม่ต้องรอให้จบ ป.ตรี และเมื่อเรียนจบไม่ตกงาน ส่วนในสายอาชีพเรียนรู้ 3 ภาษาผ่านแอพพลิเคชันฟรี และจัดตั้งศูนย์ค้นหาและเสริมศักยภาพบุคคล (Bangkok Talent Center) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลให้ตรงตามความสามารถเฉพาะ
6. การบริหารและบริการ กทม.24 ชม. กทม.เปิดให้บริการประชาชน 24 ชม. เพื่อให้ชาว กทม.ได้ทามาหากินได้อย่างสบายใจ สามารถมาติดต่อบริการของ กทม.ได้ตลอดเวลาที่สะดวก เมื่อมีปัญหาสามารถแก้ได้ตลอดเวลา เพราะจะมีที่ปรึกษาผู้ว่าประจาเขตเพื่อติดตามกากับนโยบายของผู้ว่าฯ และรณรงค์การย้ายทะเบียนบ้านเข้า กทม.เพื่อบริหารจัดการงบประมาณอย่างถูกต้องทั่วถึง ให้สิทธิเสมอภาคกับชาว กทม.ทุกระดับ ทุกเพศ รวมถึงกลุ่มผู้หลากหลายทางเพศ คนพิการ เริ่มด้วยสิทธิเสรีภาพการสมัครทางาน การแต่งกาย และสาธารณูปโภคที่เหมาะสม เช่น ห้องน้า All Gender, คุณสมบัติระบุความหลากหลายทางเพศ เพิ่มจากเพศชาย หญิง, โควต้าตาแหน่งงานคนพิการ เป็นต้น
7. เมืองคุณธรรม 24 ชม. ยกระดับ กทม.เป็นศูนย์กลางศาสนาโลก จัดตั้งกองทุนคุณธรรม 5 ศาสนา (พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู และซิกข์) ส่งเสริมคนทาความดีด้วย “สมุดบันทึกความดี” (ทาดีมีเครดิตเพื่อสิทธิพิเศษ เช่น ลดดอกเบี้ยโรงรับจานา ได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษในการรับคัดเลือกเข้าทางาน เป็นต้น) ส่งเสริมให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองพุทธโลก เป็นเมืองแห่งมหาเทพโลก ให้เป็นเมืองคนกลัวบาป มีคุณธรรมทุกระดับชั้นการศึกษา รวมถึงในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยภาพรวมจะทาให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองสงบสุข ส่งผลถึงเศรษฐกิจทางศาสนาและวัฒนธรรม
“ด้วยวิสัยทัศน์เช่นนี้ คือการสร้างรูปร่าง สร้างตัวตนของกรุงเทพขึ้นมา เป็นรูปธรรมที่ทุกคนจับต้องได้ ทุกคนเห็นภาพได้ หลังจากนั้นพวกเราก็จะทราบว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง จะไม่มามัวแต่บอกกล่าวว่าจะแก้ปัญหาต่างๆ แต่ไม่รู้ว่าแก้แล้วรูปร่างของกรุงเทพจะเป็นเช่นไร การสร้างตัวตนของกรุงเทพให้เป็นเมือง 24 ชั่วโมง เราจะได้เห็นสถานะของเราและได้รู้ว่าเราจะต้องทาอีกเท่าไร อะไรคือปัญหา อะไรที่ไม่ใช่ ได้อย่างชัดเจน” ดร.โฆสิต กล่าว
ดร.โฆสิต เปิดเผยอีกว่า ด้วยการประกาศวิสัยทัศน์กรุงเทพมหานครแห่งความสุข 24 ชั่วโมง อีกทั้งนโยบายประกอบอีก 360 องศา นอกจากจะปลุกให้คนกรุงเทพตื่นพร้อมกันแล้ว ยังเป็นการปลุกนโยบายของรัฐให้ตื่นขึ้นอย่างมีทิศทาง และให้หน่วยงานต่างๆ ทำงานตามความต้องการประชาชนแบบ 50 เขต 50 กลยุทธ์ โดยรายละเอียดด้านต่าง ๆ ดร.โฆสิต สุวินิจจิต ผู้สมัครผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร หมายเลข 24 จะนำเสนอทุกด้านต่อเนื่องในช่วงการรณรงค์หาเสียงแบบแฟลชม็อบนับจากวันนี้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: