‘ทวี’ นำคณะ ต้อนรับสภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ สนับสนุนพรรคประชาชาติ ผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมือง
วันที่ 21 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานพรรคประชาชาติ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคประชาชาติ, นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส เขต 4 พรรคประชาชาติ, นายสุรพล นาควานิช ผู้อำนวยการพรรค และนายทะเบียนพรรค, นายธงชาติ รัตนวิชา ประธานคณะทำงานด้านกิจการรัฐสภา และคณะทำงานด้านกฎหมายพรรคประชาชาติ , นายมนตรี บุญจรัส รองโฆษกพรรคประชาชาติ นางสาวอนุสรา มู่ฮัมหมัด คณะทำงานยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคประชาชาติ ให้การต้อนรับ สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง ที่เดินทางมาเข้าพบพรรคประชาชาติ เพื่อประชุม หารือ แลกเปลี่ยนความเห็นในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมือง และต้องการผลักดันร่าง พรบ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมืองและชาติพันธุ์เข้าสู่สภาฯ รวมทั้งเชิญชวนพรรคประชาชาติ และเครือข่าย มาร่วมรณรงค์และสนับสนุน (ร่าง) พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .. “ยอมรับตัวตน คุ้มครองสิทธิ ส่งเสริมวิถีชนเผ่าพื้นเมืองทุกกลุ่มชาติพันธุ์ของประเทศไทย”
พันตำรวจเอก ทวี กล่าวว่า พรรคประชาชาติ ขอขอบคุณทุกท่านที่เป็นตัวแทนในการนำข้อมูลที่สำคัญเรื่องที่สำคัญ อย่าง ร่างฯพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ ที่ทุกท่านได้มีส่วนร่วม ได้เห็นว่าถ้ามีกฎหมายชนิดนี้ขึ้นมาจะเป็นการยกระดับสังคมไทยที่ทำให้คนใกล้เคียงกับคนหรือเท่ากับคนขึ้นมา โดยการก่อกำเนิดของพรรคประชาชาติ ถ้าถามอุดมการณ์และก็นโยบายของพรรคนี้ ก็คือ เรามองว่าเราให้ความสำคัญกับการมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และก็จะมีความเสมอภาคไม่ว่าจะมีแตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ทุกคนจะต้องได้รับเกียรติ มีความเสมอหน้ากัน คือนโยบายหลักของพรรคประชาชาติ
“นโยบายหลักของพรรคประชาชาตินั้น เราเชื่อว่าในการปกครองระบอบประชาธิปไตย วันที่ทำให้คนเท่ากับคน ก็คือ วันที่คนไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง คนรวยที่สุดกับคนไม่ว่าจะอยู่บนดอยหรืออยู่ใดๆก็ตาม ถ้าไปใช้สิทธิ์เสียงของคนจะเท่ากัน หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง แต่หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง มันควรจะเป็นหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงที่มีเกียรติยศเท่ากัน แต่ความเป็นจริง เรายังมีความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากมนุษย์สร้าง ที่ไม่ใช้วัตถุ มนุษย์สร้างกฏหมาย กฏหมายจำนวนมากของสังคมไทย จะเป็นกฏหมายในลักษณะชาตินิยม อำนาจนิยม เมื่อความนิยมว่าวัฒนธรรมหนึ่งใหญ่ไปกว่าวัฒนธรรมหนึ่ง ตัวคนออกกฏหมายใหญ่ อีกคนผู้บังคับใช้กฏหมายมันจึงมีลักษณะกฏหมายกดทับ กดทับอย่างเดียวไม่พอบางส่วนทำลายวัฒนธรรม ทำลายความเชื่อทำลายเผ่าพันธุ์ โดยเฉพาะกฏหมายที่ระบุว่าอันตรายต่อรัฐ เป็นอันตรายต่อความมั่นคง หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย ทำให้เกิดอคติต่อชนเผ่า หรือชาติพันธ์ คนบนดอยจะมีกฏหมายจำนวนมากที่มองว่าเป็นคนผิด เพราะอยู่บนดอย เช่น คนดอยรุกป่า ทั้งๆที่จริง คือว่าคนในที่ราบที่ไม่มีป่าแสดงว่าที่ราบต้องรุก แต่ถูกมองเป็นคนดี แต่บนดอยยังมีป่าอยู่กับมองเป็นคนรุกป่า” พันตำรวจเอก ทวี กล่าว
พันตำรวจเอก ทวี กล่าวเพิ่มเติมว่า “วันนี้เราได้รับฟังข้อมูล ตัวกฏหมายก็สิ่งที่บอกไว้ 2 เรื่อง เรื่องแรกนั้น วาระแรก พรรคประชาชาติมีคณะไปช่วยดูช่วยศึกษา แต่เราก็เชื่อมั่นอยู่แล้วว่า ถ้ากฏหมายที่ประชาชนเสนอ ตัวพรรคประชาชาติ เราไม่ได้อยากจะไปแก้ไขอะไรเลยแม้แต่แรกเดิม เราอยากจะส่งเสริม เพราะว่าคนที่เป็นประชาชน ไม่มีเงินเดือนเหมือน ส.ส. ที่มีเงินเดือนมีอาหารฟรี ขึ้นเครื่องบินก็ฟรี พวกเรานี้ขึ้นเครื่องบินเสียเงินหมด ดังนั้น เราก็จะพยายามรักษาไว้ วาระที่สองก็จะมาดูว่า กฏหมายควรให้เกิดความยุติธรรมกับคนส่วนใหญ่และคนในประเทศหมดทุกคน ในส่วนของพรรคประชาชาติ ในฐานะที่พรรคเรามีพรรคร่วมฝ่ายค้านอยู่จะนำไปเข้าเวทีพรรคร่วมฝ่ายค้าน มีข้อสังเกตกรณีประชาชนส่วนใหญ่ที่พบว่าเสียงของประชาชนถ้าในทางการปกครองหรือในทางกฏหมายจะเป็นเสียงที่ไม่เป็นเสียง แต่คนบางคนส่วนน้อยเสียงดังมากกว่าโดยเฉพาะชนเผ่าพื้นเมือง เป็นเสียงที่นอกจากจะไม่มีเสียงแล้ว เป็นเสียงที่รัฐใมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงก็ได้ พรรคประชาชาติเราเชื่อว่า ถ้าเราทำให้คนเท่า ทำให้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้ประชาชนครับ”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: