X

ภาคท่องเที่ยวจังหวัดตราด วางแผน ป้องกัน “เกาะขายหัวเราะ” หลังกิ่งต้นตะบันหัก

3 องค์กรทางท่องเที่ยวร่วมผู้ประกอบการท่องเที่ยวเกาะหมาก และอบต.เกาะหมากหารือหนุนท่องเที่ยวและบริหารจัดการเกาะขายหัวเราะ

(14 มิถุนายน 2565) ที่ห้องประชุมเกาะหมากซีฟู้ด ต.เกาะหมาก อ.เกาะกูด จ.ตราด นายอิษฎา เสาวรส ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตราด นายนล สุวัจนานนท์ นายกอบต.เกาะหมาก นายนิพนธ์ สุทธิธนากุล ประธานชมรมท่องเที่ยวเกาะหมาก ตัวแทนจากอพท. 3 ผู้ประกอบการท่องเที่ยวบนเกาะหมาก นายจักรพรรดิ์ ตะเวติกุล อดีตนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจ.ตราด รวม 30 คน ร่วมหารือแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะหมาก เกาะกระดาด เกาะขายหัวเราะภายใต้แนวคิด BCG Model

นายอิษฎา กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นประกอบกับการประกาศผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข อีกทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในพื้นที่ตำบลเกาะหมาก สามารถบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ททท.สำนักงานตราด จึงต้องการข้อมูลสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปพิจารณาจัดทำเป็นโครงการด้านการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และการตลาด ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดตราด ภายใต้แนวคิด BCG Model เพื่อให้มีนักท่องเที่ยว เดินทางมาท่องเที่ยวตำบลเกาะหมากเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมท่องเที่ยวเกาะขายหัวเราะร่วมกับสำนักพิมพ์บันลือสาส์นด้วยการมอบประกาศนียบัตรจากสำนักพิมพ์บันลือสาส์นในฐานะผู้พิชิตเกาะขายหัวเราะ แต่เมื่อเกาะขายหัวเราะเสียหายจึงจะเปลี่ยนแคมเปญเป็น”ผู้พิทักษ์เกาะขายหัวเราะ”

ขณะนายนิพนธ์ สุทธิธนากุล ประธานวิสาหกิจท่องเที่ยวเกาะหมาก กล่าวว่า หลายคนมองว่า เกาะหมากกำลังฟื้นหลังนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่จริงๆแล้วน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2566 เพราะไฟท์การบินจากต่างประเทศจะกลับมาในช่วงนั้น ซึ่งวันนี้จึงน่าจะสะท้อนภาพของความเชื่อมั่นในเรื่องสถานการณ์โควิด 19 ที่ขณะนี้สถานการณ์ใกล้กลับมาสู่ปกติแล้ว การจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นจึงน่าจะประกาศความพร้อมของเกาะหมากว่า “เที่ยวเกาะหมากไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัยแล้ว”น่าจะเกิดผลดีมากกว่า และสิ่งที่ควรจะเร่งดำเนินการก็คือ การเดินทางเชื่อม 3 เกาะเหมือนในอดีตคือ เกาะช้าง เกาะหมาก และเกาะกูด ซึ่งจะเกิดผลดี หรือแม้เกาะหมาก และเกาะกูดน่าจะมีเช่นกัน เพราะที่ผ่านมา

ที่ประชุมได้เสนอความคิดเห็นเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ ประกอบด้วย
1.การกำหนดจุดขึ้นลง
2.การขอความร่วมมือ (ไม่ใช้คำว่า…ห้าม)
3.หลีกเลี่ยงการเหยียบรากไม้ด้วยการไม่ขึ้นไปบนเกาะ
4.ให้ข้อมูลทิศทางเดียวกัน ในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์
5.การทำทางเดิมล้อมเกาะขายหัวเราะเพื่อให้ถ่ายรูปเท่านั้น
6.การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวในการเข้าชม และขึ้นไปบนเกาะ
7.การทำป้ายเตือนและแนะนำในการท่องเที่ยวบนเกาะขายหัวเราะ
8.การไม่อนุญาตให้ขึ้นกาะขายหัวเราะ
9.การทำกิจกรรม RT ก่อนไปหากจะไปต้องซื้อกิจกรรมเช่น ปลูกหน้าทะเล หรือ ปลูกประการัง เกาะขายหัวเราะ

ซึ่งสุดท้าย ททท.สำนักงานตราดได้สอบถามผู้ประกอบการว่า จะยังขายเกาะขายหัวเราะหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ควรจะขายต่อไป แต่ต้องควบคุมให้ดี หรือกำหนดช่วงเวลาเข้าไปเที่ยว โดยวันเวลาที่เหมาะสมที่สุดก็คือ เดือนตุลาคม -ต้นธันวาคม ของทุกปี

ทั้งนี้ นายนล สุวัจนานนท์ นายกอบต.เกาะหมาก กล่าวว่า ตำบลเกาะหมากปัจจุบันมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากถีง 70-80% อบต.เกาะหมากพร้อมสนับสนุนและผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และยั้งยืน และการที่ททท.สำนักงานตราดได้ส่งเสริมนั้นดีมาก(โครตดี)เพราะเพิ่มจุดขายทางการท่องเที่ยวอีกมิติหนึ่ง ดังนั้นอบต.เกาะหมากจะเข้ามาจัดระเบียบเพื่อให้เกาะขายหัวเราะอยู่กับเกาะหมากนานๆต่อไปถึงชั่วลูกหลาน …

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of กฤษฎาพงษ์ แววคล้ายหงษ์

กฤษฎาพงษ์ แววคล้ายหงษ์

ADmin : สำนักข่าวตราดทีวี จังหวัดตราด