X

สทนช.ติดตามสถานการณ์พื้นที่กาฬสินธุ์เสี่ยงขาดแคลนน้ำหน้าแล้ง

เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)ลงพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำหน้าแล้ง พร้อมเร่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืน

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.30 น.ห้องประชุมเทศบาลตำบลห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมคณะเข้าติดตามการดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงการขาดแคนน้ำในพื้นที่ ต.ห้วยโพธิ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคบ้านดงสวาง ม.5 ต.ห้วยโพธิ์ อ.เมืองกาฬสินธุ์ พร้อมประเมินสถานการณ์น้ำต้นทุนที่ใช้ผลิตน้ำประปาอ่างเก็บน้ำห้วยโพธิ์ 1 ใน 17 อ่างเก็บน้ำขนาดกลางในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโครงการชลประทานกาฬสินธุ์ และเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำประปา แต่ปัจจุบันขาดการพัฒนาและปรับปรุงมานานหลายปี จนมีวัชพืชจำนวนมาก ระดับน้ำตื้นเขิน ส่งผลให้ปริมาณน้ำไม่สะดวก ประกอบกับคุณภาพน้ำมีปัญหาประชาชนเดือดร้อน โดยมีนายธวัชชัย รอดงาม รองผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ นายวิรัช พิมพะนิตย์ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 1 นายพลากร พิมพะนิตย์ ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 2 หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ


จากนั้นเวลา 13.30 น.วันเดียวกัน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำต้นทุนที่ใช้ผลิตประปา ต.สามขา อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ และโรงผลิตน้ำประปาหมู่ที่ 14 หนองโป่งคำ อบต.สามขา ซึ่งเป็นแหลงผลติน้ำประปาให้กับประชาชน โดยมีนายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ นายประเสริฐ บุญเรือง ส.ส.กาฬสินธุ์ เขต 6 นายวีรดนย์ ศิริ นายอำเภอกุฉินารายณ์ นายภูมินทร์ ภูมิเขตร ส.จ.อำเภอกุฉินารายณ์ พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนชาว ต.สามขา ให้การต้อนรับและเสนอปัญหา

นอกจากนี้คณะสทนช.ยังได้ลงพื้นที่รับฟังสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำของ ต.ท่าลาดดงยาง อ.ห้วยเม็ก พื้นที่ ต.หนองหิน อ.หนองกุงศรี และได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์แหล่งน้ำต้นทุนที่ใช้ผลิตน้ำประปาในพื้นที่ ต.หลักเหลี่ยม อ.นามน จ.กาฬสินธุ์อีกด้วย


ด้านนายธวัชชัย รอดงาน รองผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า จากการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญทราบว่าสถานการณ์เอลนีโญอาจส่งผลกระทบถึงช่วงเดือนมิถุนายน 2567 จ.กาฬสินธุ์ จึงได้เตรียมความพร้อมและแจ้งสั่งการให้ภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้แจ้งมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้จัดทำโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จำนวน 1,010 โครงการ งบประมาณ 1,722,260,600 บาท เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่
โดยจังหวัดให้ความสำคัญในการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานโครงการฯ ใช้ข้อมูลพื้นที่ภัยแล้งของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมกับข้อมูลพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.กาฬสินธุ์ เป็นเกณฑ์ในการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการพิจารณาสนับสนุนผลักดันจากท่านเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อให้จังหวัดสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อย่างตรงจุดและบรรลุผลเพื่อประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนต่อไป
ด้าน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ จะเน้นการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเฉพาะหน้า เพื่อไม่ให้ประชาชนขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคในเชิงรุกในการหาน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปา ส่วนวัตถุประสงค์รอง เพื่อรับฟังสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำ มีโครงการไหนที่ต้องการให้ สทนช.ร่วมขับเคลื่อนก็ยินดีให้การสนับสนุนเพื่อให้การแก้ปัญหาเกิดความยั่งยืนต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน