คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ลุยสอดส่องสืบโครงการรับเหมาก่อสร้างระบบท่อระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองกาฬสินธุ์ ของกรมโยธาธิการและผังเมืองงบ 148 ล้านบาท “สร้าง 7 ชั่วโคตรยังไม่เสร็จ” สุดยี้ร้องเรียนไปแล้วก็ยังไม่สร้างต่อ แม้กรมโยธาฯขยายเวลาให้จนใกล้ครบสัญญาแล้ว ขณะที่ปปท.เขต 4 ลุยสอบเพิ่มงบ 39 ล้านบาท ก่อสร้างเขื่อนป้องตลิ่งริมแก่งดอนกลาง พบเป็นผู้รับเหมารายเดียวกัน ด้านชาวบ้านแฉซ้ำตั้งแต่ร้องเรียนทั้งสองโครงการ ไม่เคยเห็นบริษัทรับเหมามาทำงานก่อสร้างต่อ ทำให้เศรษฐกิจเมืองกาฬสินธุ์พังยับ และชาวเดือดร้อนนานหลายปีวอนรับผิดชอบด่วนหวั่นทิ้งงาน
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 19 มีนาคม 2567 นายจิรวัฒน์ สุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 ( ปปท.เขต 4) พร้อมคณะ เข้าติดตามโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำหลัก เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ งบประมาณ 148,200,000 บาท และโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแก่งดอนกลาง ต.กาฬสินธุ์ อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ ความยาว 583 เมตร งบประมาณ 39,540,000 บาท เพื่อบูรณาการงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต การเฝ้าระวัง ติดตาม และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ ปปท.เขต 4 ตาม โครงการเครือข่าย ป.ป.ท. เฝ้าระวังการทุจริต “PACC Connect”
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ราคายางดิ่งกว่า 20 บาทต่อกิโลกรัม กยท.หนุนสถาบันทำโครงการชะลอยางสู้นายทุน
- ตรัง อึ้ง!! เด็ก-เยาวชนหลุดออกนอกระบบการศึกษากว่า 6 พันคน ศึกษาธิการตรังสั่งรวบรวม-วิเคราะห์ข้อมูล รับนโยบาย Thailand zero dropout
- สงขลา “นายกชาย” เคลียร์ชัดจบย้ำหนุน “สุพิศฯ” ลงสมัครชิง นายก อบจ.สงขลา
- นราธิวาส-สุดทน! พ่อค้าแม่ค้าร้อง ส.ส.นำเรื่องเข้าสภาฯ หลัง "บอสตลาดเก็นติ้ง" จัดหนัก! ปรับราคาเช่า-ต่อสัญญาสูงลิ่ว
ทั้งนี้ เป็นการลงพื้นที่เฝ้าระวังป้องกัน ตรวจติดตามและแก้ไขปัญหา รวมทั้งสกัดกั้นในกรณีที่เกี่ยวกับการทุจริต หรือปัญหาอื่นใดในเขตพื้นที่ โดยการเปิดบ้าน ป.ป.ท. ของประชาชน โดยมีนายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล รองประธานคณะทำงานศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาสังคมในการต่อต้านทุจริต จ.กาฬสินธุ์ พร้อมด้วยนายชาญยุทธ โคตะนนท์ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการธรรมาภิบาล จ.กาฬสินธุ์ พล.ต.ต.มนตรี จรัลพงศ์ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย คณะกรรมการธรรมาภิบาล จ.กาฬสินธุ์ ว่าที่ร้อยตรี สมบูรณ์ หัสดม ผอ.ปปช.ประจำ จ.กาฬสินธุ์ นายวิจิตร งามชื่น โยธาธิการและผังเมือง จ.กาฬสินธุ์ ร่วมตรวจสอบและสังเกตการณ์ ทั้งนี้ มีตัวแทนบริษัทที่ปรึกษาผู้รับเหมา และตัวแทนผู้รับเหมา เข้ามารายงานข้อมูลด้วย
โดยก่อนลงพื้นที่ นายจิรวัฒน์ สุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 ( ปปท.เขต 4) พร้อมคณะ ได้ร่วมประชุมรับฟังอุปสรรค ปัญหา และความก้าวหน้าของโครงการฯ จากสำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.กาฬสินธุ์ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนภาคประชาชน จากนั้นลงพื้นที่ดูสภาพปัญหาทั้ง 2 โครงการ 4 จุด ประกอบด้วยบริเวณแยกถนนพร้อมพรรณ, บริเวณถนนเชื่อมไปศูนย์ราชการ จ.กาฬสินธุ์, ถนนหลังบิ๊กซี และบริเวณแก่งดอนกลาง โดยมีตัวแทนผู้ประกอบการ และตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อนให้ข้อมูล
โดยจากการลงพื้นที่ พบสภาพปัจจุบันมีการขุดท่อ เปิดหน้าดินเป็นหลุมขนาดใหญ่แล้วปล่อยทิ้งไว้ และยังคงมีการนำท่อมาวางไว้ตามริมถนน กีดขวางจราจร นอกจากนี้ยังมีการนำเอาเครื่องจักรมาจอดกีดขวาง และเสี่ยงอันตรายกับประชาชนทั่วไปที่สัญจรไปมานานกว่า 5 ปี แล้วปล่อยทิ้งร้าง โดยเฉพาะบริเวณแยกกถนนพร้อมพรรณ และเส้นทางเชื่อมไปยังศูนย์ราชการ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งสร้างความเสียหาย กระทบกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างมาก จนชาวบ้านขึ้นป้ายประจานโครงการก่อสร้าง 7 ชั่วโคตรมาแล้ว
นายจิรวัฒน์ สุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 4 (ปปท.เขต 4) กล่าวว่า หลังได้รับแจ้งจากคณะกรรมการธรรมาภิบาล จ.กาฬสินธุ์ และภาคประชาชน ว่าโครงการก่อสร้างโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำหลัก เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ งบประมาณ 148,200,000 บาท และโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแก่งดอนกลาง ต.กาฬสินธุ์ อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ งบประมาณ 39,540,000 บาท เกิดปัญหาความล่าช้า ประชาชน ผู้ประกอบการ ได้รับความเดือดร้อนมานานกว่า 5 ปี จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ จากการรายงานเบื้องต้นพบว่าปัญหาเกิดจากผู้รับเหมาทั้ง 2 โครงการรายเดียวกัน ขาดสภาพคล่อง การก่อสร้างล่าช้ามาก จึงมีการขยายเวลาดำเนินงานก่อสร้าง 2 ครั้ง การก่อสร้างก็ยังไม่มีความคืบหน้า จึงได้ร่วมกับ ป.ป.ช.ประจำจ.กาฬสินธุ์ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมตรวจสอบ เพื่อนำข้อมูลสรุปและรายงานส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ด้านนายดำรงศักดิ์ สง่าวงษ์ ข้าราชการบำนาญ ตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อน กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากจะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ทั้งสภาพความเป็นอยู่ ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป สภาพจิตใจเสีย เพราะเกิดอุบัติเหตุบ่อย ฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย และการสัญจรลำบากแล้ว นอกจากนี้ในส่วนผู้ประกอบการร้านอาหาร สถานบันเทิง ร้านค้า ร้านขายต่างก็เจ๊งระนาวไปตามๆกัน เพราะปัญหาการก่อสร้างที่ยืดเยื้อ ยาวนาน ครั้งแรกอยากให้ทางผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเปลี่ยนผู้รับเหมา หรือมีมาตรการเร่งให้ผู้รับเหมาเร่งมือทำงาน แต่พอทราบว่าปัญหาไม่ได้อยู่ในพื้นที่ แต่ปัญหามาจากส่วนกลาง ชาวบ้านก็ได้ต่อรอความหวังว่าเมื่อไหร่ปัญหาจะได้รับการแก้ไข หรือทำอย่างไรก็ได้ ขอให้การก่อสร้างแล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะทุกวันนี้ชาวบ้านเดือดร้อนมาก
สำหรับโครงการดังกล่าว กรมโยธาธิการได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 148,200,000 บาท ถือเป็นโครงการใหญ่ ผู้รับจ้างที่ได้งานนี้ต้องเป็นผู้รับเหมาชั้นพิเศษ และเป็นคู่สัญญากับกรมโยธาธิการ เริ่มทำสัญญาก่อสร้างเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 62 กำหนดในสัญญาแล้วเสร็จ 26 มิ.ย.64 แต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 และผู้รับจ้างประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง จึงทำให้งานก่อสร้างล่าช้า ต่อมาโครงการดังกล่าว ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยผ่อนผันให้คิดค่าปรับในอัตราร้อยละ 0 จึงทำให้แผนงานได้รับการขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปถึงเดือน ก.พ.68 ทั้งนี้ จากรายงานของผู้รับเหมา มีความคืบหน้าเพียง 63% ขณะที่เบิกจ่ายไปแล้ว 31 งวด จำนวน 80 ล้านบาท
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: