“อองลือ” นั่ง ป.คณะกรรมาธิการกีฬาผล 35 คณะกรรมาธิการเป็นไปตามโผ
วันที่ 12 กันยายน 2562 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับมติตั้งเป็น คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎรสภาผู้แทน ชุดที่ 25 ปีที่ 1 ครั้งที่ 21 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เมื่อวันพุธที่ 11 กันยายน 2562 ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 90 ได้เข้ามาประชุมเพื่อตั้ง ประธาน รองประธาน เลขานุการ และโฆษกคณะกรรมาธิการใน 35 คณะ ซึ่งผลการเลือกเป็นไปตามโผดังนี้
ฝ่ายรัฐบาล 17 คณะ
ข่าวน่าสนใจ:
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
- พะเยา หนุ่มจ่ายบิลไฟฟ้าหัวร้อนกระบองเหล็กเขวี้ยงสุนัขถูกกระจกบ้านเสียหายขับรถ จยย หลบหนี
- นครพนม น้องขวัญ นำทัพกลุ่มนครพนมร่วมใจ เปิดตัว ส.อบจ.นครพนม ทั้ง 30 เขต
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
พรรคพลังประชารัฐ 8 คณะ
1.ประธานกรรมาธิการการตำรวจ
(นายนิโรธ สุนทรเลขา)
2.ประธานกรรมาธิการการสื่อสารมวลชน โทรคมนาคม ดิจิทัลเเละเศรษฐกิจ
(นางสาวกัลยา รุ่งวิจิตรชัย)
3.ประธานกรรมาธิการ การเงิน การคลัง เเละสถาบันทางการเงิน
(นายสมศักดิ์ พันธ์เกษม)
4.ประธานกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร
(นายอนันต์ ผลอำนวย)
5.ประธานกรรมาธิการการทหาร
(นายสมชาย วิษณุวงศ์)
6.ประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
(นายสุชาติ อุสาหะ)
7.ประธานกรรมาธิการการป้องกันเเละปราบปราม การฟอกเงินและยาเสพติด
(นายนิพันธ์ ศิริธร)
8.ประธานกรรมาธิการการวิทยาศาสต์รและเทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
(นายอัครวัฒน์ อัศวเหม)
พรรคประชาธิปัตย์ 4 คณะ
1.ประธานกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา
(นายอันวาร์ สาและ)
2.ประธานกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์
(นางกันตวรรณ ตันเถียร)
3.ประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ
(นายวุฒิพงษ์ นามบุตร)
4.ประธานกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม
(นางสาวรังสิมา รอดรัศมี)
พรรคภูมิใจไทย
1.ประธานกรรมาธิการการคมนาคม
(นายโสภณ ซารัมย์)
2.ประธานกรรมาธิการการท่องเที่ยว
(นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล)
3.ประธานกรรมาธิการกีฬา
(นายบุญลือ ประเสริฐโสภา)
4.ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข
(นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร)
พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คณะ
1. ประธานกรรมาธิการการส่งเสริมแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม
(นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ)
ฝ่ายค้าน 18 คณะ
พรรคเพื่อไทย 10 คณะ
1.ประธานกรรมาธิการการศึกษา
(นายนพคุณ รัฐผไท ส.ส.เชียงใหม่)
2.ประธานกรรมาธิการการพลังงาน
(นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ส.ส.ลำปาง)
3.ประธานกรรมาธิการอุตสาหกรรม
(นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ส.ส.อุบลราชธานี)
4.ประธานกรรมาธิการการศึกษา จัดทำ และติดตามการบริหารงบประมาณ
(นายไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู)
5.ประธานกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค
(นายมานะ โลหะวณิชย์ ส.ส.ชัยภูมิ)
6.ประธานกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
(นางมุกดา พงษ์สมบัติ ส.ส.ขอนแก่น)
7.ประธานกรรมาธิการการปกครอง
(นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม)
8.ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ
(นายศราวุธ เพชรพนมพร ส.ส.อุดรธานี)
9.ประธานกรรมาธิการกิจการองค์กรศาล รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน
(นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.)
10.ประธานกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
(นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก)
อนาคตใหม่ 6 คณะ
1. กมธ. การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ )
2.กมธ. ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ (พล.ท.พงศกร รอดชมภู ส.ส.บัญชีรายชื่อ)
3.กมธ. กฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน (นายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ)
4. กมธ. การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน (นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.เขต 1 พิษณุโลก)
5.กมธ. การพัฒนาเศรษฐกิจ (นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ)
6.กมธ. การแรงงาน (นายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ)
เสรีรวมไทย 1 คณะ
กมธ. การป้องกันปราบปรามการทุจริต เเละประพฤติมิชอบ
(พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส)
ประชาชาติ 1 คณะ
กมธ. การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ
(นายซูการ์โน มะทา)
รวม 35 คณะ
ส่วนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ
คณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรมีอานาจหน้าที่ดังนี้
๑. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติ
๑.๑ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติก่อนที่สภาจะลงมติ รับหลักการในวาระที่ ๑ เพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัยของสภา
๑.๒ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติในวาระที่๒ ขั้นคณะกรรมาธิการ
๒. กระทากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอานาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา
๓. เรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นใน กิจการที่กระทาหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่ได้
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๓๕ และพระราชบัญญัติคาสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภา ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๕ ได้ให้อานาจคณะกรรมาธิการสามัญและ คณะกรรมาธิการวิสามัญ ออกคาสั่งเรียกเอกสาร หรือเรียกบุคคลมาแถลงข้อเท็จจริงหรือ แสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมาธิการ หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคาสั่งเรียก จะมีความผิดตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: