เชียงใหม่ : แนวคิดปล่อยโคมลอยให้เกิดประโยชน์พร้อมวิจัยปล่อยโคมลอยแล้วขึ้นฟ้าไม่เกิน 3 นาทีไฟก็จะดับและตกลงมา โดยนอกจากได้ปล่อยโคมลอยตามประเพณีความเชื่อแล้วจะได้ช่วยเพิ่มต้นไม้ในป่าเพียงนำเมล็ดมะค่าโมง หรือเมล็ดพืชอะไรก็ได้ตามต้องการ พร้อมปุ๋ยชีวภาพติดไปด้วย โดยวัสดุที่ใช้สามารถย่อยสลายได้
ข่าวน่าสนใจ:
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- นนทบุรี กระบะเลี้ยวตัดหน้า จยย.พุ่งชน ร่างหนุ่มชาวลาวลอยก่อนตกกระแทกพื้นดับ
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
พล.ต.ธนณัฐ ยังเฟื่องมนต์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก เสนอแนวคิดการปล่อยโคมลอยให้เกิดประโยชน์พร้อมงานวิจัยจากโคมลอย (ว่าวไฟ) จากเชื้อเพลิงที่ปล่อยขึ้นไปแล้วจะลอยขึ้นฟ้าไม่เกิน 3 นาที ไฟก็จะดับและตกลงมา อีกหนึ่งแนวคิดทางเลือกเพื่อการปล่อยโคมลอย (ว่าวไฟ) ให้เกิดประโยชน์ซึ่งตัวโคมจะเป็นวัสดุธรรมชาติ มีเพียงลวดเล็กน้อยใช้ยึดตัวเชื้อเพลิง ส่งตัวที่ตรึงใช้เชือกขึง ซึ่งจากการวิจัยเชื้อเพลิงจะไหม้และลอยขึ้นฟ้าเพียง 3 นาที ไฟก็จะดับและตกลงมาย่อยสลายเป็นขี้เถ้าไป ซึ่งมีแนวคิดว่าหากมีการนำเมล็ดพืชติดไปด้วย 1-2 เมล็ดและนำปุ๋ยจากชีวภาพ มัดไปด้วย หากไป-ตกในป่าลึกที่ไม่สามารถเข้าไปได้ เมล็ดพืชที่ติดไปพร้อมปุ๋ยจะไปช่วยเพิ่มต้นไม้ได้ คาดเพียง 100 โคม มีต้นไม้เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นอีกเพียง 20% ของเมล็ดที่ติดไปด้วย แต่ปุ๋ยที่มัดติดไปกับโคมก็จะไปช่วยบำรุงดินได้อีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตามทหารมีความห่วงใยในปัญหาที่เกิดจากการปล่อยโคม จึงมีการศึกษาแก้ไขปัญหาจากการปล่อยโคมลอยของนักท่องเที่ยวจำนวนมากหวั่นเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ได้ทดลองสร้างแนวคิดนี้ขึ้น ย้ำว่าเป็นเพียงแนวคิดของการร่วมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมของไทย และได้ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มต้นไม้โดยเฉพาะต้นไม้หายากและปลูกยากในพื้นที่ป่า เพราะกระแสลมหนาวที่พัดเข้ามาอาจจะช่วยให้ไปในป่าลึกได้ วัสดุที่ใช้ก็ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมสามารถย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยมีความเป็นกรดเป็นด่าง สร้างความสมดุลให้กับดิน หากทุกคนที่ปล่อยไปจำนวนมากๆ แล้วมีเมล็ดพันธุ์ไม้ขึ้นในป่าได้เป็นจำนวนมากก็จะเป็นประโยชน์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: