นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายวิชาการ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ ประตูระบายน้ำ คลองชัยนาท-ป่าสัก อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ซึ่งกรมชลประทานเตรียมเดินหน้าแผนป้องกันน้ำท่วมปรับปรุงคลองชัยนาท-ป่าสัก หวังแก้ไขและเร่งการระบายน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งกรมชลประทาน เดินหน้าสำรวจออกแบบโครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก จังหวัดชัยนาท ให้สามารถระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาลงแม่น้ำป่าสักได้ไม่น้อยกว่า 930 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที กรมชลประทานมีแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่เขื่อนเจ้าพระยาลงไปให้ระบายลงทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการสำรวจ ออกแบบโครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก จังหวัดชัยนาท เป็น 1 ใน 9 แผน เพื่อบรรเทาอุทกภัยลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง
ซึ่งกรมชลประทานจะดำเนินงานทบทวน และออกแบบเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ประตูระบายน้ำมโนรมย์ จ.ชัยนาท สิ้นสุดที่เขื่อนพระราม 6 จ.พระนครศรีอยุธยา รวมระยะทางทั้งสิ้น 133 กิโลเมตร และงานสำรวจและออกแบบรายละเอียด จากประตูระบายน้ำมโนรมย์ถึงประตูระบายน้ำช่องแค ระยะทาง 46.5 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณประตูระบายน้ำให้เป็นเส้นทางจักรยาน และมีพื้นที่สีเขียว เพื่อส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการ ซึ่งปัจจุบัน คลองชัยนาท-ป่าสัก สามารถระบายน้ำได้เพียง120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หากโครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก แล้วเสร็จจะสามารถระบายน้ำในฤดูน้ำหลากได้ ไม่น้อยกว่า 930 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานในฤดูกาลปกตินายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า อันดับแรกเราต้องศึกษาวางโครงการก่อน ตั้งแต่ปี 2554 ที่เกิดปัญหาน้ำท่วม กรมชลประทานมีแผนงานจำนวน 9 แผนงานหลัก ซึ่งบางโครงการ ได้ดำเนินงานไปแล้ว ซึ่งตอนนี้ โครงการใหม่ทางรัฐบาลให้งบประมาณมาดำเนินการในเรื่องของ สำรวจและออกแบบคลอง ถ้าสามารถดำเนินงานได้ ประมาณ ปี 2564-2565 ก็จะสามารถดำเนินการวางแผนของบประมาณก่อสร้างได้ ก็คือโครงการคลองชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งจะสามารถดึงน้ำจากทางด้านฝั่งตะวันออก ให้กับประชาชนที่ทำเกษตรกรรม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: