วันที่ (1 พ.ค.61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระดับน้ำในเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ระดับน้ำเหนือเขื่อนอยู่ที่ +16.50 เมตรระดับน้ำทะเลปานกลาง ต่ำกว่าตลิ่งด้านเหนือเขื่อนประมาณ 2.50-3.00 เมตร ขณะที่ระดับน้ำท้ายเขื่อนวัดได้ 6.00 เมตรระดับน้ำทะเลปานกลาง ต่ำกว่าตลิ่ง 10.34 เมตร ปริมาณการระบายน้ำอยู่ที่ 100 ลบ.ม./วินาที ซึ่งในวันนี้เป็นวันดีเดย์ที่ทางรัฐบาลจะเริ่มส่งน้ำเข้าพื้นที่ 12 ทุ่งลุ่มต่ำของลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ครอบคลุม 10 จังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ได้แก่ จ.นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทองพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ปทุมธานี และนนทบุรี รวมพื้นที่ 1.15 ล้านไร่ เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้เตรียมการเพาะปลูกข้าวเร็วขึ้น 1 เดือน
ด้านนายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 กล่าวว่า วันนี้ (1 พ.ค.61) ทางชลประทานได้ส่งน้ำเข้าพื้นที่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออกเหนือเขื่อนเจ้าพระยา คือ ฝั่งตะวันตกส่งน้ำเข้าในเขตพื้นที่สำนักงานชลประทานที่ 12 จำนวน 2 ช่องทางหลักๆ คือ แม่น้ำน้อย และแม่น้ำท่าจีน ส่วนฝั่งตะวันออก ส่งไป 2 ช่องทางหลัก คือ คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองมหาราช ซึ่งน้ำทั้งหมดจะส่งเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำ 12 ทุ่ง เฉพาะในส่วนของสำนักงานชลประทานที่ 12 ประกอบด้วย ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ ทุ่งโพธิ์พระยา พื้นที่ ประมาณ 3 แสนไร่เศษ แต่ขอย้ำว่าน้ำที่ส่งเข้าไปดังกล่าวส่งเข้าเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำเท่านั้น สำหรับพื้นที่ชลประทานทั้งในเขต และนอกเขตอื่นๆ ต้องรอประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาว่าเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการก่อน ทั้งนี้กำหนดการส่งน้ำตั้งแต่วันนี้ ไปเป็นเวลา 120 วัน คือประมาณเดือนสิงหาคม 2561 เป้าประสงค์หลักประการหนึ่งที่ส่งน้ำเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำดังกล่าวหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะเป็นพื้นที่รับน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก
ซึ่งในภาพรวมของพื้นที่ลุ่มต่ำตอนล่าง ทั้ง 1.15 ล้านไร่ สามารถรับน้ำนองในช่วงฤดูน้ำหลากได้ 1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร อย่างไรก็ตาม ตัวแปรที่สำคัญคือปริมาณฝน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูที่เกษตรกรใช้น้ำฝนเป็นหลัก น้ำชลประทานเป็นเพียงน้ำที่เสริมน้ำฝนเข้าไป หากมีฝนตกมากการส่งน้ำของชลประทานจะลดน้อยลงตามสภาวะที่เกิดขึ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
ข่าวน่าสนใจ:
- ปราจีนบุรี ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ ปั่นปันน้ำใจ ฉะเชิงเทรา-หนองคาย
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- กู้ภัยเร่งช่วยชีวิตหนุ่มขับรถกระบะตกคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: