นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 267/2560 สั่ง ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง เป็นประธาน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนผลังงาน และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart city) ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ซึ่งได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 ได้กำหนดเป้าหมายการเป็นเมืองอัจฉริยะ โดยกำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ถนนนิมมานเหมินห์ : Smart Nimman และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : CMU Smart City เป็นพื้นที่นำร่องการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ 7 จังหวัด ซึ่งเป็นไปตามแผนงานในปี 2561 – 2562 ที่คณะกรรมการฯกำหนด
โดย นายชูชีพ พงษ์ไชย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ เผยว่า ลักษณะของการเป็นเมืองอัจฉริยะนั้น มีด้วยกัน 7 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ 1.ชุมชนอัจฉริยะ (Smart Living) ประชาชนมีสุขภาพดี เมืองปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกรอบตัว 2.ประชากรอัจฉริยะ (Smart People) พลเมืองมีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด การอยู่ร่วมกันด้วยความหลากหลายทางสังคม 3.พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และพลังงานทางเลือก 4.คมนาคมอัจฉริยะ (Smart Mobility) ความสามารถในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน การเดินทางสะดวกปลอดภัย ประสิทธิภาพการจัดระบบโลจิสติกส์ การแบ่งปันและการใช้ยานพาหนะประหยัดพลังงาน 5.เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) ประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ เกิดความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการพัฒนาปรับเปลี่ยนธุรกิจ 6.การบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ (Smart Governance) เข้าถึงบริการภาครัฐ พลเมืองมีส่วนร่วม โปร่งใสตรวจสอบได้ และ 7. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environmant) ดูแลรักษาทรัพยากร การจัดการมลพิษ การรักษาสมดุลจากการพัฒนาเมือง และประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการติดตามสภาพแวดล้อม
ข่าวน่าสนใจ:
- ชาวบ้านยังผวา บ้านสไลด์ตกน้ำบางปะกงตามกัน ไม่กล้าออกไปทำกิน
- นครพนม เปิดคลิป วัยรุ่น เหิมหนัก ยกพวกใช้มีดไล่ฟันคู่อริ พร้อมทุบทำลายทรัพย์สินอย่างไม่เกรงกลัวกฏหมาย
- พะเยา หนุ่มจ่ายบิลไฟฟ้าหัวร้อนกระบองเหล็กเขวี้ยงสุนัขถูกกระจกบ้านเสียหายขับรถ จยย หลบหนี
- พะเยา หนุ่มขโมยย่องฉกเงินร้านข้าวมันไก่ 3 ครั้งเจ้าของสุดทนแจ้งตรจับ
ในส่วนของการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองเชียงใหม่นั้น เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดประชุมหารือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ (Chiangmai Forum) ในประเด็น “การพัฒนาเมืองเชียงใหม่สู่การเป็น Smart city” เพื่อรับฟังปัญหาและร่วมแสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนา Smart city ในพื้นที่นำร่องของจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เชิญภาครัฐ เอกชน และสถานศึกษา ร่วมประชุมหารือดังกล่าว
จากนั้นจังหวัดเชียงใหม่ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนเชียงใหม่ Smart city Project โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานคณะทำงานฯ ผู้แทนส่วนราชการ ส่วนการศึกษา ภาคเอกชน เป็นคณะทำงาน ได้มีการประชุมหารือกันอย่างต่อเนื่อง ในการขับเคลื่อนโครงการเชียงใหม่เมืองอัจฉริยะ Smart Nimman ที่ได้เสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 ณ จังหวัดลำปาง โดยเป็นประเด็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบนถนนนิมมานเหมินท์ ได้แก่ การนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน การวางท่อส่งน้ำประปาใหม่ การปรับปรุงทางเท้าและระบบไฟส่องสว่าง โดยความคืบหน้าปัจจุบัน กำลังรอการตอบรับจากเทศบาลนครเชียงใหม่ ในการอุดหนุนงบประมาณร่วมโครงการพัฒนาโครงการ Smart Nimman
และล่าสุดในการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนเชียงใหม่ Smart city Project ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดเชียงใหม่ โดยปรับแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน โดยจะมีการประกาศแผนยุทธศาสตร์ฯ ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดเชียงใหม่ โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และทุกองค์กรภาคส่วน ร่วมมือกันในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะจังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นแม่บทในการพัฒนาเมือง ท้องที่ จังหวัดเชียงใหม่ ในทิศทางเดียวกันของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และเป็นแนวทางในการของบประมาณจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการดำเนินงานด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยโครงการที่จะนำเสนอจะต้องมียุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาของบประมาณโครงการเมืองอัจฉริยะในพื้นที่
นายชูชีพ พงษ์ไชย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยอีกว่า การดำเนินงานขั้นต่อไปของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดเชียงใหม่ จะมีการประกาศแผนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะจังหวัดเชียงใหม่ ให้หน่วยงานส่วนราชการ สื่อมวลชน และประชาชนรับทราบ จังหวัดจะได้ดำเนินงานโครงการแม่ข่าแม่คาวสะอาดใส เป็นโครงการที่ขอรับเงินจัดสรรจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการสนับสนุนโครงการด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยในโครงการจะมีการดำเนินงาน ได้แก่ 1.การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยใช้อุปกรณ์ตรวจวัดอัจฉริยะในแต่ละจุด และจัดเก็บข้อมูลในระบบอัตโนมัติ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปสังเคราะห์ หาแหล่งการปล่อยน้ำเสีย และการบริหารจัดการน้ำเสีย โดยการปล่อยน้ำดีไล่น้ำเสียอัตโนมัติ รวมถึงการนำข้อมูลที่ได้ ใช้วางแผนจุดบำบัดและจัดการน้ำเสียในอนาคต และ2.จุดตรวจวัดปริมาณน้ำ และแจ้งเตือนอัตโนมัติ เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยงริมน้ำแม่คาว แม่ข่า
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: