นครศรีธรรมราช:ยางใต้ถึงจุดเดือด เตือน รมว.เกษตรฯไม่รับแก้ไข พร้อมไล่ออก ให้คนทำงานเป็นทำหน้าที่แทน ย้ำพร้อมยกระดับความเข้มข้นวันที่ 12 มกราคม 2563 นายมนัส บุญพัฒน์ นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย ในฐานะ ตัวแทนชาวสวนยางและสถาบันชาวสวนยางพันธมิตรภาคใต้ เปิดเผยต่อสื่อมวลชนถึงเหตุผลที่ต้องมีการเปิดเวทีชุมนุมสาธารณะ ในวันพรุ่งนี้ จันทร์ที่ 13 มกราคม 2563 เวลา 13.00 น. บริเวณสนามหน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอบุญ อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช ว่า หนึ่งในเหตุผลที่ต้องจัดการชุมนุมครั้งนี้ จะเห็นว่า เกษตรกรชาวสวนยางต้องทนทุกข์กับการบริหารงานของ รบ.ที่ ไร้ศักยภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่มีความจริงใจในการเข้ามาแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะชาวสวนยางอย่างจริงใจ ซึ่งในช่วงเช้าที่ผ่านมาราคาน้ำยางสดถึงมือชาวสวนยางกิโลละ 36 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับราคายางแปรรูปส่งออก (Fob) ที่ 48 บาทเศษ ก็พอสมดุลย์กันอยู่การที่ราคาน้ำยางสดถูกกัดกินเหมือนเมื่อวันที่ 28-31 ธ.ค.62 จนเหลือถึงมือชาวสวนเพียงกิโลละ 28 บาท ราคาต่างกันอย่างเห็นชัด 7-8 บาทต่อหนึ่งกิโลที่ถูกโกง จึงทำให้เกิดการไม่ไว้วางใจจากชาวสวนยาง ที่มีต่อพ่อค้าบริษัทส่งออกและผู้มีอำนาจกำกับดูแล ว่าพวกท่านสมคบกัน หรือทำอะไรไม่เป็นจึงปล่อยปละละเลยไม่สนใจในความเดือดร้อนของชาวสวนยาง
“การออกมาแก้ตัวของผู้บริหารการยางระดับสูงที่อ้างว่าเป็นธรรมชาติของฤดูกาลเทศกาล แสดงว่าทุกเทศกาล และอีกไม่นานในเทศกาลตรุษจีนที่จะถึงนี้ ราคายางจะถูกกำหนดให้ลดลงอีกแล้วหรือ แล้วยังจะต้องตามใจพวกพ่อค้าส่งออกพวกบริษัทรายใหญ่ ให้กดขี่ชาวสวนยางอีกนานเท่าไหร่ โดยไม่คิดแก้ไข”นายมนัส กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อเรียกร้องในการชุมนุมมี 4 ข้อ ประกอบด้วย 1) ขอให้มีมาตรการควบคุมการซื้อขายยางอย่างเป็นธรรมและจริงจังเข้มงวดของตลาดซื้อขายยางพาราทุกชนิดภายในประเทศ อย่างยุติธรรม โดยเกษตรกรไม่ถูกกดขี่จากกลุ่มพ่อค้าแบบเพิกเฉยและปล่อยปละละเลย
2) ขอให้ชดเชยเงินรายได้ชาวสวนยางตามโครงการ ด้วยสภาพราคาจริง ที่เกษตรกรขายได้ในแต่ละชนิดยาง ไม่อนุมานราคาเพียงเพราะเพื่อสลายสัญญาการหาเสียงทางการเมืองที่สมมุติขึ้น รวมถึงโครงการชดเชยฯต้องครอบคลุมถึงเกษตรกรชาวสวนยางที่ปลูกไว้ในที่ดินอื่นๆ โดยไม่นับเอาเฉพาะสวนยางตามเอกสารสิทธิ์ที่ กยท.กำหนดและได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นกลุ่มจำกัด เพราะเป็นเงินโครงการที่มาจากงบประมาณส่วนกลาง ไม่ใช่เงินของ กยท.แม้แต่สักบาท และเป็นเงินสำหรับคำว่าเกษตรกรชาวสวนยาง ไม่ว่าจะเป็นที่ดินในที่มีเอกสารสิทธิ์หรือไม่ เกษตรกรชาวสวนยางต้องได้รับสิทธิ์ไม่มีข้อยกเว้น
3) ต้องดูแลและให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน อุปกรณ์และการค้ำประกันเครดิตเพื่อช่วยพยุงเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรที่แปรรูปยาง และวิสาหกิจ อย่างทั่วถึง จากที่ต้องประสบภาวะการขาดทุนมาต่อเนื่อง จากกลลวงการบิดพริ้วราคายางจนขาดทุนและต้องแบกรับภาระหนี้สินล้นพ้น โดยช่องทางและตามข้อบังคับคณะกรรมการการยาง ที่ ครม.กำหนดและ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาของมาตรา 49(3) โดยไม่เลือกละเว้นและเลือกปฏิบัติ
ข่าวน่าสนใจ:
- เพชรบูรณ์ - "ยุพราช"ชี้! นักการเมืองไม่จำเป็นต้องรวย แค่เคียงข้าง ปชช.ไม่ทุจริตโกงบ้านเมืองก็พอ
- ภาคธุรกิจเอกชนหอการค้าชัยภูมิชี้แนวทางรัฐบาลพลิกวิกฤตเศรษฐกิจไทยฝ่าวิกฤตโลก!
- ขอนแก่น พร้อมจัด " Khonkaen Countdown 2025 Rise Beyond" ขอนแก่น พุ่งทะยานสู่อนาคต อย่างยิ่งใหญ่ คาดเงินสะพัด 50 ล้านบาท
- รมว.วธ. ยินดีกับ “หลานม่า”เข้ารอบชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 97 เป็น 1 ใน 15 เรื่องสุดท้าย
4) หน่วยงานที่รับผิดชอบ (กยท. กระทรวงเกษตร) ต้องตรวจสอบและดำเนินการเอาผิดให้ถึงที่สุด ต่อพนักงาน หรือข้าราชการทุกระดับ ที่เคยทุจริต และกำลังทุจริตในโครงการต่างๆ ซึ่งทำให้เงินส่วนราชการและเงินของการยางฯซึ่งเป็นภาษีของประชาชนเสียหายสูญเปล่า
“เส้นตายรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง และผู้บริหารระดับสูงของการยางฯ ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาตาม 4 ข้อเบื้องต้นนี้ได้ ก็ไม่สมควรจะนั่งในตำแหน่งให้เสียโอกาสของความสุขเกษตรกรชาวสวนยาง เพราะในรัฐบาลนี้ประกอบด้วยหลายๆพรรคการเมือง และมีจำนวน สส.อีกหลายร้อยคน จึงควรเสียสละตำแหน่งเพื่อเปลี่ยนแปลงให้พรรคหรือคนอื่นๆเข้ามาทำหน้าที่แทน”อย่างไรก็ตาม การนัดรวมตัวชุมนุมของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางในวันพรุ่งนี้ คาดว่าจะมีชาวสวนยางทั้งภาคใต้เข้าร่วมชุมนุมกันอย่างมากมาย หลังประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำมาอย่างยาวนาน โดยทางตัวแทนได้มีการติดต่อประสานไปยัง กองบังคับการตำรวจภูธรนครศรีธรรมราช เพื่อขอกําลังเจ้าหน้าที่ในการเข้ารักษาความปลอดภัยเพื่อไม่ให้เกิดเหตุความวุ่นวายเกิดขึ้น โดยจะยึดหลักการชุมนุมอย่างสันติวิธี แต่ถึงอย่างไรนั้นหาก ไม่มีสัญญาณความจริงใจเพื่อที่จะรับปัญหาไปแก้ไข ทางกลุ่มสมาชิกเกษตรกรจะมีมาตรการขั้นตอนอื่นๆ ในการยกระดับต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: