กรุงเทพฯ – รองปลัด กทม. แจ้งผลการดำเนินงานในโครงการก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมประชากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการการสัญจรทางน้ำ ลดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่เขตดอนเมืองในอนาคต พร้อมแจง ปชช.ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ ให้เกิดความเข้าใจในตัวโครงการ
(16 ส.ค.65) นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงโครงการก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมประชากร จากคลองวัดหลักสี่ ถึงถนนช่างอากาศอุทิศ ในเขตดอนเมือง ระยะทางความยาวทั้งสิ้นกว่า 26 กิโลเมตร หลังจากที่ได้ทำการประชุมหารือเพื่อวางแผนงานก่อสร้างจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในชุมชนร่มไทรงาม ที่อยู่ในเขตพื้นที่การก่อสร้าง เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในการพัฒนาคลองเปรมประชากรตามแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานระบบคลองและการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชากร เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและบำบัดน้ำเสียในอนาคต โดยให้ทางสำนักการระบายน้ำ ลงพื้นที่ไปตรวจสอบความพร้อม เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเริ่มเข้าดำเนินการก่อสร้างได้ในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
สำหรับโครงการก่อสร้างเขื่อนคลองเปรมประชากร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง ในช่วงแรก จากคลองบ้านใหม่ถึงหมู่บ้านแกรนด์คาแนล มีระยะความยาวประมาณ 580 เมตร (ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2562) ช่วงที่ 2 จากสุดเขตกรุงเทพมหานครถึงคลองบ้านใหม่ และจากบริเวณหมู่บ้านแกรนด์คาแนลถึงถนนสรงประภา ความยาวประมาณ 5,000 เมตร (ระยะเวลาก่อสร้าง 24 เดือน ลงนามในสัญญา 20 พ.ค.65 ปัจจุบันผลงาน 0.60%) ช่วงที่ 3 จากถนนสรงประภาถึงถนนแจ้งวัฒนะ ความยาวประมาณ 10,000 เมตร (ระยะเวลาก่อสร้าง 24 เดือน ลงนามในสัญญา 4 มี.ค.65 ปัจจุบันผลงาน 2.50%) และช่วงที่ 4 จากถนนแจ้งวัฒนะถึงถนนเทศบาลสงเคราะห์ ความยาวประมาณ 10,700 เมตร (ระยะเวลาก่อสร้าง 26 เดือน ลงนามในสัญญา 3 ธ.ค.63 ปัจจุบันผลงาน 22.90%)
ข่าวน่าสนใจ:
- นนทบุรี หนุ่มวัย 24 เห็นรุ่นพี่เมา หวังดีอาสาขี่รถ จยย.ส่งบ้าน เกิด พลาดเสียหลักล้มถูกแท็กซี่ชนทับซ้ำดับคาที่
- ททท. จัดงานใหญ่ "วิจิตรเจ้าพระยา 2024" สวยงามตระการตา กระตุ้นการท่องเที่ยวส่งท้ายปีนี้
- สนามแข่งบุญชิงถ้วยพระราชทานงานพ่อโสธร เจ้าถิ่นครองเจ้าสนาม 55 ฝีพาย
- ปัญหาที่ท้าทายของ “กรมชลประทาน” กับการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงแจ้งเตือนการเกิดอุทกภัยใน “พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง”
ทั้งนี้ หากการก่อสร้างแล้วเสร็จตลอดแนวคลองเปรมประชากร จะช่วยเพิ่มความลึกและความจุปริมาณน้ำในคลองมากขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการการสัญจรทางน้ำและการระบายน้ำในคลองได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้สามารถป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ได้อีกทางหนึ่งด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: