กรุงเทพฯ : นายประหยัด คลิ้งทอง ชาวบ้านริมคลองบางบัว เขตจตุจักร ร้องผ่านสื่อให้เป็นกระบอกเสียง หาเจ้าภาพซ่อมแซมสะพานเก่าข้ามคลอง หลังชำรุดทรุดโทรมหนัก หวั่นใจไม่นานคงพัง และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตของผู้ใช้ โดยเฉพาะเด็ก หรือสร้างใหม่ให้มีความคงทนแข็งแรงกว่าเดิม
นายประหยัด คลิ้งแทน อายุ 64 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2829/7 ชาวบ้านชุมชนริมคลองสะพานบางบัว เชิงสะพาน 22 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. พร้อมด้วยเพื่อนบ้านที่ใช้ประโยชน์สะพานข้ามคลองร่วมกัน ร้องกับสื่อมวลชน ถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หลังสะพานไม้ซึ่งมีอายุมากกว่า 50 ปี ได้ชำรุดทรุดโทรมอย่างหนัก หากปล่อยไว้นานกว่านี้อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตกับผู้ใช้ได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
- "เบิร์ด ธงไชย" ศิลปินแห่งชาติ ร่วมสืบสานนาฏศิลป์สยาม ชมการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
นายประหยัด ได้พาเดินสำรวจตัวสะพาน ที่ทำมาจากไม้ทั้งหมด พบว่า ตลอดแนวของสะพาน ทั้งตัวโครงสร้าง เสา ราวกันตก มีสภาพเก่าผุพัง ชำรุดเสียหาย บริเวณพื้นทางเดินมีช่องรูขนาดใหญ่หลายจุด หากก้าวขาเดินไม่ระมัดระวังอาจเกิดอุบัติเหตุพลาดร่วงลงไปด้านล่างได้ นอกจากนี้นายประหยัดยังได้สาธิตให้ดูถึงความไม่แข็งแรงของตัวสะพาน ทั้งราวกันตกที่ยึดอยู่กับเสา และพื้น ซึ่งชาวบ้านในชุมชนต่างพากันหวั่นใจ หากปล่อยไว้นานไม่มีการซ่อมบำรุง อนาคตอันใกล้สะพานอาจพัง และคงมีคนได้รับอันตรายเป็นแน่
นายประหยัดยังกล่าวอีกว่า สะพานแห่งนี้มีอายุกว่า 50 ปีแล้ว ที่ผ่านมาเคยมี ส.ส.ในพื้นที่เข้ามาซ่อมแซมด้วยการนำไม้มาปิดทับในส่วนที่ชำรุด แต่ก้ได้เพียงแค่ระยะสั้นๆ ไม่เคยได้รับการซ่อมแซมให้มีความคงทนแข็งแรงมากไปกว่าเดิม สะพานนี้ชาวบ้านหลายครัวเรือนที่อยู่ริมคลอง ทั้งฝั่งบางเขน และฝั่งหลักสี่ ใช้ได้ประโยชน์ร่วมกันตลอดทั้งวัน ตอนเช้าจะมีพระสงฆ์มาเดินบิณฑบาตร จากนั้นก็จะมีเด้ก ๆลูกหลานเดินข้ามไปเรียนหนังสือ ตลอดทั้งวันก็จะมีคนเดินข้ามไปข้ามมา ทั้งคนทำงาน คนแก่ แม้แต่ผู้สูงอายุ ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยมีคนสูงอายุเดินก้าวขาเหยียบแผ่นไม้ที่ผุพังจนขาร่วงหล่นลงไปในช่อง จนได้รับบาดเจ็บ กระทั่งต้องย้ายหนีออกไปอยู่ที่อื่น ตนเองค่อนข้างเป็นกังวลใจว่าอีกไม่นานสะพานนี้คงไม่สามารถคุ้มครองชีวิตของผู้ใช้ได้อีกต่อไป หวั่นใจแต่เด็ก ๆนักเรียนที่ต้องเดินข้ามออกไปเรียนหนังสือกันทุก ๆ วัน จึงร้องสื่อมวลชนขอให้เป็นสื่อกลางผ่านไปยังผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยเฉพาะเขตผู้รับผิดชอบ หรือทาง กทม. มาเป็นเจ้าภาพในการบูรณะซ่อมแซม หรือสร้างใหม่ ให้มีความคงทนแข็งแรงมากกว่าที่เป็นอยู่
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: