กรุงเทพฯ : รองปลัด กทม.ยอมรับ ฝุ่น PM2.5 ทำสุขภาพคนกรุงแย่ เด็กและคนชรามีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ขอความร่วมมือผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม รักษามาตรฐานการผลิต คุมเข้มด้วยกฎหมาย พร้อมขอร้องประชาชนเลิกเผาขยะ รักษาสภาพเครื่องยนต์ และใช้พลังงานที่คุณสมบัติเหมาะสำหรับเครื่องยนต์
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการเขตบางเขน และคณะ ลงพื้นที่บริเวณถนนสุขาภิบาล 5 ซอย 13 เขตบางเขน ซึ่งเป็นจุดที่ตั้งของโรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ (แพล้นท์ปูน) 4 แห่ง ของบริษัท น่ำเฮงคอนกรีต (1992) จำกัด, บริษัท ฉัตรธงชัยคอนกรีตมิกซ์ จำกัด, บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด และบริษัท เอ็มคอนกรีต จำกัด เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ทั่วบริเวณทั้งภายนอกและภายใน
โดยมีผู้ประกอบการแพล้นท์ปูนให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ พร้อมร่วมกันจัดกิจกรรม Big Cleaning ทำความสะอาดฝุ่นที่เกิดจากกระบวนการผลิต
ข่าวน่าสนใจ:
- นนทบุรี รถโม่ปูนเฉี่ยวชนไรเดอร์วัย 59 ปีดับสยอง ขณะที่ผู้โดยสารเป็นนักศึกษาสาวบาดเจ็บ
- วธ.จัด“ลอยกระทงวิถีไทย ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” น้อง“หมูเด้ง” Thai Cuteness ร่วมสร้างสีสัน
- รมว.ท่องเที่ยว ชวนลอยกระทง "สีสันแห่งสายน้ำฯ" สร้างสรรค์และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
- "รัฐสภา" ร่วมสนับสนุนการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน “พระจักราวตาร”
พญ.วันทนีย์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงของค่าฝุ่น PM2.5 ที่พุ่งสูงเกินค่ามาตรฐานในช่วงปลายเดือนมกราคม และต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา จึงลงพื้นที่ตรวจสอบและติดตามผลการจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่น จากผู้ประกอบการแพล้นท์ปูนทั้ง 4 แห่ง ซึ่งแพล้นท์ปูนในพื้นที่ กทม.ถือเป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง นอกเหนือจากโรงงานอุตสาหกรรม, การเผาขีวมวล รวมถึงการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และอื่น ๆ
อีกทั้งแพล้นท์ปูนก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ประชาชนร้องเรียนจำนวนมาก ซึ่งใน กทม.มีแพล้นท์ปูนอยู่ไม่ต่ำกว่า 140 จุด กทม.ได้ขอความร่วมมือให้ทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด เพื่อควบคุมและป้องกันฝุ่นละอองที่มาจากกระบวนการผลิต อย่างการ การสเปรย์น้ำหรือการพ่นละอองน้ำ การติดตั้งผ้าใบคลุมท้ายรถบรรทุก การทำความสะอาดล้อรถบรรทุกปูนซีเมนต์ ก่อนออกจากแพล้นท์ปูน เพื่อป้องกันเศษปูนตกหล่นบนพื้นผิวจราจร
รองปลัด กทม.กล่าวอีกว่า ผู้ประกอบการแพล้นท์ปูนทั้ง 4 แห่งในย่านบางเขน ได้ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา โดยการควบคุมการทำงานให้เกิดฝุ่นน้อยลงโดยมี กทม.เป็นผู้ควบคุมกำหนดมาตรการ แนวทางปฏิบัติให้ผู้ประกอบการในการแก้ไขปัญหาฝุ่น แม้ว่าโรงงานผสมคอนกรีตนี้ จะได้รับมาตรฐาน ISO ในกระบวนการผลิต จะมีการฉีดพ่นน้ำบริเวณจุดกองเก็บพัสดุ แนวรอบรั้ว บ่อล้างล้อรถ (เปลี่ยนน้ำวันละ 2-3 ครั้ง) และการฉีดพ่นน้ำบนถนนในซอยหน้าโรงงาน วันละ 2 ครั้ง รวมถึงถนนทำความสะอาดซอยหลักตามที่ผู้ประกอบการรายงานให้ทราบก็ตาม
แต่จากการลงพื้นที่ตรวจสอบจะเห็นได้ว่า พื้นผิวถนนถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นขนาดเล็ก หากเหยียบย่ำไปจะเกิดฝุ่นละอองฟุ้งกระจายเกาะรองเท้ากับกางเกง จนเลอะเทอะเปรอะเปื้อนในทันที รวมถึงจุดบริเวณทางเข้าออกของรถบรรทุกปูน ที่จะต้องผ่านร่องน้ำ เพื่อลดฝุ่น บ่อน้ำจะมีสีขุ่นมาก
เป็นจุดที่ก่อให้เกิดฝุ่นมากที่สุด รวมถึงขั้นตอนกระบวนการผลิตขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตต่อวัน ทางโรงงานจะต้องเร่งการผลิตให้ทันภายใน 2 ชม. จำนวนการผลิตที่มาก ปริมาณฝุ่นก็มากตามไปด้วย จึงขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการ ให้เพิ่มเติมการเปลี่ยนน้ำในบ่อล้างล้อรถ และการฉีดพ่นน้ำบนถนนในซอยหน้าโรงงานให้บ่อยขึ้น รวมถึงการตรวจสองตามมาตรการ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด
ปัจจุบัน การออกใบอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมให้ผู้ประกอบการรายใหม่ไม่ได้ง่ายเหมือนแต่ก่อน เนื่องจากมีการคุมเข้มมาก มาตรฐานการปฏิบัตินี้ได้ออกมาจากส่วนกลาง สถานประกอบการทุกแห่งต้องปฏิบัติเหมือนกัน คาดหวังว่าการลงพื้นที่มาตรวจสอบนี้ จะสามารถให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนในส่วนรวมได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากจุดนี้ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนบ่อยครั้ง
ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยอมรับว่าผลกระที่เกิดขึ้นด้านสุขภาพนั้นมีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ ในระยะหลังจะเห็นได้ว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคหืดหอบมากขึ้น เป็นผู้ป่วยในวัยเด็กเล็ก และคนชรา แต่จุดนี้ยังไม่พบรายงาน
พญ.วันทนีย์ ยังขอความร่วมมือไปยังพี่น้องประชาชน ที่มียานพาหนะ ช่วยกันกันดูแลเครื่องยนต์ เพราะปัญหาหลักของการเกิดฝุ่นมากในวันนี้ เกิดมาจากการเผาผลาญของเครื่องยนต์ ควันที่ออกจากท่อไอเสีย โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล ควรใช้พลังงานที่มีคุณภาพเหมาะสมกับรถ รวมถึงการแอบทิ้งขยะในที่รกร้าง และการกำจัดที่ผิดวิธีด้วยการจุดไฟเผา หรือจุดไฟเผาหญ้า ซึ่งวิธีเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลกระทบมาก หรือแม้แต่จุดเล็ก ๆน้อย ๆ อย่างการจุดธูปเทียน ก็อาจจะมาเปลี่ยนเป็นธูปเทียนไฟฟ้าแทน
หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ก็อาจจะขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการ ให้พนักงาน Work From Home รวมถึงสถานศึกษา และสถานประกอบการอื่น ๆ จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ อาจจะต้องงดกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องสัมผัสกับอากาศ หากจำเป็นต้องออกจากบ้านก็อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย 2 ชั้น พร้อมติดตามเฝ้าระวัง และให้ความร่วมมือในทุก ๆ ด้าน
“เราไม่เล่นด้วย หากผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือ ในมาตรการ รวมถึงการขอความร่วมมือที่ให้ไว้ แม้เราจะหันหลังกลับไป หากไม่ตรงกับเรา เราก็ทำตรง ๆ ของเรา กทม.เอาประชาชนเป็นหลัก เอาความถูกต้องมาก่อน ยืนยันอย่างเด็ดขาด” พญ.วันทนีย์ กล่าวทิ้งท้ายอย่างหนักแน่น
ด้านนางสาวพิศมัย เรืองศิลป์ ผู้อำนวยการเขตบางเขน เจ้าของพื้นที่ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในพื้นที่มีแพล้นท์ปูนทั้งหมด 7 แห่ง จุดนี้มี 4 แห่งซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ที่ผ่านมาไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เขตบางเขนเองมีมาตรการคุมเข้มอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงเกิดปัญหาฝุ่น อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะดตั้งกลุ่มไลน์ขึ้น เพื่อรายงานผลให้ทราบอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย วันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น
นายพงษ์พันธ์ เกี้ยวสันเทียะ วิศวกรประจำแพล้นท์ปูน หัวหน้าเขตผลิต ให้ข้อมูลว่าปริมาณการผลิตของแพล้นท์ปูนในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับออร์เดอร์ของลูกค้าที่สั่งเข้ามา ซึ่งมีจำนวนที่ไม่แน่นอน อยู่ในช่วง 100-200 คิวต่อวัน มีรถบรรทุกปูนประจำอยู่ 12 คัน เข้า-ออกวันละประมาณ 40-50 เที่ยว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: