กรุงเทพฯ – ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย แนะ ว่าที่นายกฯ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ พรรคก้าวไกล ดันค่าแรงขั้นต่ำ 450 กระทบทั้งระบบ ต้องย้อนดูปัญหา-ค่าครองชีพ แนะแก้ต้นตอ 5 ข้อ ก่อนปรับขึ้น อย่าสร้างฝันไกล ให้แรงงานไทยมีหวัง
นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวในรายการ ‘ก้าวใหม่.. อนาคตไทย จะไปทางไหน?’ โดยแพลตฟอร์มข่าวชุมชน 77 ข่าวเด็ด เมื่อวันที่ 26 พ.ค.66 ถึงนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450 บาท ของพรรคก้าวไกล ที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และว่าที่นายกรัฐมนตรี ประกาศชัดเจนว่าจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ กระทั่งมีปฏิกริยาออกมาจากกลุ่มผู้ประกอบการ ที่เป็นกังวลว่าจะเป็นอุปสรรคทำให้ธุรกิจเดินหน้าลำบาก เนื่องจากเป็นการสร้างภาระให้ผู้ประกอบการ เพราะต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ระหว่างการฟื้นตัว หากไม่มีมาตรการรองรับที่ดีพอ โดยเฉพาะภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME หรือจะกระทบหนักสุด
นายแสงชัย ให้ความคิดเห็นว่า ขณะนี้ประเทศกำลังเจอวิกฤต 5 วิกฤต ไม่ว่าจะเป็น สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สงคราม และสิ่งแวดล้อม ล้วนส่งผลต่อความเสี่ยงในการที่ผู้ประกอบการจะต้องบริหารความเสี่ยงธุรกิจของตัวเอง เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถาโถมเข้ามาเรื่องรายได้ที่ไม่เหมือนเดิม ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ค่าครองชีพ ดอกเบี้ย เศรษฐกิจฝืด จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ประเทศต้องเผชิญกับหนี้ครัวเรือน ที่ปัจจุบัน สูงถึง 90% ของ GDP ไม่รวมหนี้นอนแบงก์ (ไม่ใช่สถาบันการเงิน) ถ้ารวมอาจจะทะลุไปถึง 95% ซึ่งจะเป็นความท้าทายให้รัฐบาลใหม่ ที่จะต้องแก้ไข เพื่อลดหนี้เสียทั้งในและนอกระบบ
ข่าวน่าสนใจ:
- "ชวนน้องหนูมาดูโขน" 11 ม.ค. ฟรี เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568
- ชาวบ้านห้วยแถลงเดือดบุกร้องเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา หลังคืนตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทั้งที่ยังมีคดียักยอกเงินวัดเบิกเข้าบัญชีส่วนตัว
- บุรีรัมย์ ชวนเที่ยว งานช้างเคาท์ดาวน์ 2025 และงานกาชาดบุรีรัมย์เริ่มแล้ว รางวัล กิจกรรมเพียบ
- เฒ่าชาวเบลเยียม วัย 80 ปี ถูกกลุ่มวัยรุ่น มีดฟันหัวปล้นทรัพย์ คืนวันคริสต์มาส
ขณะที่สัญญาณการส่งออกยังอยู่ในภาวะไม่สู้ดีนัก เพราะสถานการณ์โลก ไม่ว่าจะเป็นฝั่งยุโรป อเมริกา สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังไม่มีทีท่าจะสงบลงง่าย ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องมาประเมินว่า ภาคธุรกิจส่งออกที่เป็นพระเอกของไทย ที่สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศมากกว่าครึ่งของ GDP อาจจะได้รับผลกระทบบางส่วน จากเศรษฐกิจถดถอย จะมีกลยุทธ์อย่างไรที่จะขับเคลื่อนและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการยังสามารถขยายตลาดใหม่ ๆ ได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี แม้มีสัดส่วนอยู่เพียง 13.3% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด หรือมีผู้ประกอบการเพียง 22,000 ราย ที่เป็นผู้ส่งออกทางตรง จำเป็นจะต้องยกระดับให้มีตลาดส่งออกเพิ่มมากขึ้น จากจำนวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศกว่า 3.2 ล้านราย
ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวต่อว่า เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ วันนี้จะพูดเฉพาะตัวเลขที่จะปรับขึ้น แต่ไม่อธิบายรายะเอียดไม่ได้ สมาพันธ์ฯ จึงมีข้อเสนอแนะและข้อสังเกตว่า หากจะขึ้นค่าแรงซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ถ้าอำนาจซื้อของภาคแรงงานจะเพิ่มมากขึ้น แต่จะส่งผลกระทบด้านต้นทุนของผู้ประกอบการ ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ จึงขอเสนอแนะสิ่งที่จะต้องพิจารณาเชิงระบบนิเวศของเศรษฐกิจ 5 มาตรการ คือ
1.มาตรการจูงใจแรงงานนอกระบบมาเข้าระบบ ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานนอกระบบอยู่ 52% ของแรงงานทั้งหมด หรือประมาณ 20 ล้านคน จะทำอย่างไรให้แรงงานเหล่านี้เข้าสู่ระบบ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคเกษตรและภาคบริการ เพื่อให้ได้รับสวัสดิการต่าง ๆ รวมถึงการรักษาพยาบาล การให้ได้ค่าจ้างที่เป็นธรรม แรงงานในท้องถิ่นต้องมีงานทำ ขณะที่แรงงานในระบบที่จะได้รับค่าแรง 450 บาท ส่วนหนึ่งเป็นแรงงานต่างด้าว โดยปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นมาถึง 3.3 ล้านคน ทำให้แรงงานต่างด้าวได้ค่าแรงมากกว่าคนไทยด้วยซ้ำ
2.การยกระดับมาตรฐานแรงงาน โดยพบว่า แรงงานไทยมีการศึกษาต่ำ เพียงระดับชั้นประถมศึกษาหรือไม่มีการศึกษาเลย มีจำนวนมากถึง 15.6 ล้านคน คิดเป็น 42% ของแรงงานทั้งหมด จึงเป็นโจทย์ใหญ่ว่า ทำอย่างไรจะสามารถยกระดับพัฒนาทักษะและสมรรถนะขีดความสามารถภาคแรงงานอย่างเป็นระบบ ต้องมี blockchain จูงให้เข้ามาอยู่ในระบบและมีมาตรฐานเพิ่มทักษะ (reskill upskill) ตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการให้ได้ ซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันตอบสนองความต้องการให้ได้ ทุกวันนี้ ยังมีตำแหน่งงานว่างอีกมาก แต่หาคนที่เหมาะสมมาทำงานไม่ได้ อีกทั้งยังใช้คนไม่ถูกกับงานด้วย เห็นได้จากผลิตภาพแรงงานต่อคนในอาเซียน ไทยเราจัดอยู่ในอันดับที่ 4 รองมาจาก สิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย ดังนั้น การพัฒนาทักษะต้องเป็นวาระแห่งชาติ
3.มาตรการลดผลกระทบค่าครองชีพให้แรงงานรายวัน จะลดผลกระทบอย่างไร ที่จะสามารถลดค่าครองชีพจากการซื้อสินคัาอุปโภค-บริโภคในราคาที่ถูกลง เช่น มาตรการระยะสั้น อย่างคนละครึ่ง กาช่วยเหลือแบบพุ่งเป้า เฉพาะจุด เพื่อไม่ให้การขึ้นค่าแรงไปส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพ รวมถึงผู้ประกอบการ จึงควรทยอยปรับขึ้น โดยมีมาตรการรองรับ
4.มาตการลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเอสเอ็มอี หรือผู้ประกอบการรายใหญ่ ต่างเผชิญปัญหาเรื่องต้นทุนพลังงาน ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม รวมถึงปัจจัยการผลิต วัตถุดิบ ปุ๋ย อาหารสัตว์ เกษตรกรก็เจอปัญหาเหล่านี้เช่นกัน ตลอดปีที่ผ่านมา ยังมีผลกระทบจากรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ต้องพึ่งพาจากต่าง รัฐจะส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตสินค้า หรือเกษตรกรเพาะปลูกพืชบางชนิด ที่ต้องทดแทนการนำเข้า
5.มาตรการลดภาษี 2 เท่า 2 ปี ให้ผู้ประกอบการที่ขึ้นค่าแรง พุ่งเป้าไปที่ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบ แต่เอสเอ็มอีอีกมากยังอยู่นอกระบบ จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตรงนี้ และไม่ได้เป็นสิ่งที่จูงใจเอสเอ็มอีให้เข้าสู่ระบบเท่าที่ควร โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังต้องการการ ค่าแรงขั้นต่ำจะกระทบทั้งระบบ ไม่ได้กระทบเฉพาะรายวันอย่างเดียว แต่แรงงานรายเดือนก็กระทบ หรืออย่างคนที่มีฝีมือและทำงานมานานจนมีความเชี่่ยวชาญ ก็ควรที่จะต้องได้ค่าแรงสุงขึ้นไปอีก ไม่ใช่ 450 บาท เท่ากับแรงงานทั่วไป เพราะฉะนั้น กลไกไตรภาคียังมีความจำเป็นที่จะมาหาจุดสมดุลในแต่ละพื้นที่ด้วย
“การขึ้นค่าแรง 450 บาท ไม่ง่าย และต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบด้านในทุกมิติ โดยเฉพาะผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี” นายแสงชัย ย้ำชัด
รายการ ‘ก้าวใหม่.. อนาคตไทย จะไปทางไหน?’ ออกอากาศสุดทุกวันอังคารและวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 16.00 น.เป็นต้นไป พร้อมกันทั้ง 3 แพลตฟอร์มออนไลน์
♦ Facebook : 77ข่าวเด็ด https://www.facebook.com/77kaoded/
♦ Youtube : 77kaoded 77ข่าวเด็ด https://youtube.com/@77kaoded
♦ TikTok : 77kaoded 77ข่าวเด็ด https://www.tiktok.com/@77kaoded
ดำเนินรายการโดย ลักขณา สุริยงค์ และ กิติ์ดนัย ไชยนุรัตน์
ติดตามย้อนหลังรายการฉบับเต็มได้ที่ :
https://fb.watch/kNHznEhldA/?mibextid=Nif5oz
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: