เชียงราย : นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดีอี ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย ลุยจัดระเบียบสายสื่อสารลงดิน คืนความสวยงามให้พื้นที่ สร้างความปลอดภัยพี่น้องประชาชน
วันที่ 18 มีนาคม 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามการดำเนินการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เทศบาลนครเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติภารกิจการร่วมประชุม ครม.สัญจร ระหว่างวันที่ 18 – 19 มีนาคม 2567 ณ จังหวัดพะเยา โดยมีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย
นายประเสริฐ กล่าวว่า การนำสายสื่อสารทุกประเภทลงใต้ดิน ในพื้นซึ่งเป็นตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของนโยบายสำคัญทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระดับสากลและเป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC – Creative LANNA) เพื่อพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศ รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของจังหวัด ประกอบกับมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จากความสําคัญดังกล่าว เทศบาลนครเชียงรายและเทศบาลตำบลแม่สาย จังหวัดเชียงราย ให้ดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีสายไฟฟ้าหรือสายสื่อสารรกรุงรังบดบังทัศนียภาพสถานที่ท่องเที่ยวและเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชน รวมทั้งรองรับการพัฒนาเขตเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่จะสร้างรายได้ให้ภาครัฐจากการให้เช่าใช้ท่อร้อยสายหรือสายสื่อสารใต้ดินให้แก่ผู้ให้บริการรายอื่นๆ อีกด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
- ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เชิญส่วนราชการ เอกชน สื่อมวลชน 50 คน เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนกระตุ้นการท่องเที่ยว-เศรษฐกิจในชุมชน อย่างยั่งยืน
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
ทั้งนี้ การนำสายสื่อสารทุกประเภทลงใต้ดิน ทำให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ โดย 1. ทำให้พื้นที่ของ เทศบาลนครเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย และเทศบาลตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย หรือจุดท่องเที่ยวที่มีการนำสายสื่อสารลงใต้ดินมีทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม เพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
2. ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากลดปัญหาผลกระทบที่เกิดจาก การพาดสายบนอากาศ เช่น การถูกสัตว์กัดแทะ การเกิดไฟไหม้
3. สามารถรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่สูงขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจสังคม และขีดความสามารถในการแข่งขันในการก้าวสู่การเป็นผู้นำการขับเคลื่อน และยกระดับการสื่อสารและดิจิทัลให้กับประเทศ รองรับการพัฒนาเขตเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และนโยบายไทยแลนด์ 4.0
และ 5. สร้างรายได้ให้แก่ภาครัฐจากการให้เช่าท่อร้อยสาย และสายสื่อสารใต้ดิน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: