ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ภาคเอกชน สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางนครศรีธรรมราช และ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรม เสวนาเพื่อการวิเคราะห์และแก้ปัญหากระบวนการผลิตหมอนยางพารา ตามโครงการนำร่อง “นครศรีฯโมเดล” เพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคมบูรณาการการเรียนการสอนหรือการวิจัยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน ท้องถิ่น และสังคม โดยมี ผศ.ดร.ฆนัท ธาตุทอง รักษาการอธิการบดี ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้
ผศ.ดร.ฆนัท กล่าวว่า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้ร่วมทำสัญญาตกลงนาม (MOU) ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปหมอนยางพารา ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาเกษตรกร พร้อมทั้งมีการจัดตั้งทีมที่ปรึกษา เพื่อบริการวิชาการแก่กลุ่มผู้ผลิตหมอนยางพารา ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี ซึ่งพบว่า กลุ่มผู้ผลิตหมอนยางในจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังประสบปัญหา อาทิ ขาดโอกาสทางการตลาด กระบวนการผลิตรวมทั้งคุณภาพ ซึ่งปัญหามีความหลากหลาย และสิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข คือการผลิตหมอนยางพาราที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด
จึงนับเป็นโอกาสดีที่ทาง กยท.ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการผลิตและร่วมมือทางการตลาดหมอนยางพารา กับ บริษัทเลเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพาราทั่วประเทศ เพื่อร่วมมือในการผลิตหมอนและที่นอนยางพาราภายใต้แบรนด์กลาง กยท. โดยตั้งเป้าในปี 61 จะเริ่มต้นผลิตหมอนยางพาราคุณภาพเยี่ยมออกสู่ตลาด 200,000 ใบ สร้างมูลค่าทางการตลาดรวม 100 ล้านบาท ซึ่งตรงกับการให้บริการวิชาการแก่สังคม บูรณาการการเรียนการสอน หรือการวิจัยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน ท้องถิ่น และสังคม
ผศ.ดร.ฆนัท กล่าวว่า ม.ราชภัฎ ให้ความรู้ บริการทางวิชาการ ภาคเอกชนหาการตลาด กยท.สนับสนุนส่งเสริมแนวทาง ตลอดจนผลักดันทุนให้กับสถาบันฯ และเกษตรกรเป็นผู้ผลิต ครบกระบวนการผลิตอย่างยั่งยืน
นายณัฐพัฒน์ นิธิอุทัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทเลเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า นครศรีธรรมราช เป็นจัดหวัดที่มีสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตหมอนยางพารามากที่สุดถึง 14 กลุ่ม ซึ่งทุกกลุ่มได้ร่วมลงนามกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และการอบรมในครั้งนี้ถือเป็นจังหวัดแรกในการนำร่อง “นครศรีฯโมเดล” ซึ่งเราเล็งเห็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเทคโนโลยีการแปรรูปยางพารา เพื่อพัฒนามาตรฐานการผลิตให้ดียิ่งขึ้น รองรับการส่งออกปริมาณมหาศาลในอนาคตอันใกล้นี้ ทิศทางและแนวโน้มความต้องการใช้หมอนยางพารายังคงมีปริมาณที่มากขึ้น เชื่อว่าการเริ่มต้นในครั้งนี้จะทำให้สถาบันเกษตรกรสามารถปรับกลยุทธในการผลิตหมอนยางพาราได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้นส่งผล
ข่าวน่าสนใจ:
- บุรีรัมย์ เตือนวัยรุ่นอย่าทำ ขับรถหวาดเสียว ยกล้อโชว์ จับส่งศาล ศาลพิพากษาสั่งปรับและจำคุก
- “ปลายฝน ต้นหนาว เคาท์ดาวน์ มิวสิคเฟส สุราษฎร์ธานี” ไฮไลท์ประกวดควายไทยมูลค่ากว่า 10 ล้าน
- นนทบุรี หนุ่ม 16 ขับเบนช์ เสียหลักเหินขึ้นไปคาอยู่บนรถ 6 ล้อรอดตายปาฏิหาริย์
- กาญจนบุรี พิธีตักบาตรพระ 10,000 รูป ฉลองตั้งเมือง 193 ปี พร้อมอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้มีพระคุณต่อประเทศชาติ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: