นครศรีธรรมราช-ติวเข้มผู้บริหารเทศบาล ครู นักเรียน ในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ให้เข้าใจระบบการทำงานของอุปกรณ์ เครื่องมือสมัยใหม่ในการเตือนภัย เพื่อให้รู้เท่าทันภัยพิบัติที่เกิดขึ้นซ้ำซากในพื้นที่
เทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ร่วมกับศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศ ภาคใต้ (GISTDA)คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ม.สงขลานครินทร์ และสถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะจัดการสิ่งแวดล้อม ม.สงขลานครินทร์ จัดกิจกรรม GISTDA Day ประจำปี พ.ศ.2561 ที่อุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราช (City Learning Pak Clp) โดยนายมนัส พงศ์ยี่หล้า รองนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดกิจกรรม
ดร.อานันต์ คำภีระ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ และเป็นสื่อกลางให้กับครู อาจารย์ และโดยเฉพาะนักเรียนในระดับชั้นมัธยมของ รร.ในเขตเทศบาล ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีการรับรู้ทางไกล หรือRemote Sensing : RS ระบบสารสนเทศภูมิสาสตร์ หรือGlobal Navigation Satellite System :GNSS รวมทั้งสามารถได้สัมผัสและทดลองใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆที่เกี่ยวข้องจริง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น และเพลิดเพลินไปกับการแสวงหาความรู้ โดยมีครูและนักเรียนมากกว่า 150 คน และคณะผู้บริหารเทศบาลฯเข้าร่วม
ข่าวน่าสนใจ:
กิจกรรม GISTDA Day เน้นกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มครูและนักเรียนในระดับมัธยมที่มีพื้นฐานองค์ความรู้เดิมอยู่แล้ว เพื่อมาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยความรู้หลักๆ 4 ข้อที่ผู้เข้าร่วมจะได้ประกอบด้วย เทคโนโลยีการรับรู้ทางไกล ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และ ระบบดาวเทียมนำทางโลก ซึ่งในแต่ละฐานความรู้ ผู้เข้าร่วมจะได้รับการบรรยายและสาธิตจากวิทยากรโดยคณาจารย์และกูรูจากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศ ภาคใต้ เพื่อให้เข้าใจระบบเตือนภัย และคาดการณ์ทางภูมิศาสตร์ในเบื้องต้นให้สามารถรองรับภัยพิบัติในพื้นที่ได้ทันท่วงที
จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่เกิดภัยพิบัติจากน้ำท่วม ดินโคลนถล่มมาอย่างต่อเนื่อง จากภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ติดกับเทือกเขาหลวง และมีแนวลาดเทลงทะเลอ่าวไทย ทำให้แต่ละปีน้ำจากเทือกเขาไหลทะลักลงพื้นราบ ท่วมตัวเมือง พื้นที่ทางการเกษตร ย่านที่อยู่อาศัยเสียหายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดปลายปี 2560 สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างในจังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดจากปริมาณน้ำฝนสะสมในเขตพื้นที่ภูเขาสูงถึง 400มม.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: