พลังการสื่อสาร พลังสังคม พลังการพัฒนา นวัตกรรมการสื่อสารสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาเทศบาลเมืองทุ่งสง แบบบูรณาการ เครือข่ายภาคประชาชนมืออาชีพ ขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งก้าวหน้ายั่งยืน
เทศบาลเมืองทุ่งสงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “ต้นแบบ”การบริหารการพัฒนายุคใหม่ที่มุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชุมนต่าง ๆ อย่างแท้จริง มีขั้นตอน และวิธีการทำงานแบบบูรณาการเพื่อสร้างเมืองทุ่งสงให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง อย่างสนใจ โดยเฉพาะในกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมการพัฒนา
รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานหลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารการเมืองการปกครองท้องถิ่น สาขานิเทศศาสตร์ (อดีตรองอธิการบดีและคณบดีคณะนิเทศศาสตร์มสธ.) และที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม เปิดเผยว่า ท้องถิ่นจะเข้มแข็งได้นั้น ต้องมาจากภาคประชาชนที่เข้มแข้ง และมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมการพัฒนาท้องถิ่น
“การพัฒนาท้องถิ่นนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยพลังร่วมการสื่อสาร สร้างพลังทางสังคมจากเครือข่ายภาคประชาชนครอบคลุมทุกกลุ่มเครือข่ายเพื่อเปิดโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วม ในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมพัฒนา ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับผิดชอบและยอมรับผลการพัฒนาเมือง การพัฒนาที่ก่อให้เกิดความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ท้องถิ่น วัฒนธรรมเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยโดยผ่านการใช้และคำนึงถึงทุนทางสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ การกำหนดนโยบายและวางแผนการพัฒนา ที่สำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาด้านต่าง ๆ ของพื้นที่ต้องสร้างการรับรู้ และความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง”
การเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารจึงมีความจำเป็นเนื่องจากการสื่อสารที่ผิดพลาดจะส่งผลกระทบต่อการบรรลุประสิทธิผลขององค์กรเสมอ การสร้างระบบการสื่อสารภายในองค์กรที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารทุกองค์กร คือ การจัดระบบการสื่อสารตลอดจนการไหลของข้อมูลข่าวสารในองค์กรและลดความผิดพลาดหรืออุปสรรคในการสื่อสาร
มีการติดตามผล เป็นวิธีการที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งไปว่าผู้รับเข้าใจตรงกับผู้ส่งเพียงไร วิธีการนี้จะทำให้กระบวนการสื่อสารเป็นแบบ two–way ซึ่งอาจเกิดขึ้นในการพบปะกันหรือหากเป็นการใช้เอกสารติดตามผลและข้อมูลย้อนกลับอาจตรวจสอบได้จากการโต้ตอบ การแสดงออกของผู้รับสารจะทำไห้เราทราบว่าการสื่อสารมีความถูกต้องเพียงไร
รวมถึงการใช้การสื่อสารหลากหลายวิธี การใช้ช่องทางของสื่อใหม่ในสังคมออนไลน์ สื่อดั้งเดิมอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายบุคคลกรขององค์กรร่วมทำหน้าที่จิตอาสา “นักสื่อสารมืออาชีพ”ทำให้การติดต่อสื่อสารอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เช่น มีการสั่งการด้วยเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว และยังมีการประชุม และสั่งการด้วยวาจาโดยใช้โอกาสพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การใช้สื่อบุคคล หรือสื่อเครือข่ายบุคคล ทำหน้าที่สื่อสารเพื่อความถูกต้องแม่นย่ำมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเครือข่ายในฐานะ“สื่อบุคคล” เช่น เครือข่ายอาสาพัฒนาปากแพรก ซึ่งเป็นตัวแทนสมาชิกจากชุมชนต่างๆ ภายในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสงทั้ง 20 ชุมชน และ เครือข่ายประชาสัมพันธ์เทศบาลเมืองทุ่งสง ซึ่งเป็นตัวแทนสมาชิกจากกอง/สำนักต่างๆ เทศบาลเมืองทุ่งสง บูรณาการร่วมสื่อสารการพัฒนาท้องถิ่น อย่างบรรลุเป้าหมาย
พลังการสื่อสาร พลังสังคม พลังการพัฒนา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: