สงขลา-การกระจายอำนาจเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะทำให้รัฐสามารถจัดบริการสาธารณะได้อย่างทั่วถึง สถานการณ์การเลือกตั้งในสนามท้องถิ่นจึงได้รับความสนใจและการติดตามจากคอการเมืองอย่างต่อเนื่อง เพราะการปกครองส่วนท้องถิ่น การที่รัฐบาลกระจายอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครองตนเองภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและสนองตอบต่อความต้องการของชุมชนให้สะดวก รวดเร็ว ตรงต่อความประสงค์ของชุมชนนั้น ๆ
ช่วงนี้ความเคลื่อนไหวทางการเมืองท้องถิ่น คึกคักตื่นตัวและมีสีสัน โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เมื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในวันที่ 27 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา
โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 และมาตรา 142 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงออกประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภายใน 60 วัน
นับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกําหนดให้มีการเลือกตั้ง อันเป็นวันที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตําแหน่ง เพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ประกอบมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562
ข่าวน่าสนใจ:
- สงขลา"ไพเจนฯ"นั่งเก้าอี้ นายก อบจ.สงขลา วันสุดท้าย ลั่น 1,460 วัน กว่า 1,460 โครงการฯ
- สงขลา"นายกเเบน"ลงชิง นายก อบจ.สงขลา รวม 3 ทีมเป็นหนึ่งเดียว ชู 10 นโยบายเร่งด่วนทำได้จริง
- อบจ.สงขลาแถลงผลดำเนินการ “1,460 วันนายกไพเจนขับเคลื่อน กว่า1,460 โครงการ” สร้างสุขชุมชน
- สงขลา รวบ 2 พ่อลูกตามหมายจับ สุดซ่าส์เคยชกปาก ตร.ชุดจับกุม ซ้ำ"ขู่สื่อฯ ระวังตัวให้ดี"
ผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่ หรือผู้สมัครทางการเมืองท้องถิ่นยุคใหม่ต่างปรับตัวพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งรูปแบบใหม่หลายสนามนำมาใช้งานการเมืองเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองท้องถิ่น การสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อดั้งเดิม และสื่อใหม่
การสื่อสารผ่านเวทีการปราศรัยหาเสียง เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่นำมาใช้ในงานการเมืองยุคใหม่ ที่มุ่งเน้นการพัมนารูปแบบการนำเสนอที่สร้างสรรค์ พัมนาด้วยองค์ความรุ้เพิ่ม ทักษะ เทคนิค และกลยุทธ์ที่แยบยล ทั้งการปราศรัยใหญ่ การปราศรัยย่อย พัมนาศักยภาพ“การพูด” หัวใจสำคัญการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยม และสามารถเข้าถึงประชาชนกลุ่มใหญ่ในคราวเดียว การปราศรัยหาเสียง โดยมุ่งเน้นไปที่ตัวผู้นำ หรือผู้สมัครทางการเมือง ในฐานะผู้ปราศรัยต้องสื่อสารเพื่อชักจูงใจผู้ฟัง โดยใช้หลักการโน้มน้าวใจ การสร้างความน่าเชื่อถือด้านบุคลิกภาพ เป็นการพัมนาทักษะการพูดของผู้ปราศรัยเป็นสำคัญ
รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานหลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารการเมืองการปกครองท้องถิ่น สาขานิเทศศาสตร์ (อดีตรองอธิการบดีและคณบดีคณะนิเทศศาสตร์มสธ.) และที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม กล่าวอย่างน่าสนใจว่า ผู้นำท้องถิ่นหรือผู้สมัครทางการเมือง ในฐานะผู้ปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง ต้องมีเทคนิค และทักษะการพูดที่ดี มีวิธีการโน้มน้าวใจที่มีผลมากที่สุด สามารถสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดขึ้นกับผู้ฟัง แสดงหลักการ และเหตุผลต่าง ๆ รองรับเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ เกิดความรู้สึกที่ดีต่อภาพลักษณ์ทั้งแนวคิด วิสัยทัศน์ ด้วยการสื่อสารถึงนโยบายการพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ
“ก่อนที่ผู้ปราศรัยจะทำการโน้มน้าวใจจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ผู้ฟัง และการแสดงหลักฐานและเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งก่อนที่ผู้ปราศรัยจะทำการโน้มน้าวใจจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ผู้ฟัง โดยการเลือกใช้ภาษาที่ตรงกับความต้องการของผู้ฟัง ศึกษาความคล้ายคลึงกันระหว่างผู้ปราศรัยและผู้ฟัง เช่นการใช้ภาษาถิ่น การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้รับสาร และใช้วิธีการกระตุ้นทางอารมณ์”
รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ย้ำให้ฟังอย่างน่าสนใจว่าการที่จะโน้มน้าวผู้ฟังให้ประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยองค์ประกอบทางด้านผู้ปราศรัย มีปัจจัยด้านความเชื่อถือ บทบาทในสังคม สัมพันธภาพกับผู้ฟัง เพศ อายุ และองค์ประกอบด้านผู้ฟัง ซึ่งมีผลต่อความยากง่ายในการโน้มน้าวใจ เช่น เพศ อาชีพ ทัศนคติ ความรู้และการให้ความสำคัญกับประเด็นที่ผู้ปราศรัยกล่าว และลักษณะทางอารมณ์ของผู้ฟัง
“การปราศรัยหาเสียงด้วยนโยบาย และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สมัครทางการเมืองมีความสำคัญมาก เพราะการปราศรัยหาเสียงจะทำให้ประชาชนได้ทราบข้อมูล ได้ทราบแนวความคิด รวมถึงบุคลิก ลักษณะ การพูดจา ความเป็นผู้นำ ของผู้สมัคร ฉะนั้น ผู้สมัครฝึกฝนการพุด พุดให้เก่ง พูดให้เป็น ซึ่งทำให้ได้เปรียบเป็นที่จดจำ สร้างความประทับใจ เป็นนักการเมืองควรมีการเตรียมตัวและควรที่จะฝึกฝนการพูดต่อหน้าที่ชุมชนไว้ล่วงหน้า เพราะผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนักการเมืองในระดับใดๆ ก็ตาม จะหลีกเลี่ยงการพูดปราศรัยหาเสียงไปไม่ได้เลย การพูดปราศรัยหาเสียง มีทั้งแบบปราศรัยเดียว การพูดปราศรัยเป็นทีม พรรคการเมืองมาช่วยหาเสียง”
การหาเสียงโดยการปราศรัย ส่วนใหญ่มักจะปราศรัยในพื้นที่ใหญ่ๆ ที่ผู้สมัครไม่สามารถเดินเคาะประตูบ้านได้ทุกหลังคาเรือน จึงต้องใช้สถานที่ว่างหรือสถานที่สาธารณะในการปราศรัย ผู้ปราศรัยหาเสียงควรพูดปราศรัยโดยคำนึงถึงความต้องการของคนในแต่ละพื้นที่ รู้ปัญหาของคนในพื้นที่ที่ไปลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะในแต่ละพื้นที่มีปัญหาที่แตกต่างกัน
รศ.ดร.วิทยาธร ย้ำถึงเทคนิคที่สำคัญการปราศรัยว่า ผู้สมัครทางการเมืองต้องมีทักษะการพูด มีโครงสร้างในการพูด โดยสร้างอารมณ์ร่วมกับผู้ฟัง การเลือกใช้ถ้อยคำ การใช้คำพูด และน้ำเสียง ลีลาโทนเสียงสูงต่ำอย่างมีจังหวะ และเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา มีการใช้ภาษาที่ชาวบ้านชอบหรือเข้าใจได้ง่าย พูดสิ่งที่อยู่ภายในใจหรือสิ่งที่ประชาชนในพื้นที่ชอบหรือต้องการอยากที่จะได้ ก็ย่อมสามารถที่จะเอาชนะใจประชาชนในพื้นที่ได้เช่นกัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: