สกู๊ปข่าว-“ซั้ง” สร้างบ้านปลา ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำ พันธ์ปลา-กุ้ง การปลูกป่าชายเลน และการสร้างปะการังเทียม ภายใต้โครงการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล โดย “ไพเจน มากสุวรรณ์”นากยกอบจ.สงขลาขับเคลื่อนทุกภาคีเครือข่ายร่วมผลิตสัตว์น้ำเพื่อปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ คืนชีวิตแห่งสายน้ำ คืนความอุดมสมบูรณ์วิถีประมงพื้นบ้าน
ทะเลคือแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงมวลมนุษยชาติมาช้านาน แต่ปัจจุบันความต้องการด้านอาหารที่เพิ่มขึ้น บวกกับวิวัฒนาการการจับสัตว์น้ำได้ในปริมาณมาก และธรรมชาติทางทะเลถูกทำลายลงไปมาก ทำให้ปลาและสัตว์น้ำน้อยใหญ่ถูกคุกคามลดน้อยลงเป็นเงาตามตัว ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชาวบ้านที่ยึดอาชีพประมงชายฝั่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ข่าวน่าสนใจ:
อบจ.สงขลาตระหนักและให้ความสำคัญด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะประมงจังหวัดสงขลา เอกชน และภาคประชาคม และชุมชนชายฝั่งร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติภายใต้โครงการอนุรักษ์ทรัพยากร และฟื้นฟูทางทะเล
“การบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์ การฟื้นฟูและการเฝ้าระวังการทำลายระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดสงขลาให้มีประสิทธิภาพทางอบจ.สงขลาได้ร่วมมือกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมประมง รวมถึงภาคประชาสังคม ชุมชนชายฝั่งจัดทำโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและป่าชายเลขึ้น เพื่อกระตุ้นให้อปท.และชุมชนโดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ ได้เรียนรู้การมีส่วนร่วมในการดูแล อนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรทางทะเล ตลอดจนการจัดการป่าชายเลนอย่างถูกต้อง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน”นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกอบจ.สงขลากล่าว
การปล่อยพันธ์สัตว์น้ำพันธ์ปลา-กุ้งหนึ่ง ฟื้นฟูป่าไม้ ป่าชายเลน และการสร้างปะการังเทียม กิจกรรมสำคัญจากนโยบายการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่งซึ่งอบจ.สงขลาให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมดังกล่าวเพื่อคืนชีวิตแห่งสายน้ำ เป็นการพัฒนาแหล่งทำประมงพื้นบ้าน ชายฝั่งแต่ละพื้นจะแตกต่างกันกันออกไปเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการวางแผนโดยเฉพาะ
“อบจ.สงขลาได้รวมพลังร่วมมือกับผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กุ้งก้ามกราม และปลาตะเพียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 700,000 ตัว ภายใต้โครงการผลิตสัตว์น้ำเพื่อปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ 3 แห่ง ได้แก่ จุดที่ 1 สถานที่แก้มลิง หมู่ที่ 1 ต.ชะแล้ ปล่อยปลาตะเพียน จำนวน 1 แสนตัว จุดที่ 2 แก้มลิง หมู่ที่ 2 ต.บางเขียด ปล่อยปลาตะเพียน จำนวน 1 แสนตัว และจุดที่ 3 บริเวณวัดแหลมหาด หมู่ที่ 6 ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ ปล่อยกุ้งก้ามกราม จำนวน 5 แสนตัว”
สำหรับการสร้างปะการังเทียม“ซั้ง”หรือการจัดทำด้วยทางมะพร้าวเพื่อ“สร้างบ้านปลา”ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการมีส่วนร่วมของเครือข่ายอปท.ที่ติดชายฝั่ง และชาวบ้านในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลโดยมีการก่อสร้าง หรือสร้างแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลในพื้นที่ชายฝั่งการวางแนวปะการังเทียมนี้เป็นการพัฒนาแหล่งทำการประมงชายฝั่งให้อุดมสมบูรณ์ เป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพในด้านการประมงที่สามารถพึงพาตนเองได้
ประโยชน์ของซั้งทางมะพร้าวช่วยเป็นแหล่งที่พักอาศัย เปรียบเสมือนบ้านของปลาและสัตว์น้ำนานาชนิดไว้เป็นที่หลบซ่อนภัยจากนักล่า ที่สำคัญเป็นที่วางไข่เพาะขยายพันธุ์ลูกหลานได้เป็นอย่างดี ไม่ถูกรบกวนจากสัตว์ใหญ่ซั้งปะการังเทียมจากทางมะพร้าวเป็นวัสดุต้นทุนต่ำ อยู่ในทะเลได้หลายเดือน หากจุดวางซั้งไม่มีคลื่นลมแรงอยู่ได้นานเป็นปีๆ ช่วยให้ปลาเข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้น ชาวบ้านชุมชนชายฝั่งที่เข้มแข็งเข้าใจและตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหารจึงร่วมมือร่วมใจกันทำซั้งทางมะพร้าวเป็นประจำทุกปี
การบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์ การฟื้นฟูและการเฝ้าระวังการทำลายระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดสงขลาที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงคืนชีวิตและความสมบูรณ์ให้กับทะเลชายฝั่งเท่านั้น แต่สะท้อนถึงความมั่งคงทางอาหารที่ชุมชนชายฝั่งสามารถพึงพาตนเองได้ หากรับรู้ เข้าใจ มีความตระหนักการอนุรักษ์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: