ความสำเร็จหลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มสธ.บ่มเพาะพัฒนานักศึกษาปริญญาเอกรุ่น 1 ตามหลักสูตร 3 ปี นำร่อง 8 งานวิจัยรุกขับเคลื่อนสู่การพัฒนาท้องถิ่น บริการวิชาการทางสังคมออนไซท์-ออนไลน์ภายใต้โครงการพลังนวัตกรรมการสื่อการเพื่อการปกครอง ลุยพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เทศบาลเมืองแม่เหียะ ต้นแบบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อบจ.เชียงใหม่ ความสำเร็จการสื่อสารการบริหารองค์กรว
นายวิศิษฎ์ เกตุรัตนกุล ในฐานะประธานโครงการพลังนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการปกครอง นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดเผยว่าทีมงานนักศึกษา 8 คนได้ระดมความคิดเห็นร่วมนำความรู้จากการวิจัยเพื่อบริการวิชาการแก่สังคม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับ เทศบาลเมืองแม่เหียะ ต้นแบบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ องค์การบริหารจังหวัดเชียงใหม่ ความสำเร็จจากการสื่อสารบริหารองค์กร กิจกรรมดังกล่าวจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2565 นี้
ข่าวน่าสนใจ:
- ลำปางเก๋งแหกโค้งชนเสาไฟขาดคนขับรอดปฏิหารย์
- จัดกิจกรรม โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน พื้นที่ อ.คลองหาด
- เพชรบูรณ์ - ว่าที่ผู้สมัครชิง ส.อบจ.เพชรบูรณ์หน้าใหม่ บุกหนักขยันลงพื้นที่
- พร้อมรับสมัครเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภา อบจ.พังงา เชิญชวนคนดีมีความสามารถมาสมัคร 23-27 ธันวาคมนี้
นายวิศิษฎ์กล่าวว่าในวันที่ 2 กันยายน บริการวิชการสู่สังคมหัวข้อที่น่าสนใจของนักศึกษาปริญญาเอก 8 คน 8 เรื่องประกอบด้วย 1). พลังการสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือขององค์กรกับชุมชนในพื้นที่ นายวิศิษฎ์ เกตุรัตนกุล 2) กลยุทธ์การนำเสนอนโยบายผ่านสื่อพื้นบ้าน โดย นางสาววนภรณ์ จักรมานนท์ 3) การพัฒนาแกนนำทางการสื่อสาร โดย นายทวีรัตน์ เลาหทัยชนก 4) หลักการการออกแบบสาร โดย นายนิสิต ท่อแก้ว 5) การสื่อสารในยุคดิจิทัล โดย นายสันติภาพ เพิ่มมงคลทรัพย์ 6) การสื่อสารภาพลักษณ์ผู้นำท้องถิ่น โดย นางมณี ศรีสมุทร 7) ถอดบทเรียนความสำเร็จการใช้นวัตกรรมการสื่อสารกับประชาชน โดย นายสรชัต สุจิตต์ และ8) ไทยรู้สู้โควิดเพื่อการสื่อสารในภาวะวิกฤตโควิด 19 โดย นางสาวณิษาพัชร์ ประสงค์มงคล
“นอกจากจากการ่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลเมืองแม่เหียะ และการบรรยายแบบออนไซต์แล้ว ในวันที่ 3 กันยายน 2565 เวลา 13.00-15.00 น. สัมมนาออนไลน์ผ่าน MS-Team โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น การจัดกิจกรรมบริการวิชาการทางสังคมในครั้งนี้เพื่อกลุ่มเป้าหมายผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักการเมือง และผู้สนใจทั่วไป”
นายวิศิษฎ์ย้ำว่าการบริการวิชาการสู่สังคมร่วมกับท้องถิ่นในครั้งนี้ได้รับคำปรึกษาและการให้คำแนะนำจาก รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้วประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ดร.กานต์ บุญศิริ ร่วมขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพราะนอกจากการเรียนรู้ตามหลักสูตรแล้วยังมุ่งเน้นการนำวิทยาการการสื่อสารเสริมสร้างและพัฒนาสังคม พัฒนาคุณภาพงานร่วมกับภาคีเครือข่ายด้วยงานวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้ในโลกยุคใหม่รับการเปลี่ยนแปลง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: