X

มสธ.ถอดบทเรียนจากงานวิจัยสู่โลกใหม่บน Microsoft Team สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา

มสธ.สร้างมิติใหม่ถอดบทเรียนองค์ความรู้จากงานวิจัย นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นลงพื้นที่ทม.แม่เหียะ-อบจ.เชียงใหม่รุกบูรณาการสื่อสารร่วมพัฒนาท้องถิ่นสร้างความเข้มแข็งแบบยั่งยืน พร้อมต่อยอดการบริการวิชาการเพื่อสังคม กลุ่มเป้าหมายทั้งใน-นอกประเทศให้ความสนใจเกินเป้าร่วมฟังผ่านทาง Microsoft Team อย่างคึกคัก

“ยินดีกับความสำเร็จการรวมพลังของนักศึกษาในหลักสูตร ปริญญาดุษฏีบัณฑิต แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุ่นแรกที่รวมพลังร่วมศึกษาค้นคว้าและพัฒนางานวิจัยจนสำเร็จตามเป้าหมาย ที่สำคัญกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเป็นการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยมาประยุกต์ใช้กับเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมสู่ความเข้มแข็งแบบยั่งยืน ผลจากความสำเร็จในครั้งนี้ทางหลักสูตรยังคงพัฒนารูปแบบ และกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนางานวิจัยการพัฒนาสังคมรับการเปลี่ยนแปลงต่อไป” ความมุ่งมั่นตั้งใจของรองศาสตราจารย์ ดร. วิทยาธร ท่อแก้ว  ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการฝึกประสบการณ์ตามหลักสูตร ปริญญาดุษฏีบัณฑิต แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา นำโดย รศ.ดร. วิทยาธร ท่อแก้ว  ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร เข้าศึกษาดูงานการสื่อสารการบริหารจัดการที่ดีองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 1 กันยายน  ได้รับเกียรติจาก นายนาวิน สินธุสอาด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงาน

การศึกษาดูงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการบรรยายให้ความรู้ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม จากโครงการนวัตกรรม “การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและเว็บไซต์รายงาน สถานการณ์ฝุ่นควัน PM 2.5 เพื่อสนับสนุนงานบริหารลดความเสี่ยงและผลกระทบจังหวัดเชียงใหม่” โดยเปิดโอกาสให้มีการซักประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่ประสบความสำเร็จ ที่ใช้การสื่อสารข้าไปมีส่วนช่วย ในการบูรณาการสื่อเวปไซต์ แอฟพลิเคชั่น เครือข่ายผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ภาคประชาชน เครือข่ายส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัเญหาและพัฒนาท้องถิ่นอย่างบรรลุเป้าหมาย

นายนาวิน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยให้ฟังอย่างน่าสนใจว่า อบจ.ในฐานะศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอำเภอทั้ง 25 อำเภอ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนบริหารสั่งการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน

“ทุกพื้นที่บริหารจัดการเชื้อเพลิงภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ตามระบบ Fire-D เพื่อไม่ให้เกิดการลุกลาม พร้อมทั้งให้แต่ละอำเภอที่พบเหตุไฟไหม้ลุกลามที่ไม่สามารถควบคุมไฟได้ รีบแจ้งต่อศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันจังหวัดเชียงใหม่ทันที การบริหารจัดการเชื้อเพลิงผ่านระบบ Fire-D ขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 แบบบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมเตรียมหาแนวทางรับมือปัญหาไฟป่าและหมอกควันในปีถัดไป”

การลงพื้นที่เป้าหมายวันที่ 2 กันยายน ณ เทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากการศึกษาดูงานยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการกองต่าง ๆ กลุ่มแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนทั้ง 10 หมู่บ้าน โดยนายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ พร้อมทีมที่ปรึกษา หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ในช่วงเช้าเป็นการศึกษาดูระบบการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และในช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอผลการวิจัยของนักศึกษาทั้ง 8 คนเพื่อการประยุกต์ใช้การสื่อสารเพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะกลุ่มผู้เข้าร่วมรับฟังแกนนำเครือข่ายชุมชนให้ความสนใจตอบข้อซักถามร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างคึกคัก

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่อปท.แม่เหียะได้รับเกียรติจากนายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ บอกเล่าเรื่องราวแนวคิดหลักการบริหารจัดการเมืองให้ฟังอย่างน่าสนใจว่าเมืองแม่เหียะเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด การบริหารจัดการเมืองต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชนแบบยั่งยืน ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงการบริการที่มาตรฐาน การนำเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาพัฒนา จึงมุ่งมั่นขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) นอกจากรางวัลต้นแบบท้องถิ่นดิจิทัล จากสำนักนายกรัฐมนตรี แห่งเดียวของประเทศหลังจากที่เทศบาลเมืองแม่เหียะได้คิดค้น และปรับใช้เทคโนโลยี มาดำเนินงานในการบริหารงานและบริการประชาชน โดยทีมพัฒนาของเทศบาลแม่เหียะเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 และพัฒนาต่อเนื่องมาเพื่อใช้บริหารงานและให้บริการประชาน และเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันได้พัฒนาในด้านต่างๆ อย่างเต็มที่ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต การศึกษาวัฒนธรรม

และในวันที่ 3 กันยายน การระดมองค์ความรู้จากงานวิจัยของนักศึกษาเพื่อบริการวิชาการแก่สังคมในระบบออนไลน์ภายใต้โครงการพลังนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการปกครอง โดยจัดกิจกรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านทาง Microsoft Team ช่วงเวลา 08.30-11.30 น.มีผู้บริหารท้องถิ่น​ นักปกครองท้องถิ่น นักวิชาการ นักศึกษา ​และผู้ที่ให้ความสนใจทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์​เพื่อรับฟังรับชมและร่วมซักถามอย่างอบอุ่นร่วม 200 คน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ