“แก้ปัญหารวดเร็วกว่า ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ใช้กลไกเครือข่ายภาครัฐ เอกชนและประชาสังคม แบบบูรณาการ เป็นเข็มทิศการพัฒนาสงขลาก้าวหน้าเป็นจังหวัดชั้นนำ เข้าใจปัญหา มีแนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น นอกจากการบริหารด้านการพัฒนา การเร่งให้การ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนช่วงฤดูมรสุมเป็นเรื่องสำคัญ” คำกล่าวด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของนายไพเจน มากสุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
ในช่วงฤดูมรสุมเมื่อเกิดพายุและมีฝนตกหนัก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาพร้อมภาคืเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงที โดยการบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 37 หน่วยงาน ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา อำเภอเมืองสงขลา อำเภอสิงหนคร กองกำกับการ 7 ตำรวจน้ำสงขลา และหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ ภาคเอกชน ในจังหวัดสงขลา “รวมพลังร่วมสร้างสุข”
ข่าวน่าสนใจ:
นอกจากความพร้อมของกำลังพล ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ บุคลากร เพื่อให้การปฏิบัติการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่อย่างเต็มที่ด้วย “ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน” องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา การสร้างขวัญและกำลังใจในลักษณะเกาะติดสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง การลงพื้นที่พบปะ เยี่ยมเยียนให้กำลังใจมอบเครื่องอุปโภค-บริโภค และเร่งให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป็นภาพการทำงานเชิงรุกของ ผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่ “ไพเจน มากสุวรรณ์” นายกอบจ.สงขลา ภายใต้แนวคิด“แก้ปัญหารวดเร็วกว่า ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน”
ล่าสุดการลงพื้นที่ของ “ไพเจน มากสุวรรณ์” นายกอบจ.สงขลา ได้ให้ความช่วยเหลือ นายสุภัทร์ อุบลรัตน์ ประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ที่บ้าน เลขที่ 167/1 ม.5 ในพื้นที่ ต.สทิงหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา เป็นผู้บกร่องทางการได้ยิน ได้รับความเดือดร้อนบ้านพักอาศัยโดนลมพายุพัดถล่มเสียหายทั้งหลัง จนไม่สามารถพักอาศัยได้ เร่งให้ความช่วยเหลือ โดยมอบเงินเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนด้วยงบส่วนตัวจำนวน 30,000 บาท เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และนำไปเป็นทุนซ่อมแซมบ้านให้กลับมาพักอาศัยได้ตามเดิม การทำงานที่สะท้อนแนวคิด“แก้ปัญหารวดเร็วกว่า ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน” “รวมพลังร่วมสร้างสุข”
“การลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และบริหารงานการขับเคลื่อนศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน กรณีอุทกภัย วาตภัยและดินถล่ม สร้างความมั่นใจในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเต็มที่ ศูนย์ดังกล่าวเป็นการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายที่มีความพร้อมด้านเครื่องจักร ยานพาหนะ และกำลังพล ในช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์ สงขลา มีพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมีพื้นที่ติดกับทะเลอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา ทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยเป็นบริเวณกว้าง อาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ปัจจุบันภัยพิบัติที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย การฟื้นฟูภายหลังการเกิดภัย และการช่วยเหลือเร่งด่วน” นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: