เหลียวหลัง 40 ปีนิเทศศาสตร์มสธ.นวัตกรรมความสำเร็จการเรียนการสอนทางไกล มองหน้าความท้าทายคนรุ่นใหม่ยุคดิจิทัลเปิดโอกาสการเรียนรู้เพื่อคนไทยทั่วโลก
ความยิ่งใหญ่อันทรงคุณค่าเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี แห่งการสถาปนาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มสธ. 16 ตุลาคม 2567 การเรียนการสอนทางไกลด้วยนวัตกรรมการเรียนการสอน ในปีนี้ผู้บริหารสาขานำโดย ผศ.ดร.กานต์ บุญศิริ ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ (คณบดี) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บอกเล่าให้ฟังอย่างน่าสนใจว่า จากอดีตถึงปัจจุบันและก้าวสู่อนาคตที่มั่นคงด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาการเรียนรู้ด้วยระบบทางไกล ปีนี้พิเศษด้วยกิจกรรมสำคัญอันอบอุ่นทรงคุณค่ามีสาระ โดยภาคเช้าจะมีพิธีทำบุญ ภาคบ่ายมีการเสวนาทางวิชาการ สามารถเข้ารับฟังได้ทั้งแบบเผชิญหน้าและออนไลน์
หากเหลียวหลังนิเทศศาสตร์ มสธ.ทางไกล หลักสูตรที่ท้าทายคนรุ่นใหม่ ด้วยทิศทางการพัฒนาการเรียนการสอน สะท้อนถึงการเติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในวงการนิเทศศาสตร์ไทยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ทั้งการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การปรับปรุงหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง “โดยเฉพาะความร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมสร้างนักสื่อสารรุนใหม่ยุคดิจิทัลในการสนับสนุนไปแล้ว 120 ทุน และโครงการ 40 ปี 40 ทุนเพื่อขยายต่อการสนับสนุนทุนวิจัยในระดับปริญญาโทพร้อมเปิดตัวในโอกาสครอบ 40 ปี” ผศ.ดร.กานต์ บุญศิริ
การพัฒนาการเรียนการสอนทางไกลในสาขานิเทศศาสตร์ที่ มสธ. การเรียนทางไกลเป็นวิธีการเรียนที่เน้นการศึกษาด้วยตัวเอง มีทีมคณาจารย์ผู้เชียวชาญที่ทรงคุณวุฒิให้คำปรึกษาแนะนำอย่างต่อเนื่อง มีแผนและกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น เอกสารประกอบการเรียน วิดีโอ และสื่อดิจิทัลอื่น ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้เรียนทั่วประเทศและก้าวใหม่เพื่อคนไทยทั่วทุกมุมโลกด้วยหลักสูตรที่สอดคล้องตามความต้องการของผู้เรียน
ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ (คณบดี) ย้ำว่า“ทิศทางในอนาคตนิเทศศาสตร์มสธ.ทางไกลเปิดโอกาสให้คนไทยที่อยู่ในต่างแดนทั่วโลกที่สนใจการพัฒนาศักยภาพตลอดชีวิตได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ศึกษาต่อ ด้วยระบบการเรียนการสอน หลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนหลากหลายอาชีพ ภายใต้แนวคิดสำคัญ ที่ไหน เวลาใด ใครก็เรียนได้ที่มสธ.ทั้งหลักสูตรประกาศนียบัตร หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต และหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต ที่มีความพร้อม”
ความท้าทายของนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัลการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีผลต่อการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์ จึงมุ่งเน้นการปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัล เช่น การใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและการศึกษาที่ก้าวหน้า ซึ่งเป็นความท้าทายที่ผู้สอนและผู้เรียนในรุ่นใหม่ต้องเผชิญและปรับตัว
“ก้าวย่างความสำเร็จ 40 ปีนิเทศศาสตร์มสธ.วันนี้ผมขอขอบคุณประธานสาขาทุก ๆ ท่าน วางแนวทางการพัฒนาฐานรากที่มั่นคงในวันนี้ซึ่งมีความพร้อมก้าวสู่อนาคตที่ยังยืนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง เป็นการเรียนรู้จากความสำเร็จและก้าวสู่ความท้าทายต่าง ๆ อย่างมั่นคง ผมมุ่งมั่นถักทอจุดยืนอันเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนระบบทางไกล โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะต่างๆ ที่มีความชำนาญการในงานด้านสื่อสารมวลชนเป็นพิเศษ ด้วยการวางแผนและเตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนในอนาคต โดยมีเป้าหมายในการสร้างคนรุ่นใหม่ที่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ และการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดสำคัญ การเปิดโอกาสให้คนไทยทั่วโลกได้เรียนรู้”
ความสำคัญของการศึกษาแบบเปิดนิเทศศาสตร์ มสธ. ยังคงยึดมั่นในแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต และการเปิดโอกาสให้กับผู้เรียนที่อาจไม่มีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาแบบดั้งเดิม การศึกษาทางไกลจึงไม่เพียงแค่เปิดกว้างทางด้านสถานที่ แต่ยังเปิดกว้างทางด้านแนวคิดและโอกาสในการเรียนรู้ด้วย
“การสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถด้านนิเทศศาสตร์หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ มสธ. คือการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ในยุคใหม่ ให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในวงการสื่อสารอย่างมีจริยธรรม”
นิเทศศาสตร์ของ มสธ. เน้นย้ำถึงความสำคัญของการศึกษาแบบเปิดและทางไกลในการสร้างคนรุ่นใหม่ที่พร้อมเผชิญกับความท้าทายของยุคดิจิทัล การทบทวนอดีตและเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อความก้าวหน้าในด้านการศึกษาและการสื่อสารในประเทศไทย ความสำเร็จและความท้าทายที่สาขาวิชานิเทศศาสตร์มสธ.ถือเป็นหลักยึดคือการเป็นผู้นำในการศึกษาแบบเปิดและการศึกษาทางไกลได้รับการยอมรับในฐานะผู้บุกเบิกการศึกษาทางไกลในประเทศไทย โดยมีระบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่นและเปิดกว้าง ทำให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงความรู้ได้จากทุกที่ทุกเวลา และไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม
การพัฒนาสื่อการสอนที่หลากหลายและทันสมัย สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มสธ. ได้พัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น เอกสารประกอบการเรียน วิดีโอการสอน สื่อดิจิทัล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีออนไลน์ในการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์การเรียนที่มีคุณภาพ การสร้างนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานในสายงานนิเทศศาสตร์ที่มีคุณภาพ ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างผู้เรียนที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในสายวิชานิเทศศาสตร์ ทำให้ มสธ. ผลิตบัณฑิตที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในงานสื่อสารได้หลากหลายด้าน เช่น การสื่อสารมวลชน การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา และการสื่อสารองค์กร
ผศ.ดร.กานต์ กล่าวถึงถึงความท้าทาย การปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในยุคดิจิทัลการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ นิเทศศาตร์มสธ.ได้ปรับตัวอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของนักศึกษาในยุคปัจจุบัน การสร้างประสบการณ์การเรียนที่เชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ แม้การเรียนการสอนทางไกลจะมีข้อได้เปรียบในด้านความยืดหยุ่น แต่การสร้างประสบการณ์การเรียนที่เชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติยังคงเป็นความท้าทาย เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสเข้าถึงการฝึกปฏิบัติจริงและการเรียนรู้จากกรณีศึกษาในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานในสถานการณ์จริง
“จะเห็นได้ว่าในวันนี้ได้สร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับสถาบันอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา นิเทศศาสตร์ มสธ. ได้สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงองค์กรวิชาชีพในสาขานิเทศศาสตร์ เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับนักศึกษาในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์”
ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ย้ำให้ฟังอย่างน่าสนใจในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานว่า ในยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความต้องการทักษะใหม่ ๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การตลาดดิจิทัล และการจัดการสื่อออนไลน์ เป็นสิ่งที่สาขาต้องมุ่งเน้นในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้มั่นใจว่าบัณฑิตที่จบออกมามีทักษะที่ตรงกับความต้องการของตลาด ตลอดจนการพัฒนาความเชื่อมั่นในคุณภาพของการศึกษาแบบเปิด นิเทศศาสตร์ มสธ. จึงมุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากภาคธุรกิจและสังคมในวงกว้าง
ความสำเร็จของนิเทศศาสตร์ มสธ. มาจากการสร้างระบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่นและเข้าถึงได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัวให้ทันกับยุคดิจิทัลและการพัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน การมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมการสอนและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ มสธ. สามารถก้าวผ่านความท้าทายเหล่านี้ไปได้และคงความสำเร็จไว้ต่อไปในอนาคต
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: