X

“พิษณุโลกจะยิ่งใหญ่ ถ้าเราตั้งใจร่วมกันพัฒนา”

“พิษณุโลกจะยิ่งใหญ่  ถ้าเราตั้งใจร่วมกันพัฒนา”  “เศรษฐา”ขันอาขา รวมพลังชาวพิษณุโลกทุกเครือข่ายร่วมกันขับเคลื่อน เมืองที่ได้ชื่อว่าสี่แยกอินโดจีนก้าวสู่ศูนย์กลางเชื่อม เศรษฐกิจและการท่องเทียวสร้างงานสร้างรายได้มิติใหม่แบบยั่งยืน

“จุดเด่นของคนพิดโลก คือ ประชาชนภาคส่วนต่าง ๆ มีความเข้มแข็งและมีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมพัฒนาเมืองผ่านแนวคิดต่างๆ สมกับคำว่าเมืองบริการหลากหลาย ในด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ภาคผู้ประกอบกิจการ การค้า นักธุรกิจท้องถิ่น เป็นพลังเครือร่วมการพัฒนาศูนย์กลางเชื่อมด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ซึ่งเรามีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายที่มีศักยภาพ”

เศรษฐา กิตติจารุรักษ์ บอกเล่าถึงแนวคิดการพัฒนาเมืองพิษณุโลกด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของเมือง มีขีดความสามารถของเครือข่ายภาคประชาชนร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง นับเป็นโอกาสที่เขาจะขับเคลื่อนให้กิจกรรมต่างๆ เกิดความต่อเนื่องและเข้มแข็งจากโอกาสการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เศรษฐกิจการค้าอันทรงคุณค่า เพื่อให้การท่องเที่ยวเกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

“พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา…นี่คือคำขวัญของ “จังหวัดพิษณุโลก” หรือเมืองสองแคว เมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเจริญรุ่งเรืองมายาวนานตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย จึงทำให้ที่นี่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายน่าไปสัมผัส ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นจุดเด่นและความเข้มแข็งสำคัญในการต่อยอดการพัฒนาแบบยั่งยืน”

เมืองพิษณุโลกพื้นที่ภาคกลางตอนเหนือ หรือภาคเหนือตอนล่าง พื้นที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งมีภูมิศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ไทยจึงมีความได้เปรียบประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ในด้านของการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์และการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอาเซียนเชื่อมโยงเศรษฐกิจจีน (ประชากร 1.34 พันล้านคน) และอินเดีย (ประชากร 1.24 พันล้านคน) ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่

หากมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างประเทศ ปรับปรุงถนนและพัฒนาการขนส่งทางรถไฟ ซึ่งจะช่วยกระจายความเจริญไปยังภูมิภาค สู่พื้นที่บริเวณแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศตามระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออกตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงระหว่างเมืองเมาะละแหม่ง ประเทศเมียนมาร์ผ่านแม่สอด ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สะหวันนะเขต สปป.ลาว และสิ้นสุดที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม และระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) เชื่อมโยงระหว่างนครคุนหมิง ประเทศจีน ผ่านเชียงรายที่อำเภอแม่สายและเชียงของ และไปสิ้นสุดที่กรุงเทพมหานคร

โดยระเบียงเศรษฐกิจในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 2 เส้นทาง ดังกล่าวมีจุดตัดในประเทศไทย ที่จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดตากเป็นศูนย์กลางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า “สี่แยกอินโดจีน” ที่เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะโอกาสของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ทำให้เกิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ ที่กระทรวงคมนาคมได้กำหนดให้เป็น เมืองหลักหรือเมืองที่เป็น ศูนย์กลางในปัจจุบัน คือ จังหวัดพิษณุโลกและนครสวรรค์เมืองประตูการค้าชายแดน (Gateway) คือ จังหวัดตากและเมืองระดับรองซึ่งมีประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

“พิษณุโลกจะยิ่งใหญ่  ถ้าเราตั้งใจร่วมกันพัฒนา”สี่แยกอินโดจีนศูนย์กลางเชื่อมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวแห่งอาเชี่ยน” ความมุ่งมั่นและตั้งใจของ เศรษฐา

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ