ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มสธ.หรือ STOU. POLL เผยผลมสธ.โพลล์ 2 เรื่องที่ประชาชนชอบการหาเสียงเลือกตั้ง ไม่โจมตีพรรคอื่น และเสนอนโยบายพรรคของตนเอง
การหาเสียงของพรรคการเมืองและนักการเมืองเพื่อให้ประชาชนได้ไปใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกส.ส.ปี 62 ในช่วงโค้งสุดท้ายแต่ละพรรคเข้มข้น เพราะส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนก่อนเข้าคูหากาเบอร์หย่อนบัตรเลือกตั้งในอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 ดังนั้นการใช้กลยุทธ์การหาเสียงเลือกตั้งจึงมีความหมายสำหรับผู้ที่สนใจการสื่อสารที่เกี่ยวกับทางการเมือง เนื่องจากการเลือกตั้งเป็นกระบวนการคัดคนเข้าไปสู่ระบบการเมืองเพื่อการปกครองและการบริหารประชาคมทั้งประเทศ ภาพลักษณ์ในการหาเสียงผ่านสื่อนับเป็นความพยายามสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของชัยชนะในการเลือกตั้ง เหนือคู่แข่งขันของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยการลงคะแนนของประชาชนที่เสมือนเป็นผู้รับสารให้หันมาเทคะแนนเสียง
ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว นักวิขาการด้านสื่อสารทางการเมือง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ศึกษาและลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมการกำหนดจัดทำและสื่อสารนโยบายวิสัยทัศน์ทางการเมืองและการบริหารซึ่งค้นพบชัยชนะจากสนามการเลือกตั้งที่น่าสนใจ คือการกำหนดและการสื่อสารนโยบายและวิสัยทัศน์ เพราะนโยบายทางการเมืองที่ผู้บริหารองค์กรทางการเมืองหรือผู้รับสมัครเลือกตั้งได้กำหนดไว้เพื่อให้สาธารณชนหรือผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้รับทราบเพื่อประกอบการรับรู้ เข้าใจ ยอมรับ และตัดสินใจสนับสนุนทางการเมือง
ในขณะที่วิสัยทัศน์ทางการเมืองและการบริหารซึ่งเป็นการสะท้อนมุมมองไปข้างหน้ามองสิ่งที่ต้องการให้ไปข้างหน้าในระยะหนึ่งของผู้ลงรับสมัครรับเลือกตั้งยังเป็นแนวทางสำคัญและท้าทายที่ดีทำให้ได้รับความนิยมทางการเมือง ส่งผลต่อภาพลักษณ์เชิงบวกของผู้มีวิสัยทัศน์ที่ดี มีข้อค้นพบที่สำคัญเช่นการการคิดอย่างแยบยล แหลมคม และรอบครอบ มองผลที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในแต่ละด้าน เข้าใจง่ายและจดจำง่าย กินใจ น่าสนใจ ชวนติดตาม และที่สำคัญวิสัยทัศน์นั้นทำให้เกิดขึ้นจริงจริงได้
นอกจากงานวิจัยภาคสนามจากการเลือกตั้งในสนามการเมืองต่างๆ อย่างต่อเนื่องแล้วการติดตามปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคมภายใต้ชื่อ “มสธโพลล์”STOU. POLL: ด้วยบทบาทการดำเนินการสำรวจของศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม หรือ“มสธโพลล์”STOU. POLL: ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศภายใต้หัวข้อต่างๆ อย่างต่อเนื่องทำให้ค้นพบการสื่อสารจากปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมเพื่อการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาและพัฒนา โดยเฉพาะการดำเนินการสำรวจภายใต้หัวข้อ“ประชาชนชื่นชอบพรรคการเมืองหาเสียงแบบใด”
รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ผู้อำนวยการ มสธ. โพลล์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม (STOU. POLL) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ครั้งที่ 34/2562 ระหว่างวันที่ 11-20 มกราคม 2562 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 16,330 คน เป็นชาย 8,845 คน (54.16%) หญิง 7,485 คน (45.84%) เกี่ยวกับ “ประชาชนชื่นชอบพรรคการเมืองหาเสียงแบบใด” ผลการวิเคราะห์ดังนี้
1.ประชาชนชื่นชอบพรรคการเมืองหาเสียงของแบบใด
1.ไม่โจมตีพรรคการเมืองอื่น ร้อยละ 95.08
2.เสนอนโยบายพรรคของตนเอง ร้อยละ 93.98
2.ประชาชนชื่นชอบนโยบายแบบใดในการหาเสียงของพรรคการเมือง
1.เสนอแก้ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพ รายได้ของประชาชน ร้อยละ 96.44
2.เสนอแก้ปัญหาราคาพืชผลการเกษตรอย่างเป็นระบบ ร้อยละ 95.32
3.เสนอแก้ปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด ร้อยละ 95.12
4.เสนอแก้ปัญหาสังคมปลอดภัย ร้อยละ 95.06
5.เสนอแก้ปัญหาการศึกษาชาติ ร้อยละ 94.88
6. เสนอแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 94.64
7.เสนอแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ร้อยละ 93.86
8.เสนอแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 93.82
เพื่อประโยชน์กับประชาชน พรรคการเมืองต่าง ๆ ต้องทำการบ้านมาก ๆ
รองศาสตราจารย์ดร.วิทยา ท่อแก้ว นักวิชาการด้านสื่อสารทางการเมืองที่คว่ำหวอดบนเส้นทางงานวิจัยทางด้านการเมืองและสังคมมานานกว่า 30 ปีทั้งการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะบทบาทการทำงานภายใต้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ด้วยโครงการพัฒนาวิจัยต่างๆ การอบรม ที่ปรึกษาด้านการวางแผนเชิงนโยบาย การให้บริการวิชาการแก่สังคม
นอกจากนี้ยังเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ รองรับสังคมยุคดิจิทัล ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของผู้นำทางการเมืองด้วยศาสตร์ว่าด้วยการสื่อสารจากการขับเคลื่อนการเปิดหลัก หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชา นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมือและการปกครองท้องถิ่น เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ด้านสื่อสารยุคใหม่ที่มุ่งเน้นงานวิจัยและการประยุกต์ใช้ ล่าสุดได้ผลักดันและพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น Doctor of Philosophy Program in Communication Innovation for Political and Local Administration โดยหลักสูตรนี้ผ่านการอนุมัติจากสภาวิชาการแล้ว และเสนอให้สภามหาวิทยาลัยเห็นชอบในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ “การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ใหม่ๆในด้านการสื่อสารจะเป็นทางออกหรือคำตอบของการทำงานทางการเมืองและการปกครองในยุคดิจิทัล ที่ไหน เวลาใด ใครก็เรียนได้”
การเลือกตั้งส.ส.มีความสำคัญต่อคนไทยผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่ต้องไปทำหน้าที่ของตนในการเลือกบุคคลเป็นผู้แทนไปทำหน้าที่แทนตนในการปกป้องผลประโยชน์ และดูแลทุกข์สุขของประชาชนรวมทั้งบริหารงบประมาณของประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทย
การเลือกตั้งแต่ละครั้งพรรคการเมืองต่างพยายามคิดกลยุทธ์การหาเสียงเลือกตั้งให้สอดคล้องกับนโยบายของพรรคเพื่อที่จะดึงความสนใจของประชาชนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนให้คล้อยตามและเห็นด้วยกับแนวความคิดของพรรค นโยบายต่างๆ ที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียงจึงถูกสร้างสรรค์ไม่ว่าจะเป็นแผ่นป้ายหาเสียง การโฆษณาตามสื่อต่างๆ เพื่อทำ ให้ผู้รับสารรู้สึกพึงพอใจถ้าได้พรรคการเมืองนั้นได้เข้ามาบริหารประเทศแต่ประชาชนอย่างเราๆ ก็ไม่สามารถทราบได้เลยว่าแท้จริงแล้ว พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีวัตถุประสงค์กลใดกันแน่ในการชูนโยบายต่างๆ เพื่อต้องการให้ไปถึงเป้าหมายนั้น ก่อนใกล้ที่จะมีการเลือกตั้งแน่นอนทุกพรรคจะต้องใช้สื่ออย่างหนักเพื่อทำให้ได้ความถี่เป็นที่ต้องการเพื่อให้ประชาชนจดจำ และรับรู้ถึงนโยบายและสโลแกนของพรรค
กระนั้นคนไทยทุกคนเรียนรู้อย่างเข้าใจ และที่สำคัญต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างอิสระ โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ เลือกตั้งส.ส.วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น.รับบัตรใบเดียวกาเบอร์เดียว ได้ผลสามอย่าง การเลือกตั้งใหม่ในรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560 เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: