ปรากฏการณ์ในยุคดิจิทัลทุกวงการต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง“อุตสาหกรรมท่องเที่ยว” กลายเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก เพราะไม่เพียงแต่สามารถเพิ่มช่องทางรายได้ให้กับประเทศ ยังต่อยอดธุรกิจในหลายภาคส่วน พร้อมกับการจ้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ประชาชน และเป็นความท้าทายศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องรับมือ
ใกล้วันหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์คงต้องพูดถึงเรื่องการท่องเที่ยว สิ่งที่น่าสนใจคือการท่องเที่ยวเทรนใหม่ในยุคดิจิทัล พบว่าในการออกเดินทางแต่ละทริปของทุกคนมีเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป การท่องเที่ยวยุคใหม่หรือท่องเที่ยวเทรนใหม่ยุค 4.0 มักเป็นการเดินทางเพื่อหาคำตอบ การเดินทางเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ มีการใช้นวัตกรรมการสื่อสารใหม่ๆ โดยมีความตระหนักรู้ตามบริบทในแต่ละแหล่งท่องเที่ยว แต่ละประเทศที่เดินทางไปมากขึ้น โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมในจุดหมายต่างๆ ก่อนที่พวกเขาจะตัดสินใจว่าจะเดินทางไปเยือนเสมอ
ความท้าทายที่ส่งผลต่อหน่วยงาน บุคลากรที่เกี่ยวข้องในด้านการท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง’ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวสามารถดึงความได้เปรียบของทุนทางธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีในท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้แก่คนในชุมชน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของผู้นำในท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะเจ้าบ้านที่ต้องเตรียมความพร้อมรับมือการท่องเที่ยวเทรนใหม่
ผลการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สำหรับบุคลากร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง”การขับเคลื่อนการทำงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ภายใต้การกำกับดูแลโดยรองศาสตราจารย์ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ผู้อำนวยการโครงการ และในฐานะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และอาจารย์ดร.กานต์ บุญศิริ รองผู้อำนวยการโครงการ สำหรับโครงการดังกล่าวนับเป็นอีกโครงการที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จจนประสบความสำเร็จและพร้อมขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องต่อไป
รองศาสตราจารย์.ดร.วิทยาธร ย้ำว่าศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการพัฒนาศักยภาพของผู้นำจึงได้จัดบริการวิชาการในหลักสูตร “พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สำหรับบุคลากร ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง” สำหรับบุคคลากรองค์กรสังกัดปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง และองค์กรไปสู่การบรรลุสัมฤทธิ์ผลตามภารกิจที่มุ่งหวังเสริมสร้างวิสัยทัศน์ การเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์รองรับการเปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันอุตสากรรมการท่องเที่ยวได้กลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของโลกไปแล้ว เป็นที่ยอมรับว่าเกือบทุกประเทศในโลกนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เจริญเติบโต จนกลายเป็นสินค้าหลักในระบบการค้าระหว่างประเทศอย่างรวดเร็ว และในหลายประเทศอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมอยู่ในอันดับที่1-3 ของ 10 อันดับแรกในอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศนั้นๆอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยนั้น มีชื่อเสียงในเรื่องการท่องเที่ยวมาก ด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและเหมาะสมกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและหลากหลาย มีทั้งแบบเชิงธรรมชาติ ทะเล ภูเขา น้ำตก เชิงศิลปวัฒนธรรมที่มีทั้งวัดวาอาราม พระราชวัง โบราณสถานต่างๆ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่ตอบสนองวิถีคนเมือง อย่างบรรดาแหล่งซ็อปปิ้ง สถานบันเทิง สปา ประกอบกับการบริการที่เป็นมิตร เอกลักษณ์ของคนไทยที่มีความอ่อนโยนทำให้ชาวต่างชาติประทับใจ โรงแรม รีสอร์ตไทยหลาย ๆแห่งก็มีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งค่าครองชีพที่หากเทียบกับประเทศอื่นแล้วถือว่าไม่สูงมากนัก และยังมีระบบการสื่อสารและสาธารณูปโภคที่ค่อนข้างมีความพร้อม หากเทียบกับประเทศใกล้เคียง จึงทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกว่า 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของGDP ของประเทศเลยที่เดียว
ในขณะนี้มีนักท่องเที่ยวทั่วโลกให้ความสนใจและเดินทางมาเที่ยวในประเทศไทยและประเทศในแถบอาเซียนมากขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในแถอาเซียนยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอีกมาก ทำให้แต่ละประเทศสมาชิกเริ่มตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสถานการณ์แข่งขันที่มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นความท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ ดังนั้นจึงต้องพัฒนา บุคคลากรและผู้ประกอบการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะอยู่รอดในภาวะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่มีแนวโน้มว่าจะมีการแข่งขันสูง
“เป้าหมายสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สำหรับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของศูนย์วิจัยเพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาการบริหารอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในการบริหารอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศและภูมิภาคอื่น เป็นการเสริมสร้างสมรรถนะและเตรียมความพร้อมในการแข่งขันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน”
หลังจากการศึกษาดูงานและเข้าอบรมตามหลักสูตรแล้วบุคคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีประสบการณ์และวิสัยทัศน์ด้านการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีความรู้ความสามารถในด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว สำหรับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน รวมไปถึงการบริหารจัดการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในเรื่องการตระหนักและร่วมมือวางแผนจัดการ เตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไข ตลอดจนการพัฒนาภาษาต่างประเทศสำหรับการสื่อสาร ที่สำคัญบุคคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ประสบผลสำเร็จในต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าพัฒนาและก้าวหน้าระดับสากล เพื่อการนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตนเองได้
รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร กล่าวอีกว่าศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มสธ. ยังมีหลักสูตรการฝึกอบรมในลักษณะนี้อีกหลายหลักสูตร เช่น การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์องค์กรในยุค 4.0 พลังสื่อใหม่ในการสื่อสารองค์กร 4.0 การเขียนข่าวและเผยแพร่ข่าวในยุคดิจิตัล และนวัตกรรมการสร้างเครือข่ายการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: