“เปิดโลกแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยผลงานวิจัยระดับชาติ ด้านสื่อสาร” นิเทศศาสตร์ และ สำนักบัณฑิตศึกษา มสธ. ร่วมกับ สถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์สร้างความเข้มแข็งด้วยการจัดประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1
การวิจัยเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ การวิจัยที่มีเป้าหมายแนวทางชัดเจนและตอบสนองต่อความต้องการ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบวิจัยยังต้องให้ความสำคัญกับการจัดทำยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนวิจัย เพื่อเป็นแนวทางการวิจัยให้หน่วยงานวิจัยหรือสถาบันต่างๆ มีทิศทางการวิจัยไปในทางเดียวกัน ที่สำคัญการพัฒนางานวิจัย ต้องวางเป้าหมายว่าไม่ใช่เพียงเพื่อให้ได้มูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเท่านั้นแต่ยังต้องให้คนที่เกี่ยวข้องได้มีการพัฒนาควบคู่ไปด้วยกัน
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงวิชาการด้านการสื่อสารมีการเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษามาเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นจำนวนมากที่ได้สำเร็จการศึกษาและเข้าสู่แวดวงวิชาชีพและวิชาการที่ผ่านมาทางสาขาวิชาฯ ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆและได้รับการยอมรับจากนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมถึงได้รับการตอบรับจากนักวิชาการทางด้านการสื่อสารเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ทางสาขานิเทศศาสตร์ มีความประสงค์จัดการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านการสื่อสาร ครั้งที่ 1ขึ้นในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการในการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการค้นคว้าวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และสามารถใช้เป็นเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในการนำเสนอผลงานในที่ประชุมครั้งนี้ แบ่งรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งเป็น แบบบรรยาย และแบบโปสเตอร์ ซึ่งผู้นำเสนอผลงานและผู้เข้าร่วมประชุม จะได้ใช้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และต่อยอดงานวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
- ผู้กำกับ สภ.บางเสาธง เชิญตัวคู่กรณีทั้งสองฝ่ายพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่รถชนกันแล้วมีอ้างรู้จักตำรวจ
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
“เป้าหมายสำคัญของการจัดเพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัย นักวิชาการและผู้สนใจทั่วไปในการนำเสนอผลงานด้านนิเทศศาสตร์และการสื่อสาร ยิ่งไปกว่านั้นการจัดประชุมนำเสนอผลงานทางวิชาการในครั้งนี้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางด้านการวิจัยและด้านวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารระหว่างนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไปมากยิ่งขึ้น”
รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานคณะกรรมการ หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชา นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น และในฐานะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกล่าวถึงแนวคิดเรื่องการวิจัยให้ฟังอย่างน่าสนใจว่าการวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงที่มีระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือเพื่อนำความรู้ความจริงที่ได้นั้นไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาหรือก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ การเรียนรู้ในยุคปัจจุบันกระบวนการวิจัยมีความสำคัญเพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการเป็นการแสวงหาความรู้ หรือความจริงเพื่อสร้างเป็นกฎ สูตรทฤษฎี ในแต่ละสาขาวิชา และเพื่อนำไปประยุกต์หรือใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ มีจุดมุ่งหมายในการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงปฏิบัติโดยตรง ซึ่งในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคแห่งการพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็วดังที่เป็นอยู่ควบคู่กันไปกับวิวัฒนาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสรรพวิทยาการความรู้ได้มีความจริงซึ่งเป็นที่ยอมรับกันประการหนึ่งว่าความเจริญก้าวหน้าความผาสุกสมบูรณ์และความมั่นคงของชาติขึ้นอยู่กับการศึกษาของคนในชาตินั้น
ดังนั้นการศึกษาและการวิจัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการศึกษาและวิจัยด้านสื่อสาร ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีขอบข่ายงานที่กว้างเพราะสังคมและเป็นเรื่องของทุกคน แต่การศึกษาของบ้านเมืองใดจะดีมีมาตรฐานเพียงพอเป็นฐานรองรับ การพัฒนาประเทศนั้นก็คือสามารถใช้เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิตได้การสร้างพัฒนาการความเจริญในแง่ของการพัฒนากำลังคน มีความสุขสมบูรณ์ในชีวิต หรือภาวการณ์ที่นักศึกษาเรียกว่า การมีชีวิตที่ดี แต่ความมุ่งหวังดังกล่าวจะสำเร็จหรือเป็นจริงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญคือการมีสถาบันการศึกษาและครูอาจารย์ที่มีคุณภาพดี มีการประยุกต์บูรณาการข้ามศาสตร์และมีรูปแบบวิธีการเรียนรู้พร้อมกับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ ที่สำคัญสามารถต่อยอดและสร้างสรรค์จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
สำหรับการจัดงานประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1นี้ ทางสาขาวิชานิเทศศาสตร์ และ สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ร่วมกับ สถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ ดำเนินการและรับผิดชอบ โดยผลงานที่นำเสนอกำหนดไว้ดังนี้.1) เป็นผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการ ที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการที่ยังไม่เคยตีพิมพ์หรือนำเสนอผลงานดังกล่าวเสนอในการประชุมวิชาการใดมาก่อน 2) การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ในที่ประชุมโดยใช้เวลาในการนำเสนอ 15 นาที หรือนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ผู้นำเสนอผลงานจะต้องอยู่ประจำที่โปสเตอร์ของตนในช่วงเวลากำหนด ทั้งนี้ผู้นำเสนอจะนำเสนอโดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ และ3) โดยมีข้อกำหนดในการเสนอผลงานคือ
(3.1 )ผู้ต้องการเสนอผลงานทั้งแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ ต้องส่งบทความฉบับเต็ม (Full Paper) พร้อมชำระค่าลงทะเบียนเสนอผลงาน
(3.2 ) การเตรียมบทคัดย่อ บทความภาษาไทย ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทความภาษาอังกฤษ ให้มีเฉพาะบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ความยาวของบทคัดย่อไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (ตาม Template)
(3.3) การเตรียมบทความฉบับเต็ม (Full Paper) ให้เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ความยาว 8-15 หน้ากระดาษ A4 นับรวมรูปภาพ ตาราง และ Reference โดยภาษาไทย/ภาษาอังกฤษใช้อักษรแบบ TH SarabunPSK ขนาด 14 point และให้ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ (และกรอบแนวคิด ถ้ามี) ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะและเอกสารอ้างอิง
บทความฉบับเต็มที่แก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความแนะนำจะถูกรวบรวมเป็น Proceedings ของการประชุมในรูปสื่อ CD-ROM และหากผลงานนั้นผู้วิจัยนำเสนอด้วยตนเอง ตามวันและเวลาที่กำหนดในการประชุมครั้งนี้ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 ของกระทรวงศึกษาธิการ
พลังแห่งการเรียนรู้ พลังแห่งการวิจัย บนเวทีการประชุมนำเสนอผลงานระดับชาติ นับเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งจะได้รับจากการเชื่อมโยงบูรณาศาสตร์แขนงต่างๆ จากผลงานหลากหลายจากปรากฏการณ์ทางสังคมซึ่ง สามารถเชื่อมโยงกับศาสตร์ต่างๆได้โดยไม่แยกส่วนจนเกิดเป็นความรู้เข้าใจตามความเป็นจริงว่าสัมพันธ์ทั้งหมด และการเรียนรู้ในตัวผู้เรียนรู้จนนำไปสู่การลงมือปฎิบัติจริงด้วยตนเอง หรือจากการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยกระบวนการคิด ทบทวน และรวบรวมข้อมูลความรู้หรือประสบการณ์ พร้อมทั้งวิเคราะห์วิจารณ์ทุกแง่มุมจนทำให้เกิดความเข้าใจในการคิดแก้ปัญหาพร้อมต่อยอด อย่างสร้างสรรค์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: