“การพัฒนาเมืองเก่าสงขลาเราคำนึงถึงรากเหง้าและวิถีความเป็นอยู่ที่ให้คงเอกลักษณ์คู่กับการพัฒนาเพราะธรรมชาติได้มอบลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งมาให้ เมืองสงขลามองดูคล้ายคาบสมุทรขนาดย่อมที่พื้นดินถูกขนาบข้างด้วยทะเลสาบสงขลาและทะเลอ่าวไทย จนได้ชื่อว่า “ดินแดนแห่งสองเล” มีชายหาดทอดยาวสวยงาม อาหารการกินที่อร่อย”
มนเสน่ห์ที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสืบสานกันอย่างยาวนาน มีอาคารบ้านเรือนที่มีสถาปัตยกรรมโบราณและวิถีชีวิตชุมชนที่มีเอกลักษณ์เป็นหลักฐานปรากฏชัดเจน ทำให้ เมืองเก่าสงขลา ถูกยกให้เป็น 1 ใน 3 จังหวัดในภาคใต้ที่เป็นเมืองมรดกของชาติไปสู่มรดกโลก
การมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น มีความสำคัญต่อการพัฒนา ดังนั้นการเปิดโอกาสให้ให้ประชาชนร่วมกำหนดนโยบาย วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับคือ พลังแห่งความร่วมมือสู่ความสำเร็จ เพื่อยกระดับเทศบาลนครสงขลา เข้มแข็ง ก้าวหน้าเท่าเทียมนานาอารยะประเทศสร้างฐานรากแห่งนครสงขลาให้เป็นสังคมอุดมปัญญา พัฒนาแบบยั่งยืนและระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
“ความสำเร็จการพัฒนาเมืองไม่ได้มาจากผู้นำเพียงคนเดียว ความร่วมมือร่วมใจกัน ซึ่งถือว่าเป็นความโชคดีของผมที่มีทีมงาน และกลุ่มเครือข่ายผู้มีความสามารถมาร่วมคิดร่วมทำ การผลักดันและเปิดเมืองเก่าสงขลาก้าวสู่มรดโลกมีเครือข่ายหลากหลายที่ร่วมมือกัน”
ช่วงปีที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสการอนุรักษ์เมืองเก่าขึ้นในเมืองสงขลา มีโครงการและกิจกรรม เกิดขึ้นมากมายภายในเมือง ส่งผลให้เมืองสงขลาถูกพูดถึงและโดดเด่นขึ้นมามาก กิจกรรมที่ เกิดขึ้นเริ่มทำให้ผู้คนในเมืองหันมาตระหนักถึงคุณค่าประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรมของเมือง และที่สาคัญการเตรียมความพร้อมของเมืองสงขลาก้าวสู่การเป็นมรดกโลก ซึ่งภาคประชาชนใน พื้นที่จังหวัดสงขลามีบทบาทอย่างยิ่ง
การพัฒนาเมืองสงขลาเปิดเมืองรับสิ่งใหม่ๆ ด้วยการท่องเที่ยว แต่ยังคงรากเหง้าของวิถีชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ อาคารบ้านเรือนที่เป็นไปตามเทศบัญญัติ ความพร้อมทั้งจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยมุ้งเน้นการนำเสนอวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมย่านเมืองเก่าที่มีอายุ กว่า 200 ปี เป็นจุดขายดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวทั่วสารทิศ การผลักดันย่านเมืองเก่าสงขลาไปสู่มรดกโลก ปรับภูมิทัศน์เมืองให้สวยงาม ด้วยการนำสายไฟฟ้าลงดิน และระบบสายอื่น ๆ ไว้ในท่อรวมฝังในพื้นถนนสายต่างๆบริเวณย่านเมืองเก่า นอกจากนี้ยังกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่
“ขณะที่เราต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ในอีกมิติหนึ่งกลับเป็นโอกาสสำหรับพี่น้องชาวสงขลาบ่อยาง เนื่องจากเราเป็นเมืองเก่าอันทรงคุณค่ามีแหล่งท่องเที่ยวมากมายในพื้นที่ เป็นต้นทุนที่สามารถดึงเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวมากระตุ้นเศรษฐกิจเมืองสงขลาและสร้างรายได้ให้กับประชาชนนอกจากนี้เป็นโอกาสสำหรับลูกหลานชาวสงขลาบ่อยางได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนบ้านโดยไม่ต้องไปไกลถึงต่างประเทศ อันจะส่งผลให้เด็กมีทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้น มีมุมมองที่แตกต่าง เติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพ สามารถพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศด้วยทุนในท้องถิ่นอย่างมีคุณค่าและมูลค่า”
นอกจากฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยแหล่งท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมอัตลักษณ์“ย่านเมืองเก่า” ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเมืองแล้ว การพัฒนาเมืองยังเน้นไปที่ระบบการศึกษาของเด็กเยาวชนและประชาชนเป็นหลัก ได้ส่งเสริมและสร้างศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นในการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ น่าเที่ยว โดยมีการอบรมให้ความรู้ทางด้านวิชาการแก่บุคลากร และการศึกษาดูงานการบริหารจัดการด้านการศึกษา เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ไปต่อยอดการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ คือให้ความสำคัญ “คน”อันจะนำมาซึ่งเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน รวมถึงด้านโครงสร้างพื้นฐานเนื่องจากเป็นตัวชี้วัดความเจริญของคนในพื้นที่
ไม่เพียงเท่านั้นยังเน้นหนักในเรื่องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมและสร้างสรรค์แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ โดยเน้นแนวคิดเมือง 3 วัฒนธรรมดังจะเห็นได้ว่าวันนี้ตั้งแต่เดินทางสู่เมืองสงขลามีซุ้มประตูเมืองสงขลาที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ถัดมาเมื่อมาถึงหาดเก้าเส้ง หาดสมิหลาและชลาทัศน์ก็มีภูมิทัศน์ใหม่ที่สวยงามมีลานชมวิวและมีร้านค้า ร้านอาหารที่แลดูเป็นระเบียบและได้มาตรฐาน หากเข้ามายังโซนย่านเมืองเก่าก็จะพบกับถนนไร้เสาไฟฟ้า มีความโดดเด่นทั้งสถาปัตยกรรม และมุมถ่ายภาพที่มีการจำลองวิถีชีวิตของคนบ่อยางในอดีต
นอกจากนี้ยังมีอุทยานการเรียนรู้นครสงขลา สำหรับนักท่องเที่ยวและประชาชนที่เข้ามาเที่ยวมาชมสามารถศึกษาเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากเทคโนโลยีสื่อการเรียนรู้หลากหลาย ความสำเร็จที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากแรงสนับสนุนจากหลายๆ ฝ่าย ตลอดจนเจ้าหน้าที่และพี่น้องประชาชน ที่เป็นเสมือนฟันเฟืองขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่เป้าหมาย นั่นคือคุณภาพชีวิตที่ดี ที่ยั่งยืน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: