X

มสธ.รุกกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว

การลงปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดสตูล-ตรังของทีมคณาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มสธ. นำทีมโดย รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว รศ.ดร.บุษบา สุธีธร รศ.ดร.ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ ศรีดี ผศ.ดร.เสาวนี ชินนาลอง อ.ดร.หัสพร ทองแดง อ.ดร.กานต์ บุญศิริ พร้อมบัณฑิต นักศึกษา และเจ้าหน้าที่สาขาวิชานิเทศศาสตร์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้หลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นจากศูนย์การศึกษาสงขลา ศูนย์การศึกษาทุ่งหว้า-สตูล และศูนย์การศึกษานนทบุรีรวมถึงเครือข่ายในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องภายใต้กิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชน ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2562 พลังการสื่อสาร พลังสังคม พลังการพัฒนา

รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิตแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น กล่าว่าการบริการวิชาการแก่ชุมชนมุ่งเน้นการเรียนรู้ยุคใหม่ใส่ใจการพัฒนาท้องถิ่นการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนด้วยศาสตร์ด้านการสื่อสารหลากหลายมิติ หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิตแขนงนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่เสริมสร้างสมรรถนะนักสื่อสารพันธุ์ที่สามารถนำวิชาการสู่การปฏิบัติงานจริงได้“พลังสื่อสาร พลังสังคม พลังการพัฒนา”ถอดบทเรียนจากฐานการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อพัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนาสังคมได้อย่างน่าสนใจ

“การบริการวิชาการวิชาการแก่ชุมชนเป็นการสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับท้องถิ่นต่างๆ ทั้งนี้เพื่อนำไปประยุกต์ในในการพัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนาสังคม จากการถอดองค์ความรู้การลงพื้นที่ในแหล่งเรียนรู้จากฐานปฏิบัติการต่างๆ เพื่อสร้างความ เข้าใจในความหลายหลายทางวัฒนธรรม และแบ่งปันประสบการณ์ รับรู้ เข้าใจการใช้และการจัดการสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการพัฒนาอย่างเท่าทัน สามารถบริหารจัดการเทคโนโลยี เรียนรู้เทคนิควิทยาการต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณ และสามรถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น”

บริการวิชาการแก่ชุมชน กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การใช้สื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าชุมชน ฐานปฏิบัติการที่ 1 โดยผู้นำกลุ่มนักศึกษาศูนย์การศึกษานนทบุรี ณ ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านท่าข้ามควาย ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลบูรณาการนวัตกรรมการสื่อสารทางการปกครองท้องถิ่นเพื่อจำหน่ายสินค้าชุมชน

การถอดบทเรียน พบว่าความสำเร็จของชุมชนบ้านท่าข้ามควายกว่าจะมาถึงวันนี้ คือความร่วมมือของคนในชุมชน ความมีจิตสาธารณะ สำนึกรักษ์บ้านเกิด และที่ภาคภูมิใจของคนในชุมชนคือการกระจายรายได้ให้คนในชุมชนเป็นเจ้าของบริหารจัดการร่วมกัน ภายใต้จุดเด่นคือ การทำเศรษฐกิจพอเพียง และการสื่อสารตามอัตลักษณ์ของบ้านท่าข้ามควาย ที่มีป่า เขา นา เล ซึ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเพื่อสามารถถ่ายทอดข้อมูลให้กับที่เข้ามาในชุมชนและเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง

บริการวิชาการฐานปฏิบัติการ2  การจัดการขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วม”โดยผู้นำชุมชนจากกลุ่มนักศึกษานศม.ศูนย์การศึกษาทุ่งหว้า โดยมีเครือข่ายร่วมทำกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเด็กๆ และเยาวชน จากตำบลขอนคลาน การสื่อสารในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ภายใต้หัวข้อ1.การใช้สื่อเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชน ของเด็กนักเรียน ประถมศึกษา 2.หลักการพูดในรูปแบบสุนทรพจน์ นักเรียนประถมศึกษา3. หลักการเขียนเรียงความเพื่อการรณรงค์ ฯ เด็กนักเรียนประถมศึกษา และ3. หลักการสื่อสารด้วยคลิปรณรงค์การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ถอดบทเรียน พบว่าการสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและสังคม การสื่อสารเมื่อถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยเฉพาะบทบาทของการใช้สื่อเพื่อสร้างความเข้าใจในขอบเขตของสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นแก่การการสร้างการมีส่วนร่วมการพัฒนาสังคมและพัฒนาท้องถิ่น การสื่อสารเพื่อขยายขอบเขตของสิ่งแวดล้อม สามารถใช้สื่อและรูปแบบการสื่อสารได้หลายประเภท สื่อที่มีศักยภาพตอบสนองความต้องการพัฒนาและสร้างบรรยากาศที่สร้างความเข้าใจได้ดีแก่ผู้รับสารให้มีมุมมองใหม่ ท่าทีใหม่ ความหมายใหม่ต่อปรากฏการณ์ทางสังคม การรณรงค์โดยประชาชนให้มีส่วนร่วม

เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิตซาไกเทือกเขาบรรทัด เรียนรู้จากแหล่งชุมชน การจัดการท่องเที่ยวชุมชนถ้ำเลสเตโกดอน กลุ่มนักศึกษา นศม.ศูนย์ศึกษาสงขลา ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล บริการวิชาการ “รวมพลังรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”ฐานปฏิบัติการที่ 3 โดยกลุ่มนักศึกษา นศม.ศูนย์การศึกษาสงขลา ณ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ศึกษาวิถีซาไก ในพื้นที่หมู่ 7 บ้านคีรีวง จากนั้นเรียนรู้ธรรมชาติ ถ้ำเลสเตโกดอน เป็นถ้ำที่อยู่ติดทะเล และมีน้ำทะเลท่วมขังตามการขึ้นลงของน้ำทะเล จึงเรียกว่าถ้ำเลและยังเป็นถ้ำเลที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย เพราะมีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร ภายในถ้ำเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อยที่งดงาม

บริการวิชาการแก่ชุมชน “รวมพลังรักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม” ฐานปฏิบัติการที่ 4 กลุ่มนักศึกษาบัณฑิตปริญญาเอกมสธ. ตำบลขอนคาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ที่น้ำตกธารปลิวในพื้นที่หมู่ 10บ้านธารปลิว ธรรมชาติน้ำไหลออกจากถ้ำขนาดใหญ่แผ่กระจายลงมาบนลานหินปูนกว้างเป็นภาพสวยงามด้วยบรรยากาศร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ มีสะพานไม้ทอดยาวไปถึงตัวน้ำตกเป็นจุดชมวิวร่มรื่นไปด้วยเงาไม้ เพราะสภาพป่ายังอุดมสมบูรณ์ อาจจะเหลือไม่กี่แห่งแล้วในประเทศไทย

ถอดบทเรียน จากฐาน 3-4 พบว่าการสื่อสารมีบทบาทเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในตำบลทุ่งหว้า จากกิจกรรมต่างๆ ในฐานเรียนรู้ที่ 3 พบกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว ในกระบวนการสื่อสารที่น่าสนใจจากบทบาทและหน้าที่ของผู้นำในท้องถิ่น ทั้งเจ้าหน้าที่ท้องที่ท้องถิ่นและภาคประชาชนซึ่งอยู่ในรูปของคณะกรรมการชุมชน หรือผู้นำกลุ่มการให้บริการด้านท่องเที่ยว เช่นไกด์ท้องถิ่น ประมงพื้นบ้าน ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็น แนะนำแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน การสื่อสารกิจกรรมการท่องเที่ยว ล่องเรือโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนล่องเรือ รวมถึงการให้บริการนักท่องเที่ยวอื่นๆ กลุ่มคนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนทั้งในฐานะเจ้าบ้านที่ดีเพื่อต้อนรับผู้มาเยือน  และผู้ส่งสารในฐานะสื่อบุคคลที่มีประสิทธิภาพ

ฐานปฏิบัติการที่ 5 เรียนรู้แหล่งชุมชนวิถีกับวัฒนธรรมอาหารชาวตรัง บริการวิชาการแก่ชุมชน “สื่อสารดี มีความสุข”โดยกลุ่มคณาจารย์นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในพื้นที่ เทศบาลตำบลควนกุน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เรียนรู้จากแหล่งชุมชน “รวมพลังจากมสธ.ร่วมจัดการขยะหาดปากเมง ร่วมกับองค์การบริหารตำบล.ไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ถอดบทเรียนจากฐานที่5 พบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบทบาทของผู้นำยุคใหม่กับแนวคิดใส่ใจการให้บริการ การมีส่วนร่วมของชุมชนการสื่อสารสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชน

การเรียนรู้ยุคใหม่มุ่งเน้นเพื่อพัฒนาคนในฐานะพลเมืองที่มีความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตอย่างสมดุลมีทักษะและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีภาวะผู้นำสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เน้นการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้มีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย บ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ ปลูกจิตสาธารณะยึดประโยชน์ส่วนรวม นำไปปฏิบัติ มุ่งสร้างการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นการเรียนรู้ใหม่ในยุคใหม่ จากกิจกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนของหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในครั้งนี้ได้มุ่งเน้น การพัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนาสังคม ด้วยพลังการสื่อสาร พลังสังคม พลังการพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ศาสตร์ด้านการสื่อสารเพื่อพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างน่าสนใจ

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ