X

มสธ.บ่มเพาะอาสาท้องถิ่นดูแลผู้สูงวัย

พัฒนา “คน”และเครือข่ายภาคประชาชน รับมือการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นำร่องอบรมพัฒนาศักยภาพสมาชิกเครือข่ายอาสาในท้องถิ่นสตูลและผู้ที่สนใจด้วยหลักสูตรการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงวัย

การอบรมเครือข่ายอาสาภาคประชาชนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจสังคมผู้สูง เพราะการพัฒนาสังคมคือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ สังคมผู้สูงวัยในปัจจุบัน โดยเฉพาะสูงวัยในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ยังมีความเหลื่อมล้ำและข้อจำกัดในเรื่องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความเข้าใจของลูกหลานหรือบุคคล ชุมชนและสังคม ปรากฏการณ์ทางสังคมต้องใช้บทบาทการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมในชุมชนท้องถิ่น

การจัดตั้งเครือข่ายอาสาภาคประชาชนภายใต้การขับเคลื่อนของศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งร่วมกับเทศบาลเมืองสตูล  “อาสาพัฒนาพิมาน” โดยมีคำขวัญที่เป็นหลักยึดที่ว่า “เมืองพิมานเราร่วมกันดูแล”เพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพสมาชิกและเครือข่ายด้วยองค์ความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามปัญหาและความต้องและการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น เพื่อร่วมกันดูแลคนในท้องถิ่นอย่างน่าสนใจโดยมุ่งเน้นในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกให้มีความรู้ในเรื่องร่วมทำกิจกรรมบริการสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์อื่นๆในชุมชนตามที่เครือข่ายกำหนด การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงวัย เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สมาชิกเครือข่ายต้องการและสนใจพัฒนาศักยภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อให้สมาชิกที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงวัย ประการที่สองสร้างจิตสำนึกการดูแลผู้ป่วยด้วยจิตอาสาที่เสียสละ และประการสุดท้ายสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ของคนในชุมชน

การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนั้นพบกว่า มีสมาชิกเครือข่ายอาพัฒนาพิมาน และผู้ที่สนใจเข้าร่วม กลุ่มนำร่องชุดแรกจำนวน 30 คน ซึ่งทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและเทศบาลเมืองสตูลได้รับการสนับสนุนวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ จากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชน โรงพยาบาลสตูล เป็นการทำงานบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานท้องถิ่น ส่วนราชการ สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน พร้อมพัฒนาศักยภาพเพื่อทำหน้าที่ด้วยความรู้และความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยและสูงวัย สมาชิกชุดแรกที่นำร่องเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการนอกจากได้รับความรู้แล้ว ยังนำความรู้ที่ได้ไปดูแลผู้ป่วยและสูงวัยด้วยทักษะความรู้เบื้องต้นให้กับผู้ป่วยหรือผู้สูงวัยซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวอย่างเข้าใจ และสมาชิกบางรายในกลุ่มมีระบบการจัดการที่ดีสามารถนำไปทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อรับจ้างดูแลผู้สูงวัยซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการมากในขณะนี้

สำหรับศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก่อตั้งและขับเคลื่อนการทำงานโดยรศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ปัจจุบันในฐานะที่ปรึกษาโดยมีผศ.ดร.สุภาภรณ์ ศรีดี คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคมนอกจากการบริการวิชาการแก่สังคม ยังให้บริการแก่หน่วยงานและประชาชนทั่วไป ได้แก่ การฝึกอบรมบุคลากร วิจัย และดำเนินการเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานด้านการบริหาร การบริการ การสื่อสาร การวางแผนประชาสัมพันธ์องค์กร การวางแผนเอาชนะการเลือกตั้งทุกระดับ การสำรวจความนิยม เวทีประชาคม ชุมชนสัมพันธ์ การสื่อสารเพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยเฉพาะสังคมการเรียนรู้ของสังคมผู้สูงวัยจึงเป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาวิจัยและการพัฒนา

ซึ่งในขณะปัจจุบันนี้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมสูงวัยแล้ว เพราะมีสัดส่วนผู้สูงอายุ ร้อยละ 17 ในปี 2562 นี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่สัดส่วนผู้สูงวัยจะมีมากกว่าเด็ก และภายใน 3 ปี ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ คือมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 มีผู้สูงอายุ อายุ 70 ปีขึ้นไป 4.6 ล้านคน และคาดว่าในปี 2583 จะมีผู้สูงอายุมากถึง 20.5 ล้านคน หรือร้อยละ 32 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่ประชากรวัยแรงงานมีเพียง 35.18 ล้านคน เมื่อเทียบกับจำนวนวัยแรงงานในปี 2553 ที่มีอยู่ 42.74 ล้านคน หรือ ลดลง 7.6 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศแน่นอน

จะเห็นได้ว่าจากแนวทางการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่องสังคมสูงอายุ สู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประเด็นที่เป็นสาระที่จะต้องมุ่งเน้นในถ่ายทอดให้เกิดความชัดเจนได้แก่ การขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ บูรณาการการทำงานทุกระดับ การติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะต้องออกแบบกรอบแนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดการบูรณาการตั้งแต่เป้าหมายร่วม กลไกการขับเคลื่อนติดตามการกำหนดบทบาทหน้าที่ของกลไกในทุกระดับ โครงสร้างการบริหารแผนและกลไกที่มีระบบสนับสนุน ระบบบริหารจัดการเพื่อการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงและเป็นระบบ

ผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ และประสบการณ์ เป็นผู้ถึงพร้อมทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า แม้ผู้สูงอายุจะเข้าสู่วันที่ร่างกายอ่อนแอเสื่อมถอยแล้ว แต่ก็ยังพร้อม และสามารถที่จะช่วยเหลือครอบครัวได้  และที่สำคัญการเตรียมความพร้อมของสมาชิกในครอบครัว ชุมชน และสังคมเข้าใจและเตรียมความพร้อมการรองรับและรู้เท่าทันเทคโนโลยี เข้าถึงสิทธิ และสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว รวมถึงใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่ออำนวย ความสะดวกในการดำรงชีวิตให้กับ ตนเองได้ เพื่อลดการพึ่งพาต่อไป ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของคนทุกช่วงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอย่างน้อยจะทำให้บุคคลมีหลักประกัน ที่มั่นคงในยามสูงวัย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ