วันที่ 4 ธ.ค.61 ณ แหล่งสมาคมหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ลพบุรี นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี โรงพยาบาลหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มมูลนิธิ MOA ลพบุรี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอาหารปลอดภัย บริษัทกสิกรรมไร้สารพิษ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก) และกลุ่มเกษตรกร ได้ร่วมกันทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานอาหารอินทรีย์สู่ครัวโรงพยาบาล โดยมีนายบำรุง รื่นบันเทิง รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัดลพบุรี พาณิชย์จังหวัด ประธานกรรมการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีฯ ผู้แทนวิสาหกิจชุมชน ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามในครั้งนี้
โดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของประชาชน มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ พบสาเหตุส่วนใหญ่ของการเจ็บป่วยจากการบริโภค เกิดจากอาหารปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ และสารเคมี อีกทั้งยังพบว่าเนื้อสัตว์บก มีอัตราการตกค้างของยา ปฎิชีวนะ และสารเร่งเนื้อแดงค่อนข้างสูง ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป มีการปนเปื้อนของสีสังเคราะห์ และวัตถุกันเสียสูงเกินค่ามาตรฐาน เนื้อหมูที่ขายในตลาดมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ ซึ่งก่อให้เกิดโรคในคนได้ ผักและผลไม้พบการปนเปื้อนของสารเคมีที่ใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ดังนั้นอาหารจึงเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน
ข่าวน่าสนใจ:
- ชิง ส.อบจ.เพชรบูรณ์ ส่อเดือด! นักการเมืองรุ่นใหม่ทยอยเปิดตัว ท้าชนแชมป์เก่า
- บุรีรัมย์ โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ จัดโครงการ “พัฒนาวิชาการ ส่งเสริมคุณธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี ระดับปฐมวัย”
- เครื่องกั้นรถไฟคลองแขวงกลั่นพังบ่อย ล่าสุดลงปิดขวางถนนนานข้ามคืน
- ทม.หัวหิน จัดเต็ม แสงสีเสียงตระการตา ชวนย้อนวันวานในงาน "113 ปี หัวหินถิ่นมนต์ขลัง"
สำหรับสถานการณ์สารปนเปื้อนในอาหารจังหวัดลพบุรี พบว่า สารบอแรกซ์ ในหมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน ไส้กรอก ผลไม้ดอง สารฟอร์มาลินใน หมึกกรอบ กุ้ง ปู หมูเนื้อแดง สไบนาง(ผ้าขี้ริ้ว) ขิงหั่นฝอย กระชายหั่นฝอย เห็ดหอม ผักกาดขาว หน่อไม้ ยาฆ่าแมลงในผัก ผลไม้ อาหารตากแห้ง เช่น ปลาทูเค็ม ปลาแห้ง เนื้อแห้ง โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือผงซักมุ้ง ใช้เป็นสารฟอกขาว ฟอกสี เพื่อแช่ถั่วงอก ทุเรียนกวน หน่อไม้ ขนมจีน น้ำตาลทรายขาว ล้วนเป็นอันตรายก่อให้เกิดโรคในร่างกาย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้สารชนิดนี้เจือปนในอาหาร เพราะมีความเป็นพิษค่อนข้างสูง โพลาร์ พบในน้ำมันทอดซ้ำ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดหัวใจตีบ
ทั้งนี้ทาง รพ.มีประชาชนใช้บริการจำนวนมากมีความต้องการใช้วัตถุดิบในการประกอบอาหารสำหรับผู้ป่วย และมีร้านอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการทั่วไป จากสถิติของ รพ.สังกัดจังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2561 พบว่า มีผู้ป่วย 71,166 คน จำนวน 329,172 วันนอน มื้ออาหารและค่าใช้จ่ายวัตถุดิบทั้งของสดและของแห้ง ปีละ 30,134,172 บาท ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับอาหารจาก รพ. ดังนั้น รพ.จึงจำเป็นจะต้องผลิตอาหารที่ปลอดภัยแก่ผู้ที่มารับบริการเพื่อไม่ให้ได้รับสารพิษ หรือเชื้อโรคปนเปื้อน ซึ่งก่อให้เกิดโทษต่อผู้ป่วย หรืออาจจะกระทบต่ออาการป่วยที่เพิ่มมากขึ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: