หนุ่มใหญ่วัย 56 ปี ที่ประสบปัญหาภาระหนี้สินจากโรงงานผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ ที่ต้องปิดตัวลงจาก ภาวะค่าเงินบาทลอยตัว ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเป็น 300 บาท ไทยเปิดการค้าเสรี และน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2554 โรงงานถูกน้ำท่วมหนักต้องตัดสินใจปิดกิจการ ครอบครัวและพนักงานเกือบ 100 คน ต้องเผชิญปัญหากับความยากลำบาก ตนเองต้องประกาศขายโรงงานที่ตนเองผูกพันมานานกว่า 20 ปี เพื่อใช้หนี้บางส่วน แต่ก็ยังไม่สามารถปลดหนี้ที่มีมากถึง 100 กว่าล้านบาทได้ ตัดสินใจกลับบ้านเกิดของภรรยา ที่มีที่ดินว่างเปล่าอยู่ประมาณ 27 ไร่ ลงมือขุดบ่อเลี้ยงปลาขาย แต่เห็นว่าการเลี้ยงปลานั้นระยะเวลาเนิ่นนาน กว่าจะได้เงินสักก้อน จึงได้ปรึกษาครอบครัวรวบรวมเงินที่เหลืออยู่ประมาณ 800,000 บาท สร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดไข่บนบ่อเลี้ยงปลา 4-5 เดือน เป็ดออกไข่ไห้ได้เก็บขาย เกิดแรงบันดาลใจไม่มีอะไรดีเท่าการที่ได้ขายไข่เป็ดต่อวัน พ่วงด้วยปลาในบ่อที่ไม่ต้องลงทุนหาอาหาร เริ่มมีทุนต่อเนื่อง ขยายการเลี้ยงเป็ดจาก 1 โรง เป็น 4 โรง และเตรียมตัวสร้างผลิตภัณฑ์จากไข่ของฟาร์มตนเอง ขณะนี้สามารถเรียกคนงานเก่าเข้ามาทำงานที่ตนเองรักได้ จากเครื่องจักรกลโรงงานที่ยังคงอยู่ แม้จะขายโรงงานไปแล้วได้ขอเช่าที่เพื่อประกอบกิจการ และสามารถประกอบกิจการได้แล้ว ส่วนการเลี้ยงเป็ดลูกหลานสามารถดูแลกันได้อย่างมีระบบ ขณะนี้มีความสุขที่ได้ทำงานเดิม มีงานเสริมที่สร้างเงิน สร้างคุณค่ากับครอบครัว
ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่”ฟาร์มแบงค์” ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.บ้านเบิก อ.ท่าวุ้ง ลพบุรี ได้พบกับนายสนั่น บุญมาก อายุ 56 ปี เจ้าของฟาร์มเลี้ยงเป็ด พร้อมด้วยลูก หลานอีก 3 คน ที่กำลังสาละวนอยู่กับการให้อาหารเป็ด เก็บไข่เป็ดที่ตกค้างภายในโรงเลี้ยงที่ 1 ที่เลี้ยงเป็ดอยู่บนบ่อปลานิล ปลาสวาย จำนวน 1,700 ตัว และโรงเลี้ยงที่ 2 อีก จำนวน 3,300 ตัว อย่างมีความสุข และได้พาผู้สื่อข่าวลงไปในเล้าเป็ดที่สร้างด้วยโครงไม้ที่แข็งแรง ยกพื้นโรงเลี้ยงสูงกว่าพื้นน้ำประมาณ 2 เมตร ปูโครงล่างโรงเลี้ยงด้วยไม้ไผ่สาน ใช้ตาข่ายพลาสติกมีรู ปูทับอีกชั้นเพื่อให้เป็ดเดินได้สะดวก และให้ขี้เป็ดไม่ตกค้างบนพื้นโรงเลี้ยง ลงสู่บ่อปลาด้านล่างได้ทันที ด้านหลังโรงเลี้ยงมีช่องทาง 2 ช่อง ทางเดินให้เป็ดลงเล่นน้ำเพื่อคลายเครียด และทำความสะอาดขน ตรงกลางมีการกั้นรั้วสูงประมาณ 50 ซม. ยาวประมาณ 40 เมตร นำกระบะ และฟางข้าวมาปูไว้ให้เป็ดได้วางไข่ โรงเลี้ยงของฟาร์มแบงค์ ทั้ง 2 โรง สะอาด มีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างดี โดยมีการใช้น้ำฉีดล้าง ทำความสะอาดทุกอาทิตย์
ข่าวน่าสนใจ:
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ชาวบ้านผวา พบเสือ 3 แม่ลูก ป้วนเปี้ยนในป่า 100 ไร่ใกล้ฟาร์มเลี้ยงวัว ไม่กล้าเกี่ยวข้าว-กรีดยาง วอนบุกพิสูจน์
- พ่อค้ายาเกมส์ ซุกยาบ้าในกล่องนมมิดชิด รอส่งพ่อค้ารายย่อย ไม่รู้ตร.ซุ่มกวาดล้าง ถูกรวบพร้อมของกลาง 70 เม็ด
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
สำหรับเป็ดที่ฟาร์มแห่งนี้นำมาเลี้ยงได้ซื้อมาจากเป็ดไล่ทุ่งในพื้นที่ต่างจังหวัด เป็นพันธุ์กากีแคมป์เบลล์ สีดำ สลับน้ำตาล อายุประมาณ 5 เดือน ร่างกายแข็งแรงที่พร้อมให้ไข่ นำมาถ่ายพยาธิ ฉีดวัคซีน และให้วิตามินเป็ดทุกตัวเพื่อความสมบูรณ์เพื่อเร่งให้ไข่ พร้อมทั้งได้นำอาหารเม็ดสำเร็จรูปเทใส่กาละมังรอบโรงเลี้ยงให้กินอย่างเต็มที่ และมีน้ำที่สะอาดผสมกับวิตามินให้เป็ดทุกตัวได้กิน ไม่กี่วันเมื่อเป็ดคุ้นเคยกับเล้า และได้กินอย่างเต็มที่ เป็ดได้เริ่มทยอยออกไข่ ในช่วงแรกสามารถเก็บได้ประมาณ 2,500 ฟอง จนขณะนี้เป็ดแทบทุกตัวจะออกไข่ให้ได้เก็บแทบทุกตัว ประมาณ 4,000 – 4,500 ฟองต่อวัน
น้องธีภพ โตทวี อายุ หรือแบงค์ อายุ 23 ปี น้องพงศธร สีทา หรือตูน อายุ 23 ปี และ น.ส.รุ่งอรุณ โตไว หรือรุ่ง อายุ 40 ปี สามพี่น้องที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการให้อาหาร ปิดเปิดเล้าให้เป็ดได้ลงเล่นน้ำตามเวลา เก็บไข่ในช่วงใกล้รุ่งเช้า และออเดอร์ไข่ที่แม่ค้ามารับถึงที่ ต่างทำงานกันอย่างมีระบบ มีระเบียบ พาดูโรงเก็บไข่ที่นำมาวางใส่รังไข่ไว้ประมาณ 5,000 ฟอง เพื่อรอส่งให้กับแม่ค้า ซึ่งขนาดของไข่ไซส์ใหญ่จะตกฟองละ 4 บาท รองลงมา 3.50 บาท มีรายได้ต่อวันจากการขายไข่ประมาณ 15,000 – 16,000 บาท
นายสนั่น กล่าวว่า ตอนนี้ไม่มีความกังวลเรื่องใดแล้ว ได้ทำงานที่ตนเองรักดังเดิม มีรายได้เสริมจากการเลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา ลูกหลานขยันทำมาหากิน ระยะเวลากว่า 5 ปี ที่ตนเองและครอบครัวได้เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงปลา สามารถปลดภาระหนี้สินได้จนหมด ครอบครัว ลูกหลานมีอาชีพที่มั่นคงแน่นอนแล้ว รายได้ต่อวันหลังหักค่าใช้จ่ายก็ประมาณ 5,000-6,000 บาท ปลานิล ปลาสวาย ที่เลี้ยงไว้จะครบ 11 เดือน อีก 2 บ่อ ก็จะเริ่มทยอยจับได้แล้ว จะมีรายได้ฟรีๆ จากปลาอีกบ่อละประมาณ 2 แสนบาทเลยทีเดียว ซึ่งตนเองจะขยายการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงปลาออกไปอีก 2 โรง ให้ได้เป็ดครบ 10,000 ตัว ไข่วันละ 10,000 ฟอง และเพื่อป้องกันความไม่แน่นอนของตลาด ตนเองจะทำผลิตภัณฑ์จากไข่ในฟาร์มของตนเอง เช่น ไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า ส่งขายตลาดสร้างรายได้อีก 1 ช่องทาง โดยนายสนั่น กล่าวว่า ตนเองและครอบครัวไม่เพียงได้ปลดหนี้กว่า 100 ล้านบาทได้ ขณะนี้ยังมีเงินเก็บ ฝากเงินได้หลักล้านบาทแล้ว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: