ลพบุรี จัดงานวันช้างไทย ประจำปี 2562 ณ ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี ในวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันช้างไทย สืบเนื่องจาก วันที่ 13 มีนาคม 2506 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีมติเลือกให้ช้างเผือก เป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติ เนื่องจากช้างเผือกเป็นสัตว์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณีของไทย รู้จักกันแพร่หลายและมีอายุยืน ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ปะกาศให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย ตามที่คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ เพื่อให้คนไทยและเยาวชนรุ่นหลัง ได้ร่วมกันรำลึกและตระหนักถึงความสำคัญของช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติไทย และพร้อมใจกันอนุรักษ์ช้างไทย ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์และพันธุ์พืช และมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนองพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ช้าง สัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ ภายใต้โครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ ในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 9 พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา โดยเริ่มปล่อยช้างคืนสู่ป่า มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมาเนื่องจากช้างป่าได้หมดไปจากพื้นที่แห่งนี้แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ทำให้ปัจจุบันมีช้างอยู่ในพื้นที่ 31 ตัว(เป็นเพศผู้ 6 ตัว เพศเมีย 25 ตัว ) โดยที่ตัวที่ 25-31 เป็นช้างที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงปล่อย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ซึ่งช่างได้มีการปรับพฤติกรรมและสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ จนออกลูกในพื้นที่ จำนวน 20 ตัว (เป็นเพศผู้ 10 ตัว เพศเมีย 9 ตัว ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ตามโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา และมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ จึงได้ร่วมมือกันจัดทำโครงการ จัดงานวันช้างไทย ประจำปี 2562 ขึ้น ภายใต้แนวคิด “ช้างไทย ช้างป่า ช้างซับลังกา ช้างคู่แผ่นดิน”
วัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 9 เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานด้ายนการอนุรักษ์ช้างของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์และพันธุ์พืชมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ องค์กรภาคเอกชนและชุมชนต่างๆ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมและรณรงค์ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ช้างไทยจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ ชุมชน ตลอดจนเยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นเยาวชน นักเรียนนักศึกษา นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป หน่วยงานราชการ ภาคเอกชนและองค์กรต่าง จำนวน 200 คน
แนวคิดหลัก ช้างไทย ช้างป่า ช้างซับลังกา ช้างคู่แผ่นดิน เพื่อเชิดชูช้างไทยและสะท้อนปัญหาและร่วมหาทางแก้ไข อันจะนำไปสู่การลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างให้สามารถอยู่ร่วมกันได้
ข่าวน่าสนใจ:
สำหรับกิจกรรมในวันนี้ มีการจัดนิทรรศการการอนุรักษ์ช้างของหน่วยงาน การสอบวัดความรู้ ความสามารถด้านการอนุรักษ์ช้างป่า ระดับมัธยมศึกษา 1-3 ประกวดวาดภาพระบายสีช้าง ระดับชั้นประถมศึกษา 2-6 การตอบปัญหาชิงรางวัล เกมส์อนุรักษ์ธรรมชาติ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ Walk Rally นอนพักค้างคืนกางเนท์ชมช้างซักหวาย ปรับปรุงแร่ธาตุอาหารช้าง (โป่งเทียม) กินข้าวป่าชมช้าง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: