สุราษฎร์ธานี-พ่อเมืองคนดีเร่งซ้อมแผนป้องกันอุทกภัย รับมือน้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ย้ำต้องเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่าทางจังหวัดร่วมฝึกศูนย์บัญชาการณ์เหตุจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กรณีอุทกภัย ในรูปแบบการฝึกซ้อมบนโต๊ะ (Table Top Exercise : TTX) ผ่านการประชุมทางไกล ที่ห้องประชุมสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายจำนง สวัสดิ์วงศ์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 19 อำเภอ ร่วมซักซ้อมแผนเผชิญเหตุอุทกภัย
โดยเน้นย้ำหัวใจสำคัญของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คือ การเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น การให้ความรู้/ การเตรียมการ /การศึกษาพื้นที่/ การรักษาความสงบเรียบร้อย /การป้องกันอันตรายในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีการซักซ้อมแผนหรือแนวทางปฏิบัติ มีการบัญชาการเหตุ มอบหมายภารกิจความรับผิดชอบตามคำสั่งที่แต่งตั้ง การประสานขั้นตอนในการปฏิบัติที่ชัดเจน ใคร ทำอะไร อย่างไร มีการสรุปวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด มอบหมายภารกิจหน่วยงานหลัก หน่วยงานสนับสนุน ประสานงานทุกภาคส่วนทั้งส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ถอดบทเรียนเหตุการณ์ที่ผ่านมาเพื่อนำสู่วิธีการปฏิบัติ ซึ่งพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี หลายพื้นที่เคยเกิดเหตุอุทกภัยมาแล้ว และมีความเสี่ยงในการเกิดเหตุได้ตลอดเวลา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการซักซ้อมแผน เพื่อลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน และต้องเข้าถึงการช่วยเหลือฟื้นฟูอย่างรวดเร็วทันท่วงที
ข่าวน่าสนใจ:
ทั้งนี้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ปี 2564 ต้องแจ้งให้อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปรับปรุงแผนเผชิญเหตุให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งกำลังบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกล ให้พร้อมเผชิญเหตุอยู่ตลอดเวลา และจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ระดับอำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์ควบคุม สั่งการ และประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรสาธารณกุศล โดยมอบหมายฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ตลอดจนอาสาสมัครประชาชนจิตอาสาเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สถานที่สำคัญต่าง ๆ และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเมื่อเกิดฝนตกหนักในพื้นที่.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: