ที่บริเวณคลองแม่ทะกลาง หมู่ที่ 27 ต.ประสงค์ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ภาครัฐ / เอกชน ผู้นำชุมชนและชาวบ้านกว่า 500 คน ร่วมแรงร่วมใจลงมือสร้างฝายมีชีวิตขนาดกลางกันอย่างขมักเขม้น หลังจากก่อนหน้านี้เกิดปัญหาภัยแล้งน้ำ ทำให้ลำคลองแม่ทะ บางจุดน้ำแห้งขอดเหลือแต่เนินทราย บางจุดมีน้ำหลงเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มักจะเกิดปัญหาศึกแย่งชิงน้ำระหว่างเกษตรกรด้วยกันในพื้นที่ 6 หมู่บ้านประมาณกว่า 3,000 ครัวเรือนที่ต้องการน้ำที่เหลือจากคลองแม่ทะ ไปรดพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะสวนทุเรียนของตนเอง โดยผู้นำชุมชนพยายามจะหาแนวทางแก้ปัญหาแต่ทำไม่ได้
จนในที่สุด พระชลธาร ถาวโร กาญจนบุตร หัวหน้าพุทธอุทยานสำนักสงฆ์เขาเพ-ลา รักษาการสำนักสงฆ์บ้านไร่ยาว ต้องออกมาเป็นคนกลางใช้ธรรมะยุติความขัดแย้งใช้หลักธรรมะของพระพุทธเจ้าจัดกิจกรรมให้ผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ 6 หมู่บ้านออกมาร่วมแรงรวมใจกันสร้างฝายมีชีวิตขนาดกลางเดินตามรอยศาสตร์พระราชา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งซึ่งเกษตรกรจะได้ใช้น้ำมารดพืชผลทางการเกษตรโดยไม่มีความขัดแย้ง และป้องกันน้ำป่าไหลหลากเมื่อถึงช่วงฝนตกหนัก เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำให้เป็นห่วงโซ่อาหารให้กับชาวบ้านรักษาระบบนิเวศน์อย่างสมดุล
ข่าวน่าสนใจ:
- จุฬาราชมนตรีปล่อยคาราวานถุงยังชีพ 3,000 ถุง ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
- โครงการวิลล่าหรูเกาะสมุยฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคาร ยังปล่อยให้ต่างชาติเช่าวิลล่า
- นายกฯ ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยพื้นที่ภาคใต้ พร้อมสั่งการหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัด นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร…
- องคมนตรี เชิญสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชนผู้ประสบภัยหนาว ในพื้นที่ จ.นครพนม
พระชลธาร ถาวโร กาญจนบุตร กล่าวว่า พื้นที่คลองแม่ทะ มีพื้นที่ติดต่อกันหลายหมู่บ้านด้านบนติดพื้นที่ หมู่ที่ 20 หมู่ 27และหมู่ที่ 23 ด้านล่างติดพื้นที่หมู่ที่ 26 หมู่ที่ 19 และหมู่ที่18 ของตำบลประสงค์ มีชาวบ้านทำการเกษตรปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ต่อมาราคายาง-ปาล์มไม่ดีเกษตรกรจึงโค่นทิ้งหันมาปลูกทุเรียนแทนเพราะราคาสูงแต่ต้นทุเรียนเป็นต้นไม้ที่ต้องการน้ำไปหล่อเลี้ยงจำนวนมาก เมื่อเจอภัยแล้งฝนทิ้งช่วงน้ำในลำคลองแห้งขอดทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ถึงแม้เกษตรกรจะพยายามสร้างฝายแม้วกักเก็บน้ำไว้จำนวน 7 แห่งแต่ไม่เพียงพอ และเกิดการแย่งน้ำกันขึ้นไปสู่ความขัดแย้ง
พระชลธาร ถาวโร กาญจนบุตร จึงต้องมาประสานทุกฝ่ายจัดสร้างฝายมีชีวิตขนาดกลางขึ้นบริเวณนี้ ซึ่งฝายมีชีวิตตัวนี้เป็นตัวที่ 1,001 ของประเทศไทยโดยการสนับสนุนสิ่งของและงบประมาณมาจากชาวบ้านในพื้นที่และผู้มีจิตศรัทธาโดยไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เมื่อสร้างเสร็จแล้วชาวบ้านจะได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: