ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1” สำรวจระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ ทั่วประเทศ จำนวน 2,511 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง โดยสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 พบว่า
บุคคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้
อันดับ 1 ร้อยละ 31.42 ระบุว่า เป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (พรรคอนาคตใหม่) เพราะอยากเห็นคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารบ้านเมือง มีความคิดที่พัฒนาประเทศและเศรษฐกิจได้ดี และชื่นชอบพรรคอนาคตใหม่เป็นการส่วนตัว
อันดับ 2 ร้อยละ 23.74 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะบริหารงานดีอยู่แล้ว เป็นคนตรงไปตรงมา บ้านเมืองสงบไม่วุ่นวาย ช่วยเหลือประชาชนได้จริง และอยากให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
อันดับ 3 ร้อยละ 17.32 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 4 ร้อยละ 11.95 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) เพราะชอบนโยบายพรรคเพื่อไทยและต้องการให้มาช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น อยากให้ผู้หญิงขึ้นมาบริหารประเทศบ้าง และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
อันดับ 5 ร้อยละ 3.90 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริง ทำจริง สามารถพัฒนาให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองได้ และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
อันดับ 6 ร้อยละ 3.46 ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อันดับ 7 ร้อยละ 2.47 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีประวัติด่างพร้อย และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์เป็นการส่วนตัว
อันดับ 8 ร้อยละ 1.08 นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะมีผลงานในการทำงานที่ดี มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และสามารถพัฒนาให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองได้
อันดับ 9 ร้อยละ 0.88 นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) เพราะชื่นชอบนโยบายของพรรค ทำงานสานต่อจากคุณพ่อได้ดี และอยากให้ผู้หญิงขึ้นมาบริหารประเทศบ้าง และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคเศรษฐกิจใหม่) เพราะมีนโยบายพรรคที่ชัดเจน น่าจะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ดี ในสัดส่วนที่ท่ากัน
อันดับ 10 ร้อยละ 0.67 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะมีความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
อันดับ 11 ร้อยละ 0.56 นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะมีผลงานและการทำงานที่ผ่านมาดี มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
อันดับ 12 ร้อยละ 0.47 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) เพราะไม่น่าจะมีเรื่องคอร์รัปชัน และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
อันดับ 13 ร้อยละ 0.40 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (พรรคเพื่อไทย) เพราะเป็นคนที่มีความคิดรอบคอบ และผลงานของพรรคเพื่อไทยดี
อันดับ 14 ร้อยละ 0.32 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) เพราะมีประสบการณ์ในการทำงานที่ยาวนาน
อันดับ 15 ร้อยละ 0.16 นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา)
อันดับ 16 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะมีความมุ่งมั่นในการทำงาน
อันดับ 17 ร้อยละ 0.04 นายอุตตม สาวนายน (พรรคพลังประชารัฐ) เพราะมีผลงานและการทำงานดี, นายกรณ์ จาติกวณิช, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์, นายชิงชัย มงคลธรรม และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เพราะเป็นคนออกมาพูดเรื่องกฎหมายที่ควรจะร่างให้ถูกต้อง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในสัดส่วนที่เท่ากันสำหรับพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า
อันดับ 1 ร้อยละ 30.27 พรรคอนาคตใหม่
อันดับ 2 ร้อยละ 19.95 พรรคเพื่อไทย
อันดับ 3 ร้อยละ 16.69 พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 4 ร้อยละ 13.46 ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย
อันดับ 5 ร้อยละ 10.83 พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 6 ร้อยละ 2.43 พรรคภูมิใจไทย
อันดับ 7 ร้อยละ 2.03 พรรคเสรีรวมไทย
อันดับ 8 ร้อยละ 1.59 ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อันดับ 9 ร้อยละ 0.92 พรรคชาติไทยพัฒนา
อันดับ 10 ร้อยละ 0.48 พรรคเศรษฐกิจใหม่
อันดับ 11 ร้อยละ 0.39 พรรคพลังไทยรักไทย
อันดับ 12 ร้อยละ 0.20 พรรคเพื่อชาติ, พรรคประชาชาติ และพรรคความหวังใหม่ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
อันดับ 13 ร้อยละ 0.08 พรรครวมพลังประชาชาติไทย และพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย
อันดับ 14 ร้อยละ 0.04 พรรคครูไทยเพื่อประชาชน, พรรคชาติพัฒนา, พรรคไทยศรีวิไลย์, พรรคไทรักธรรม และพรรคประชาธิปไตยใหม่ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.84 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.85 อยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.48 อยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.41 อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.42 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ /ตัวอย่างร้อยละ 49.10 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.90 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 6.53 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 15.81 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 20.63 อายุ 36–45 ปี ร้อยละ 33.93 อายุ 46–59 ปี และร้อยละ 23.10 อายุ 60 ปีขึ้นไป /ร้อยละ 21.19 สถานภาพโสด ร้อยละ 74.83 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.86 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.12 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 30.95 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 31.34 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.69 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.05 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.62 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่างร้อยละ 10.12 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.26 พนักงานเอกชน ร้อยละ 21.39 เจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.17 เกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.65 รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.43 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.43 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.04 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร
ตัวอย่างร้อยละ 18.56 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.85 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001–20,000 บาท ร้อยละ 10.16 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001–30,000 บาท ร้อยละ 5.21 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001–40,000 บาท ร้อยละ 6.37 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: