X

ใหญ่ที่สุดในโลก! กฟผ.คิกออฟโครงการ ‘โซลาร์ลอยน้ำแบบไฮบริด’

กรุงเทพฯ – กฟผ. ลงทุน 842 ล้านบาท จัดซื้อ-จัดจ้าง-เดินหน้าโครงการ ‘โซลาร์ลอยน้ำเขื่อนสิรินธร’ โชว์ศักยภาพพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำแบบไฮบริด ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงไฟฟ้า ด้วยพลังงานสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

20 มกราคม 256 พลเอกสมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในฐานะกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญา โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำ สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ ร่วมกับ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร ระหว่าง กฟผ. กับกิจการค้าร่วม บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) และเอ็นเนอร์ยี่ ไชน่า
โดยมี นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. เป็นผู้แทน กฟผ. ร่วมลงนามกับ ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม , นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บี.กริม เพาเวอร์ และ Mr.Wang Xinping ประธานกรรมการ บริษัท China Energy Engineering Group Shanxi Electric Power Engineering จำกัด ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯพลเอกสมศักดิ์ รุ่งสิตา กรรมการ กฟผ. ระบุว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ ร่วมกับ โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี ของ กฟผ. เป็นการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน ระหว่างโซลาร์เซลล์ กับ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ถือเป็นโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ แบบไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย ที่ลดข้อจำกัดความไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียน ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง มีเสถียรภาพ สอดรับกับนโยบายสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของรัฐบาล ตามแผนพัฒนากำลังผลิตพลังไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน (PDP2018) และช่วยให้ประชาชนได้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ลดการพึ่งพาการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า
ด้าน นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าว เป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยระบบผสมผสาน ระหว่างโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำ ที่จะผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ จากเขื่อนของ กฟผ. ที่มีอยู่เดิม โดยนำระบบ (Energy Management System หรือ EMS) มาบริหารจัดการพลังงานทั้งสองประเภท ทำให้สามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อ งเพื่อเสริมความต้องการของระบบไฟฟ้า ในอนาคต ยังสามารถนำระบบกักเก็บพลังงานมาใช้ร่วมกับ โครงการเพื่อสร้างเสถียรภาพ ของพลังงานหมุนเวียนในระบบไฟฟ้า และความมั่นคงทางพลังงานประเทศไทย
โครงการโซลาร์ลอยน้ำเขื่อนสิรินธร มีกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการกว่า 842 ล้านบาท จะใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิดดับเบิ้ลกลาส ที่เหมาะสมกับการวางแผงโซลาร์เซลล์ใกล้ผิวน้ำที่มีความชื้นสูง และมีการเคลื่อนไหวของผิวน้ำอยู่ตลอดเวลา และใช้ทุ่นลอยน้ำชนิด HDPE (High Density Polyethylene) ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดบนพื้นที่ผิวน้ำกว่า 450 ไร่ โดยใช้ระบบส่งไฟฟ้าเดิมร่วมกับเขื่อนของ กฟผ. เช่น หม้อแปลง สายส่ง สถานีไฟฟ้าแรงสูงทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าในอนาคตมีราคาถูก คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน และจะสามารถผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ ในเดือนธันวาคม 2563

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of ลักขณา สุริยงค์

ลักขณา สุริยงค์

ทำหน้าที่สื่อมวลชนมาเกือบ 30 ปี ทั้งงานสายข่าวและจัดรายการทีวี-วิทยุมานับไม่ถ้วน "ไม่เป็นกลาง แต่เป็นธรรม พร้อมนำเสนอความจริง"