กรุงเทพฯ – สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) สนับสนุน quitคนวงการข้าว แปรรูปข้าวเพิ่มรายได้อย่าง
วันที่ 14 มีนาคม 2563 นางสาววรชนาธิป จันทนู รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ร่วมสัมมนา ‘โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาขีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร’ ณ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปข้าว รวมตัวกันใช้เวลาราว 1 ปี ร่วมกันจัดทำมาตรฐานอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปข้าวไม่ว่าจะเป็นอาชีพนักควบคุมและตรวจสอบคุณภาพข้าวสำหรับโรงสี อาชีพซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี อาชีพนักจัดการกระบวนการผลิตข้าว อาชีพนักบริหารจัดการสินค้าคงคลังสำหรับโรงสีข้าว และอาชีพนักบริหารจัดการระบบคุณภาพข้าว รวม 5 อาชีพ
นางสาววรชนาธิป ระบุว่า การแปรรูปข้าวจะเป็นส่วนสำคัญ ที่ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร ล่าสุด ได้หารือร่วมกับ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เบื้องต้นว่า อาจมีการสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับการประเมินสมรรถนะอาชีพบุคคล ซึ่งผู้แทน อ.ต.ก. พูดถึงความสำคัญเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรด้วย
ดังนั้น ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศปลูกข้าว มีปริมาณข้าวที่เหลือจากการส่งออก บริโภคเองภายในประเทศกว่า 5 ล้านตัน การแปรรูปจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ผลิตได้จำนวนมาก และมาตรฐานอาชีพการแปรรูปข้าว จะเป็นเครื่องการันตีบุคคล และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามมาตรฐานสากล ที่สำคัญ สคช. กำลังจะเปิดตัวแอปพลิเคชัน “ปักหมุดมืออาชีพ” จะเป็นอีกเครื่องมือช่วยให้ผู้แปรรูปข้าวเป็นที่ต้องการตัว และสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวได้มากขึ้นด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- ชาวบ้านยังผวา บ้านสไลด์ตกน้ำบางปะกงตามกัน ไม่กล้าออกไปทำกิน
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- นครพนม น้องขวัญ นำทัพกลุ่มนครพนมร่วมใจ เปิดตัว ส.อบจ.นครพนม ทั้ง 30 เขต
ด้าน ดร.สมบูรณ์ ฐิตินันท์สมบูรณ์ อุปนายกและเลขาธิการสมาคมค้าข้าวไทย ยอมรับว่า อาชีพการทำโรงสีเป็นอาชีพที่มีมานาน ที่ผ่านมา อาศัยความชำนาญส่วนบุคคล แต่การจัดทำมาตรฐานอาชีพนี้ จะช่วยให้กลุ่มคนในอาชีพ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่สำคัญ มาตรฐานอาชีพจะช่วยให้ทำงานได้อย่างเป็นขั้นตอน ช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการสูญเสีย แต่กลับช่วยเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ยิ่งคนในอาชีพเข้ารับการประเมินก็จะยิ่งได้ความรู้ที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการก็จะได้ประโยชน์จากการลงทุนด้านความรู้ให้แก่คนทำงานด้วย
ตอกย้ำด้วยความเห็นของ นางจันทิรา ยิมเรวัตวิวัฒน์รัตน์ อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ที่กล่าวว่าตลาดต่างประเทศให้ความสำคัญเรื่องมาตรฐานมาก ยิ่งเราสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานได้รับการการันตีจากภาครัฐ จะยิ่งช่วยเพิ่มมูลค่าเพิ่มโอกาสด้านการลงทุนได้มากขึ้น แม้ต้องอาศัยเครื่องจักรในการทำงาน แต่ก็ต้องอาศัยคนที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อให้ได้ผลิตผลมากในแบบที่เรียกว่า “แปรรูปอย่างมืออาชีพ ทำน้อย แต่ได้มาก”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: