กรุงเทพฯ – ครม.อนุมัติ 8 มาตรการเยียวยาแรงงาน-ผู้มีรายได้น้อย ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ทั้งแจกเงินเดือนละ 5,000 บาท ให้แรงงานนอกระบบประกันสังคม 3 เดือน ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ฯลฯ
วันที่ 24 มีนาคม 2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบ มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 ทั้งช่วยเหลือกลุ่มแรงงานลูกจ้าง และกลุ่มผู้ประกอบการ
โดยกลุ่มแรงงานลูกจ้าง 8 มาตรการ ประกอบด้วย
1.สนับสนุนเงิน คนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน (เม.ย.-มิ.ย.)ให้เงินเยียวยาแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม จากกรณีการปิดพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดชั่วคราว ผ่านการลงทะเบียนแสดงความจำนง ตรวจสอบคุณสมบัติ และการโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น พร้อมเพย์ตามเลขบัตรประจำตัวประชาชน โอนเข้าบัญชีธนาคาร กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์
ข่าวน่าสนใจ:
- บุรีรัมย์ จัดนิทรรศการศิลปะ รักษ์โลก รักเรา จุดพลังเยาวชน ประกวดวาดภาพชิงรางวัล 60,000 บาท (มีคลิป)
- สุดยอดงานกฐินบุญต่อชีวิตคน พระอาจารย์เขียวทอดกฐินสามัคคีจัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินและอุปกรณ์ทางการแพทย์มุลค่ากว่า5ล้านบาท
- สงขลา เมืองชายแดนสะเดา จัดงานลอยกระทงสืบสานประเพณี ชวนมาเลย์เที่ยวไทย
- รมว.ท่องเที่ยว ชวนลอยกระทง "สีสันแห่งสายน้ำฯ" สร้างสรรค์และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
2.สินเชื่อฉุกเฉินวงเงินไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย ไม่ต้องมีหลักประกัน โดยธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สินเชื่อวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.10 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563
3.สินเชื่อพิเศษวงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ต้องมีหลักประกัน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ให้แก่ผู้มีรายได้ประจำ โดยธนาคารออมสิน วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท
4.โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ของสำนักงานธนานุเคราะห์เพื่อช่วยเหลือประชาชน (Soft loan) ปล่อยเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำแก่ สธค. เพื่อให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 0.10 ต่อปี และ สธค. คิดดอกเบี้ยจากประชาชน ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.125 ต่อเดือน ระยะเวลา 2 ปี
5.ยืดระยะเวลาการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เลื่อนกำหนดเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไปเป็นสิ้นสุด 31 ส.ค. 63
6.เพิ่มวงเงินหักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ โดยเพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพจาก 15,000 บาท เป็น 25,000 บาท
7.ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคคลากรทางการแพทย์
8.มาตรการอบรมเสริมความรู้ พิจารณาดำเนินการจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ เสริมอาชีพ รวมถึงนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: