ประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และมีการขยายตัวของเมืองอย่างต่อเนื่อง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ภาคอุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญ ที่จะนำพาประเทศไปสู่การพัฒนา และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ต้องมีระบบสาธารณูปโภคที่ครบครัน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน และยกระดับโครงข่ายระบบไฟฟ้า ให้มีความทั่วถึง เพียงพอ มั่นคง มีเสถียรภาพ และทันสมัย ตอบโจทย์ทั้งต่อภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่อเนื่องและภาคประชาชน โดยเฉพาะในจังหวัดหัวเมืองหน้าด่านอย่าง จังหวัดสมุทรปราการ จีงมีการริเริ่ม ‘โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม)’
ความเป็นมาและเหตุผลความจำเป็น
ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (PDP 2018) กำหนดให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) ประกอบด้วย หน่วยการผลิต 3 หน่วย โดยหน่วยที่ 1 มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี พ.ศ.2569 และหน่วยที่ 2 และ 3มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี พ.ศ.2570
เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักและน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง เพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในเขตนครหลวง และป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างในอนาคต กฟผ. จึงได้ศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) ให้ครอบคลุมขนาดกำลังการผลิตติดต้ังสูงสุดหน่วยละ 830 เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิตติดตั้งสูงสุด ของโครงการฯ ประมาณ 2,490 เมกะวัตต์ ดังนี้
1.โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) หน่วยที่ 1 ขนาดกำลังผลิตติดตั้งสูงสุด 830 เมกะวัตต์ มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ปี 2569
2.โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) หน่วยที่ 2 ขนาดกำลังผลิตติดตั้งสูงสุด 830 เมกะวัตต์มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ปี 2570
3.โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) หน่วยที่ 3 ขนาดกำลังผลิตติดตั้งสูงสุด 830 เมกะวัตต์ มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2570
ที่ตั้งโครงการ
โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) จะตั้งอยู่ในบริเวณโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ที่มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 371 ไร่ 71.1 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ตำบลบางโปรงอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากถนนสุขมุวิท (ทางหลวงหมายเลข 3) ไปทางตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร
มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
♦ทิศเหนือ ติดกับคลองบางฝ้าย และชุมชนบางฝ้าย เขตพื้นที่เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
♦ทิศใต้ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา
♦ทิศตะวันออก ติดกับชุมชนบางโปรง เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางโปรง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
♦ทิศตะวันตก ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางฝ้าย
โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) จะก่อสร้างบนพื้นที่เดิมของโรงไฟฟ้าพระนครใต้ รวมพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ ประมาณ 114 ไร่ โดยจะต้องรื้อถอนโรงไฟฟ้าเดิมออกก่อนการก่อสร้าง โดยการรื้อถอนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ เครื่องที่ 1-5 และโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ชุดที่ 1 กฟผ. จะดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมระยะรื้อถอน ที่ได้กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EHIA) โครงการทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ระยะที่ 2 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ในการประชุมคร้ังที่ 5/2562 วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2562 อย่างเคร่งครัด
ในส่วนการรื้อถอนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ชุดที่ 2จะดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะรื้อถอน ที่จะกำหนดในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EHIA)โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) ต่อไป
การดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
กฟผ. จะดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ส่วนเพิ่ม) หน่วยที่ 1 และหน่วยที่ 2 แทนโครงการทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ระยะที่ 2 ที่ได้รับความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (EHIA) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว ในการประชุมคร้ังที่ 5/2562 วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2562 ซึ่งได้รับอนุญาตที่กำลังการผลิตติดตั้งสูงสุด 1,470 เมกะวัตต์ โดยขอปรับปรุงเพิ่มขึ้นเป็น 1,660 เมกะวัตต์ และเพิ่มหน่วยการผลิตอีก 1 หน่วย (หน่วยที่ 3 กำลังผลิตติดตั้งสูงสุด 830 เมกะวัตต์) เพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (PDP 2018)
อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกำลังผลิตติดตั้ง ของโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ภายหลังมีโครงการฯ จะทำให้ขนาดกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดของโรงไฟฟ้าพระนครใต้ รวมเป็ น 4,519.4 เมกะวัตต์ ซึ่งเข้าข่ายประเภทโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง จึงต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 ที่กำหนดให้โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นระบบพลังความร้อนร่วม ชนิด Combined Cycle หรือ Cogeneration ที่มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้ารวม ตั้งแต่ 3,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง (EHIA) และนำเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังบกล่าว ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอ้ม (สผ.) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนการพิจารณา
การศึกษาครั้งนี้ กฟผ. ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่โดยรอบโครงการ โดยจัดให้มีกระบวนการการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อห่วงกังวล ในการกำหนดขอบเขต และแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ
1.เสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศในเขตนครหลวง และรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าอย่างเพียงพอและมีเสถียรภาพ
2.ลดความสูญเสียของระบบส่งไฟฟ้า อันเนื่องมาจากการส่งพลังงานไฟฟ้าจากภูมิภาค มายังศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้า รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวในการควบคุมและการจ่ายไฟฟ้า
3.เกิดการจ้างงานและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมในพื้นที่
4.ส่งเสริมการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงโรงไฟฟ้า ทั้งด้านการพัฒนาท้องถิ่น การศึกษา สุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ
5.ชุมชนได้ประโยชน์จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพระนครใต้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: