กรุงเทพฯ – ศบค. เปิดข้อมูล ผู้ป่วยโควิด-19 ในไทย เสียชีวิต 0.97% เป็นชายมากกว่าหญิง ช่วงอายุ 50-89 ปี เสียชีวิตมากสุดถึง 17 ราย กทม.มีผู้ป่วยตายมากสุด ป่วยมากสุด 20-29 ปี ย้ำ เว้นระยะห่างกับผู้สูงอายุ
วันที่ 5 เมษายน 2563 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โดวิด-19 (ศบค.) เปิดข้อมูลการวิเคราะห์ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เสียชีวิตในไทย พบว่าตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค.-4 เม.ย.63 มีผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต 20 ราย แบ่งเป็นชาย 18 ราย หญิง 2 ราย ทุกคนสัญชาติไทย คิดเป็นอัตราการป่วยตาย 0.97%
ช่วงอายุ 50-89 ปี เสียชีวิตมากสุดรวม 17 ราย โดยกรุงเทพมหานคร มีผู้ป่วยมากสุดและเสียชีวิตมากสุดรวม 12 ราย
ผู้ป่วยเสียชีวิตอายุต่ำสุด 35 ปี และสูงสุด 84 ปี
ข่าวน่าสนใจ:
ช่วงอายุที่มีผู้ป่วยเสียชีวิตมากสุด คือ 50-59 ปี จำนวนผู้ป่วย 275 ราย เสียชีวิต 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 2.9%
รองลงมา อายุ 70-79 ปี มีผู้ป่วย 57 ราย เสียชีวิต 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 10.5% และอายุ 80-89 ปี มีผู้ป่วย 12 ราย เสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตาย 16.7 ราย
โรคประจำตัวที่พบร่วมในผู้ป่วยเสียชีวิต คือ
♦เบาหวานมากสุด 50%
♦ความดันโลหิตสูง 35%
♦ไตเรื้อรัง 15%
♦ไขมันในเลือดผิดปกติ 15%
♦ที่เหลืออื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง วัณโรค มะเร็ง
ผู้ป่วยเสียชีวิตเกี่ยวโยงกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อโควิด-19 ดังนี้
♦เกี่ยวข้องกับสนามมวย 5 ราย
♦เดินทางมาจากต่างประเทศ (มาเลเซีย,อังกฤษ,ปากีสถาน) 5 ราย
♦อาชีพเสี่ยง (ขับรถสาธารณะ ร้านอาหาร พนักงานขายของ) 5 ราย
♦สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน 2 ราย
♦เกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง 1 ราย
♦สถานพยาบาล 1 ราย
♦และสถานที่แออัด 1 ราย
สำหรับผู้ป่วยสะสม 2,067 ราย แบ่งเป็นชาย 1,124 ราย หญิง 874 ราย ไม่มีข้อมูล 69 ราย
ช่วงอายุที่มีผู้ป่วยมากสุด คือ ช่วง 20-29 ปี จำนวน 504 ราย
รองลงมา อายุ 30-39 ปี จำนวน 487 ราย และ 40-49 ปี จำนวน 368 ราย
โฆษก ศบค. จึงเน้นย้ำ ประชาชนที่อาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ จำเป็นต้องเว้นระยะห่างกับผู้สูงอายุ และเมื่อกลับเข้าบ้าน ให้อาบน้ำ สระผม และใส่หน้ากากอนามัยทันที เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่ผู้สูงอายุ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: