วันที่ 10 เมษายน 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ลงนามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 3) ซึ่งเป็นการกำหนดข้อยกเว้น การห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) ในช่วงเวลา 22.00-04.00 น. ดังนี้
1.ให้ยกเลิกความในส่วนที่เป็นข้อยกเว้น ห้ามออกนอกเคหสถานตามเวลาดังกล่าว ในข้อกำหนดฉบับที่ 3 และให้ใช้ข้อยกเว้นดังต่อไปนี้แทน
(1) การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร หรือพลเรือนซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
(2) การสาธารณสุข ได้แก่ ผู้ป่วย ผู้มีความจำเป็นต้องพบแพทย์และผู้ดูแลบุคคลดังกล่าว หรือ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติงาน
ข่าวน่าสนใจ:
- พะเยา หนุ่มขโมยย่องฉกเงินร้านข้าวมันไก่ 3 ครั้งเจ้าของสุดทนแจ้งตรจับ
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- นายกฯ "อิ๊ง" เปิดงานออนซอนกลองยาวชาววาปี สานตำนานเมืองวาปีปทุม 142 ปี
- นครพนม เปิดคลิป วัยรุ่น เหิมหนัก ยกพวกใช้มีดไล่ฟันคู่อริ พร้อมทุบทำลายทรัพย์สินอย่างไม่เกรงกลัวกฏหมาย
(3) การขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ของประชาชน ได้แก่ ผู้ส่งอาหาร ยาเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร น้ำมันเชื้อเพลิง ไปรษณีย์ภัณฑ์ พัสดุภัณฑ์ หนังสือพิมพ์ หรือสินค้าเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก
(4) การขนส่งหรือขนย้ายประชาชน ได้แก่ ผู้ขนส่งหรือขนย้ายประชาชนไปสู่ที่เอกเทศของทางราชการ หรือของตนเอง เพื่อการเฝ้าระวังหรือกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือ ผู้เดินทางมาจาก หรือไปยังท่าอากาศยาน หรือสถานที่ขนส่งตามที่ทางราชการอนุญาต และเปิดทำการได้
(5) การบริการหรือการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ได้แก่ผู้บริการคนไร้ที่พึ่ง ผู้บริการเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานีน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้บริการส่งสินค้าหรืออาหารตามสั่ง ผู้บริการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงไฟฟ้า ประปา ระบบระบายน้ำ ระบบท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ผู้บริการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย ผู้บริการซ่อมแซมและปรับปรุงโครงข่าย และอุปกรณ์ในการสื่อสารโทรคมนาคม ผู้บริการด้านธนาคาร ตลาดทุนประกันภัย การกู้ภัย การป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ ผู้จำเป็นต้องดำเนินการในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือจำเป็นต้องติดต่อราชการกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือพนักงานสอบสวน
(6) การประกอบอาชีพซึ่งจำเป็นต้องกระทำภายในช่วงเวลาพิเศษ ได้แก่ ผู้เข้าออกเวรยาม กะ หรือการทำงานตามเวลาที่กำหนดไว้ ตามปกติของทางราชการ เอกชน โรงงาน หรือการดูแลรักษาความปลอดภัย ผู้ประกอบอาชีพประมง การกรีดยาง การตรวจรักษาสัตว์
(7) เหตุจำเป็นอื่น ๆ โดยได้รับอนุญาตเป็นการเฉพาะรายจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีตาม (1) ถึง (6) ให้บุคคลที่มีความจำเป็น ดังกล่าว แสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอย่างอื่นและเอกสารรับรองความเป็นเอกสารเกี่ยวกับสินค้า บริการ การเดินทางหรือหลักฐานอื่นๆ ต่อเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมถึงการยอมรับการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย สำหรับกรณีตาม (7) ให้แสดงเจตจำเป็นพร้อมทั้งหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้อำนวยการเขต หัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุญาต
2.ในกรณีมีความจำเป็น สมควรยกเว้นความในข้อ 1 เพิ่มเติมเป็นการทั่วไป ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ที่เกี่ยวข้องโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี อาจมีคำสั่งยกเว้น ผู้ประกอบกิจการอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกันภายในกรอบของกิจการตามข้อ 1 (1) ถึง (6) เพิ่มเติมโดยอาจกำหนดสถานที่เงื่อนไขและเงื่อนเวลาด้วยก็ได้
3.ในกรณีมีการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่น เช่นความผิดต่อทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดกฎหมายว่าด้วยการพนัน กฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ รับเป็นความผิดตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ด้วยให้ดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดทุกฐานความผิดนั้นโดยเร็ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: