กรุงเทพฯ – สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ธอส. ร้องแบงก์ชาติ พิจารณาคุณสมบัติแต่งตั้งนายฉัตรชัย ศิริไล เป็นกรรมการผู้จัดการ ธอส. อีกสมัย
วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. ยื่นเอกสารถึงธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ขอให้พิจารณาคุณสมบัติการแต่งตั้ง นายฉัตรชัย ศิริไล ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นสมัยที่ 2 โดยอ้างถึงการบริหารที่ผิดพลาด และส่อไปในทางประพฤติมิชอบ หลายเรื่อง อาทิ
1.ขณะดำรงตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการสายงานสินเชื่อ ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ธนาคารทำไว้กับ ธปท. กรณีห้ามธนาคารปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยกลุ่มลูกค้าที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ซึ่ง ธปท.ให้เงินกู้แก่ธนาคารเพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มดังกล่าว ซึ่งนายฉัตรชัย ซึ่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการ
สายงานสินเชื่อ ในขณะนั้น ทราบเรื่องดี แต่ไม่ออกระเบียบสินเชื่อ เป็นเหตุให้ธนาคารปรับขึ้นดอกเบี้ยสูงกว่าข้อตกลง จนในที่สุดผู้ตรวจสอบ ธปท.ตรวจพบและสั่งปรับ ธอส.เป็นงินหลายสิบล้านตามบันทึก
ธปท.ที่ ธปท.ฝกง.(23)2584/2561 ลว.30/1161
2.นายฉัตรชัย มีเจตนาที่จะฝืนกฎหมาย โดยให้ลูกจ้างหรือพนักงานสัญญาจ้างที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงาน ต้องยื่นใบลาออกและไม่ให้นับอายุงานต่อเนื่อง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 และคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ได้มีหนังสือหารือไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงาน ซึ่งกรมฯ มีหนังสือตอบและส่งมายังนายฉัตรชัย ให้ได้รับทราบว่า เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ธนาคารจะต้องดำเนินการนับอายุงานและสิทธิประโยชน์
อย่างต่อเนื่องให้แก่ลูกจ้าง และพนักงานสัญญาจ้าง แต่นายฉัตรชัยกลับเพิกเฉย รายละเอียดปรากฎตาม (สิ่งที่ส่งมาด้วย 1)
ข่าวน่าสนใจ:
การกระทำดังกล่าวของนายฉัตรชัย จึงเข้าลักษณะต้องห้ามของกรรมการที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่งผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ และที่ปรึกษาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกศ. 13/2562 ข
3.การจัดซื้อจัดจ้างระบบ GHB ALL มีการเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ซึ่งมีการใช้งบประมาณต่างกันมากเปลี่ยนจาก 7 ล้านเป็น 88 ล้านบาท และมีการจ้างจัดจ้างใน
เฟส 2 อีกกว่า 26 ล้านบาท แต่ประสิทธิ ภาพการใช้งานต่ำ มีลักษณะเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง ซึ่งมีความผิดปกติรายละเอียดปรากฎตาม
4.การใช้อำนาจในฐานะกรรมการผู้จัดการและประธานคณะกรรมการตลาดจัดสรรเงินคุ้มนิรันดร์เงินรายได้จากเป็นนายหน้าประกันชีวิต (โครงการคุ้มนิรันดร์) ให้อยู่ในอำนาจของตนเอง
5.การใช้เงินของธนาคารไปอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งปรับปรุงห้องทำงานส่วนตัว ห้องน้ำ เฟอร์นิเจอร์ และลิฟท์ส่วนตัว (ชั้น 21 อาคาร 2) การปรับปรุงโครงสร้างหลังคาทางเชื่อมอาคารตามความเชื่อส่วนตัว แต่ใช้เงินของธนาคารไปอีกเกือบสิบล้านบาท
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: